เมนู

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ


พึงทราบการจำแนกอินทรีย์ แม้ทั้งหมดในปัญหาปุจฉกะ ว่าเป็นกุศล
เป็นต้น โดยทำนองแห่งนัยของพระบาลีนั้น แหละ อนึ่ง ในอารัมมณติกะ
ทั้งหลาย คำว่า อินทรีย์ 7 เป็นอนารัมมณะ นั้น ตรัสหมายเอาจักขุนทรีย์
โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ และปุริสินทรีย์
แต่ชีวิตินทรีย์ไม่มาในฐานะนี้ เพราะปะปนด้วยอรูป.
บทว่า ทฺวินฺทฺริยา ได้แก่ อินทรีย์ 2 คำนี้ตรัสหมายเอาอินทรีย์ 2
คือ สุขินทรีย์ และทุกขินทรีย์ เพราะอินทรีย์ 2 นั้น เป็นปริตตารัมมณะ
โดยส่วนเดียว. คำว่า โทมนสฺสินฺทฺริยํ สิยา ปริตฺตารมฺมณํ สิยา
มหคฺคตารมฺมณํ
(โทมนัสสินทรีย์เป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็นมหัคคตา-
รัมมณะก็มี) ความว่า ในเวลาปรารภกามาวจรธรรมเป็นไปก็เป็นปริตตารัมมณะ
แต่ในเวลาที่ปรารภรูปาวจร อรูปาวจรเป็นไปก็เป็นมหัคคตารัมมณะ และใน
เวลาที่ปรารภบัญญัติเป็นไปก็เป็นนวัตตัพพารัมมณะ.
คำว่า นิวินฺทฺริยา สิยา ปริตฺตารมฺมณา (อินทรีย์ 9 แม้ปริตตา-
รัมมณะก็มี) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอามนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
โสมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และอินทรีย์หมวด 5 มีสัทธินทรีย์เป็นต้น
จริงอยู่ ชีวิตินทรีย์ แม้สงเคราะห์ในรูปธรรมซึ่งไม่มีอารมณ์เพราะระคนด้วย
รูป และสงเคราะห์ในฝ่ายที่เป็นธรรมชาติมีอารมณ์ได้โดยส่วนแห่งอรูป.
คำว่า จตฺตาริ อินฺทฺริยานิ (อินทรีย์ 8) ได้แก่ สุขินทรีย์
ทุกขินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ และอัญญาตาวินทรีย์ เพราะอินทรีย์ เหล่านั้น
ไม่รวมอยู่ในมัคคารัมมณติกะ.