เมนู

6. ปัจจยาการวิภังค์


สุตตันตภาชนีย์


[255] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย
นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย
ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย
อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย
ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เกิดเพราะ
ชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
[256] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ?
ความไม่รู้ทุกข์ ความไม่รู้ทุกขสมุทัย ความไม่รู้ทุกขนิโรธ ความไม่รู้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า อวิชชา
[257] ในปัจจยาการเหล่านั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
เป็นไฉน ?
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร กายสังขาร
วจีสังขาร จิตตสังขาร

ในสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน ?
กุศลเจตนา เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร ที่สำเร็จด้วยทาน ที่สำเร็จ-
ด้วยศีล ที่สำเร็จด้วยภาวนา นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร
ในสังขารเหล่านั้น อปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน ?
อกุศลเจตนาเป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร
ในสังขารเหล่านั้น อาเนญชาภิสังขาร เป็นไฉน ?
กุศลเจตนาเป็นอรูปาวจร นี้เรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร
ในสังขารเหล่านั้น กายสังขาร เป็นไฉน ?
กายสัญเจตนา เป็นกายสังขาร วจีสัญเจตนา เป็นวจีสังขาร มโน-
สัญเจตนา เป็นจิตตสังขาร
เหล่านี้เรียกว่า สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย.
[258] วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย.
[259] นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?
นาม 1 รูป 1
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน ?
เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน ?
มหาภูตรูป 4 และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4 นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูปเกิดเพราะวิญาณเป็น
ปัจจัย.

[260] สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?
จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ
มหายตนะ นี้เรียกว่า สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย.
[261] ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?
จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโน-
สัมผัส นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย.
[262] เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?
จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เรียกว่า
เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
[263] ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?
รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา
ธัมมตัณหา นี้เรียกว่า ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย.
[264] อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?
กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า
อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย.
[265] ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?
ภพ 2 คือ กรรมภพ 1 อุปปัตติภพ 1
ในภพ 2 นั้น กรรมภพ เป็นไฉน ?
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร นี้เรียกว่า
กรรมภพ กรรมที่เป็นเหตุให้ไปสู่ภพแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า กรรมภพ

อุปปัตติภพ เป็นไฉน ?
กามภพ รูปภพ อรุปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญา-
นาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ นี้เรียกว่า อุปปัตติภพ
กรรมภพและอุปปัตติภพดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอุปาทาน
เป็นปัจจัย.
[266] ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?
ความเกิด ความเกิดพร้อม ควานหยั่งลง ความเกิดจำเพาะ ความ
ปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ
อันใด นี้เรียกว่า ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย.
[267] ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?
ชรา 1 มรณะ 1
ในชราและมรณะนั้น ชรา เป็นไฉน ?
ความคร่ำคร่า ภาวะทีคร่ำคร่า ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอก
ความที่หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมสิ้นอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่
สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ อันใด นี้เรียกว่า ชรา
มรณะ เป็นไฉน ?
ความเคลื่อน ภาวะที่เคลื่อน ความทำลาย ความหายไป มฤตยู
ความตาย ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความ-
ขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ อันใด นี้เรียกว่า
มรณะ
ชราและมรณะดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็น
ปัจจัย.

[268] โสกะ เป็นไฉน ?
ความโศกเศร้า กิริยาโศกเศร้า สภาพโศกเศร้า ความแห้งผากภายใน
ความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความโศกเศร้า
ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค
ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ กระทบแล้ว ของผู้ประกอบด้วยความ
เสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว
นี้เรียกว่า โสกะ.
[269] ปริเทวะ เป็นไฉน ?
ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาร้องไห้ กิริยาคร่ำครวญ
สภาพร้องไห้ สภาพคร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพร่ำเพ้อ ความร่ำไห้
ความพิไรร่ำ กิริยาพิไรร่ำ สภาพพิไรร่ำ ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความ-
เสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ
กระทบแล้ว ของผู้ประกบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกเหตุ
แห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว นี้เรียกว่า ปริเทวะ.
[270] ทุกข์ เป็นไฉน ?
ความไม่สบายกาย ความทุกข์กาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย เป็น
ทุกข์อันเกิดแก่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กาย
สัมผัส อันใด นี้เรียกว่า ทุกข์.
[271] โทมนัส เป็นไฉน ?
ความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส.

[272] อุปายาส เป็นไฉน ?
ความแค้น ความขุ่นแค้น สภาพแค้น สภาพขุ่นแค้น ของผู้ที่ถูก
ความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล
หรือความเสื่อมทิฏฐิ กระทบแล้ว ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใด
อย่างหนึ่ง ข องผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว นี้เรียกว่า
อุปายาส.
[273] คำว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้นั้น ได้แก่ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุม ความปรากฏ
แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย ประการอย่างนี้.
สุตตันตภาชนีย์ จบ

ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์

*

วรรณนาสุตตันตภาชนีย


ว่าด้วยอุเทศวาร


บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในปฏิจจสมุปปาทวิภังค์ในลำดับต่อจากอินทรีย์
วิภังค์ต่อไป:-
พระบาลีตันติ (แบบแผน) นี้ใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้
โดยนัยมีอาทิว่า อวิชฺชาปจฺจยา สํขารา (สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย)
* บาลีข้อ 255 เป็นปัจจยาการวิภังค์