เมนู

[272] อุปายาส เป็นไฉน ?
ความแค้น ความขุ่นแค้น สภาพแค้น สภาพขุ่นแค้น ของผู้ที่ถูก
ความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล
หรือความเสื่อมทิฏฐิ กระทบแล้ว ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใด
อย่างหนึ่ง ข องผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว นี้เรียกว่า
อุปายาส.
[273] คำว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้นั้น ได้แก่ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุม ความปรากฏ
แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย ประการอย่างนี้.
สุตตันตภาชนีย์ จบ

ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์

*

วรรณนาสุตตันตภาชนีย


ว่าด้วยอุเทศวาร


บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในปฏิจจสมุปปาทวิภังค์ในลำดับต่อจากอินทรีย์
วิภังค์ต่อไป:-
พระบาลีตันติ (แบบแผน) นี้ใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้
โดยนัยมีอาทิว่า อวิชฺชาปจฺจยา สํขารา (สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย)
* บาลีข้อ 255 เป็นปัจจยาการวิภังค์

ดังนี้ อันกุลบุตรผู้ที่กระทำการสังวรรณนาเนื้อความแห่งพระบาลีนั้น ควรเข้าสู่ที่
ประชุมพุทธสาวกผู้เป็นวิภัชชวาที พึงเป็นผู้ไม่กล่าวตู่ต่ออาจารย์ ไม่เลี่ยงไปสู่ลัทธิ
ของคน ไม่กังวลขวนขวายลัทธิอื่น ไม่ปฏิเสธพระสูตร คล้อยตามพระวินัย
ตรวจดูมหาประเทศแสดงธรรม (ปฏิจจสมุปบาท) รวบรวมอรรถ ไม่เปลี่ยน
แปลงเนื้อความ และแสดงโดยปริยาแม้อย่างอื่น จึงสมควรทำการสังวรรณนา
ความตามพระบาลี.
อนึ่ง การสังวรรณนาความแห่งปฏิจจสมุปบาท แม้โดยปรกติก็เป็น
เรื่องที่กระทำได้โดยยาก เหมือนอย่างที่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า
สจฺจํ สตฺโต ปฏิสนฺธิ ปจฺจยาการเมว จ
ทุทฺทสา จตุโร ธมฺมา เทเสตุญฺจ สุทุกฺกรา

ธรรม 4 อย่าง คือ สัจจะ 1 สัตว์-
บัญญัติ 1 ปฏิสนธิ 1 ปัจจยาการ 1 เป็น
ธรรมเห็นได้โดยยาก และแสดงได้แสนยาก.
เพราะฉะนั้น การสังวรรณนาความแห่งปฏิจจสมุปบาท จึงกระทำไม่
ได้โดยง่าย เว้นแต่ท่านผู้สำเร็จปริยัติ และบรรลุมรรคผลทั้งหลายแล้ว เท่านั้น.
ข้าพเจ้า (พระพุทธโฆสาจารย์) ใคร่
ครวญประสงค์จะกล่าวพรรณนาปัจจยาการ
ในวันนี้ แต่ยังไม่ได้ที่พึ่งพิงเหมือนหยั่งลงสู่
สาคร แต่เพราะพระศาสนา (บาลีปฏิจจสมุ-
ปบาท) นี้ ประดับด้วยนัยแห่งเทศนาต่าง ๆ
และแนวประพันธ์ แห่งบุรพาจารย์ (อรรถกถา

ปฏิจจสมุปบาทเก่า )ก็ยังเป็นไปอยู่มิขาดสาย
ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักอาศัยข้อความทั้ง 2 นั้น
เริ่มการวรรณนาความแห่งปฏิจจสมุปบาทนี้
ขอท่านทั้งหลายตั้งใจสดับการสังวรรณนานั้น.

ข้อนี้ สมด้วยคำที่ท่านบูรพาจารย์ กล่าวไว้ว่า
ผู้ใดผู้หนึ่งสนใจฟังการสังวรรณนานี้
เขาก็จะพึงได้คุณพิเศษสืบต่อไปในภพหน้า
ครั้น ได้คุณวิเศษสืบต่อไปในภพหน้าแล้ว ก็
พึงถึงที่อันไม่พบเห็นของพระยามัจจุราช.

อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในคำมีอาทิว่า อิวิชฺชาปจฺจยา สํขารา
ดังนี้ จำเดิมแต่ต้นก่อนทีเดียว.
เทศนาเภทโต อตฺถ ลกฺขเณกวิธาทิโต
องฺคานญฺจ ววตฺถานา วิญฺญาตพฺโพ วินิจฺฉโย

พึงทราบวินิจฉัย โดยความแตกต่าง
แห่งเทศนา 1 โดยอรรถ 1 โดยลักษณะ
เป็นต้น 1 โดยเป็นธรรมมีอย่างเดียวเป็นต้น 1
และโดยการกำหนดองค์ทั้งหลาย 1.


ว่าด้วยวินิจฉัยโดยความแตกต่างแห่งเทศนา


บรรดาข้อวินิจฉัยเหล่านั้น ข้อว่า โดยความแตกต่างแห่งเทศนา
นั้น อธิบายว่า การแสดงปฏิจจสมุปบาทของพระผูมีพระภาคเจ้ามี 4 นัย คือ