เมนู

ภาวะของตน เป็นกิจของสุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัสสินทรีย์. การให้
ถึงอาการมัชฌัตตา (อุเบกขา) อันสงบและประณีต เป็นกิจของอุเปกขินทรีย์.
การครอบงำธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสัทธาเป็นต้น และการให้สัมปยุต
ธรรม ถึงความเป็นภาวะมีอาการผ่องใสเป็นต้น เป็นกิจของสัทธินทรีย์เป็นต้น.
การละสังโยชน์ 3 (มีทิฏฐิสังโยชน์เป็นต้น ) และการทำให้สัมปยุตตธรรม
มุ่งหน้าต่อการละสังโยชน์ 3 นั้น เป็นกิจของ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์.
การละทำให้เบาบาง (ตนุกรปหาน) ซึ่งกามราคะ พยาบาทเป็นต้น และ
การให้สัมปยุตตธรรมให้เป็นไปตามอำนาจของตน เป็นกิจของ อัญญินทรีย์.
การละความขวนขวายในกิจทั้งหมด และความเป็นปัจจัยให้สัมปยุตตธรรมมุ่งไป
สู่อมตะ เป็นกิจของอัญญาตาวินทรีย์แล.
พึงทราบวินิจฉัยในอินทรีย์เหล่านั้นโดยกิจด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยภูมิ


ข้อว่า โดยภูมิ ความว่า บรรดาอินทรีย์เหล่านั้น จักขุนทรีย์
โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์
สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ และโทมนัสสินทรีย์ เป็นกามาพจรอย่างเดียว มนินทรีย์
ชีวิตินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ เป็นอินทรีย์นับเนื่องในภูมิ 4 โสมนัสสินทรีย์นับเนื่องด้วยภูมิ 3
ด้วยอำนาจแห่งกามาพจร รูปาพจรและโลกุตระ อินทรีย์ 3 ในที่สุดเป็น
โลกุตระอย่างเดียวและ.
พึงทราบวินิจฉัยโดยภูมิ ด้วยประการฉะนี้.
จริงอยู่ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ว่า

ภิกษุ ผู้มากด้วยความสลดใจ ดำรง
อยู่ในอินทรีย์สังวร กำหนดรู้อันทรีย์ทั้งหลาย
ได้แล้ว ย่อมเข้าถึงซึ่งความสงบแห่งทุกข์
ได้แล.

ในนิเทศวาร พึงทราบคำทั้งปวงมีอาทิว่า ยํ จกฺขุ จตุนฺนํ
มหาภูตานํ
(จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภุตรูป 4) ดังนี้ โดยนัยที่
กล่าวไว้ในบทภาชนะในธรรมสังคณีนั่นแล.
อนึ่ง ในนิเทศทั้งหลายมีวิริยินทรีย์ สาธินทรีย์เป็นต้น พระองค์
มิได้ตรัสคำว่า สัมมาวายามะ มิจฉาวายามะ สัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิเป็นต้น
ไว้ เพราะเหตุไร เพราะเป็นสัพพสังคาหิกวาร (วาระว่าด้วยธรรมที่สงเคราะห์
เข้าด้วยกันทั้งหมด) จริงอยู่ อินทรีย์ทั้งหลายที่สงเคราะห์เข้าด้วยกันได้ทั้งหมด
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อินทริยวิภังค์นี้. อนึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ บรรดาอินทรีย์
22 นี้ อินทรีย์ 10 อย่างซึ่งเป็นโลกีย์ เป็นกามาวจรอย่างเดียว อินทรีย์ 3
เป็นโลกุตระ อินทรีย์ เป็นโลกิยะและโลกุตระปะปนกัน ฉะนี้แล.
วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ

ปัญหาปุจฉกะ


[242]

อินทรีย์ 22 คือ


1. จักขุนทรีย์
2. โสตินทรีย์
3. ฆานินทรีย์
4. ชิวหินทรีย์
5. กายินทรีย์
6. มนินทรีย์
7. อิตถินทรีย์
8. ปุริสินทรีย์
9. ชีวิตินทรีย์
10. สุขินทรีย์
11. ทุกขินทรีย์
12. โสมนัสสินทรีย์
13. โทมนัสสินทรีย์
14. อุเปกขินทรีย์
15. สัทธินทรีย์
16. วิริยินทรีย์
17. สตินทรีย์
18. สมาธินทรีย์