เมนู

ปฏิจจสมุปบาทเก่า )ก็ยังเป็นไปอยู่มิขาดสาย
ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักอาศัยข้อความทั้ง 2 นั้น
เริ่มการวรรณนาความแห่งปฏิจจสมุปบาทนี้
ขอท่านทั้งหลายตั้งใจสดับการสังวรรณนานั้น.

ข้อนี้ สมด้วยคำที่ท่านบูรพาจารย์ กล่าวไว้ว่า
ผู้ใดผู้หนึ่งสนใจฟังการสังวรรณนานี้
เขาก็จะพึงได้คุณพิเศษสืบต่อไปในภพหน้า
ครั้น ได้คุณวิเศษสืบต่อไปในภพหน้าแล้ว ก็
พึงถึงที่อันไม่พบเห็นของพระยามัจจุราช.

อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในคำมีอาทิว่า อิวิชฺชาปจฺจยา สํขารา
ดังนี้ จำเดิมแต่ต้นก่อนทีเดียว.
เทศนาเภทโต อตฺถ ลกฺขเณกวิธาทิโต
องฺคานญฺจ ววตฺถานา วิญฺญาตพฺโพ วินิจฺฉโย

พึงทราบวินิจฉัย โดยความแตกต่าง
แห่งเทศนา 1 โดยอรรถ 1 โดยลักษณะ
เป็นต้น 1 โดยเป็นธรรมมีอย่างเดียวเป็นต้น 1
และโดยการกำหนดองค์ทั้งหลาย 1.


ว่าด้วยวินิจฉัยโดยความแตกต่างแห่งเทศนา


บรรดาข้อวินิจฉัยเหล่านั้น ข้อว่า โดยความแตกต่างแห่งเทศนา
นั้น อธิบายว่า การแสดงปฏิจจสมุปบาทของพระผูมีพระภาคเจ้ามี 4 นัย คือ

ทรงแสดงตั้งแต่ข้อต้นไปข้อสุดท้าย (ปลาย) บ้าง ตั้งแต่ท่ามกลางไปข้อสุดท้าย
บ้าง อนึ่ง ทรงแสดงตั้งแต่ข้อสุดท้ายไปข้อต้นบ้าง ตั้งแต่ท่ามกลางไปข้อต้น
บ้าง เหมือนการจับเถาวัลย์ของบุรุษ 4 คน ผู้นำเถาวัลย์ไปฉะนั้น.

แสดงปฏิจจสมุปบาทอย่างที่ 1


เหมือนอย่างว่า ในบุรุษ 4 คน ผู้นำเถาวัลย์ไป คนหนึ่งเห็นโคน
เถาวัลย์ก่อนนั่นเทียว เขาจึงตัดโคนเถาวัลย์นั้นจับดึงเถาวัลย์ทั้งหมดไปใช้ใน
การงาน ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น ย่อมทรงแสดงปฏิจจสมุปบาท
ตั้งแต่ข้อต้นจนถึงแม้ข้อสุดท้ายว่า อิโต โข ภิกฺขเว อวิชฺขาปจฺจยา สํขารา
ฯเปฯ ชาติปจฺจยา ชรามรณํ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย
เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ฯลฯ ชราและมรณะ เกิดเพราะชาติ
เป็นปัจจัย ด้วยประการฉะนี้แล* ดังนี้.

แสดงปฏิจจสมุปบาทอย่างที่ 2


เหมือนอย่างว่า ในบุรุษเหล่านั้น คนหนึ่งเห็นท่ามกลางเถาวัลย์ก่อน
เขาจึงตัดในท่ามกลาง ดึงเอาส่วนท่อนบนเท่านั้นมาใช้ในการงาน ฉันใด
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น ย่อมทรงแสดงตั้งแต่ท่ามกลางไปจนถึงแม้สุดท้าย
ว่า ตสฺส ตํ เวทนํ อภินนฺทโต อภิวทโต อชฺโฌสาย ติฏฺฐโต
อุปฺปชฺชติ นนฺทิ ยา เวทนาสุ นนฺทิ ตทุปาทานํ ตสฺสุปาทานปจฺจยา
ภโว ภวปจฺจยา ชาติ
เมื่อกุมารนั้น เพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจ
เวทนานั้น ความเพลิดเพลินก็เกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในเวทนา
* ม. มูล. เล่ม 12. 446/480