เมนู

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยความต่างกันและไม่ต่างกัน


ก็ข้อว่า โดยความต่างกัน และ ไม่ต่างกัน นั้น ได้แก่ ในอินทรีย์
22 นี้ ความต่างกันย่อมมีแก่ชีวิตินทรีย์อย่างเดียว เพราะชีวิตินทรีย์นั้น มี 2
อย่าง คือ รูปชีวิตินทรีย์ และอรูปชีวิตินทรีย์. อินทรีย์ที่เหลือไม่ต่างกัน.
พึงทราบวินิจฉัยโดยความต่างกันและไม่ต่างกันในอินทรีย์เหล่านั้นอย่างนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยกิจ


ข้อว่า โดยกิจ นั้น หากมีผู้ถามว่า "กิจของอินทรีย์ทั้งหลายเป็น
อย่างไร ตอบว่า พึงทราบกิจของจักขุนทรีย์ก่อน เพราะพระบาลีว่า จกฺขฺวายตนํ
จกฺขุวิญฺญาณธาตุยา ตํสมฺปยุตฺตกานญฺจ ธมฺมานํ อินฺทฺริยปจฺจเยน
ปจฺจโย*
(จักขวายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมที่สัมปยุต
ด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจอินทรีย์ปัจจัย) จักขุนทรีย์นั้นใด พึงให้
สำเร็จโดยความเป็นอินทรีย์ปัจจัยแก่ธรรมมีจักขุวิญญาณเป็นต้น ด้วยความเป็น
อินทรีย์กล้าและอ่อนเป็นต้นของตน เป็นการคล้อยอาการของตนกล่าวคือ
เป็นสภาพแก่กล้าและอ่อนเป็นต้น นี้ เป็นกิจ (ของจักขุนทรีย์นั้น). กิจของ
โสต ฆาน ชิวหาและกายินทรีย์ก็อย่างนั้น. แต่การให้สหชาตธรรมทั้งหลาย
เป็นไปในอำนาจของตน เป็นกิจของมนินทรีย์. การตามรักษาสหชาตธรรม
เป็นกิจของชีวิตินทรีย์. การทรงไว้ซึ่งอาการแห่งนิมิต (เครื่องหมาย) กิริยา
อาการ และท่าทางของหญิงและชาย เป็นกิจของอิตถินทรีย์ และ ปุริสินทรีย์.
การครอบงำสหชาตธรรมแล้วให้ถึงลำดับตามอาการอันหยาบ (โอฬาร) ตาม
* ในอภิธรรม ปัฏฐานเล่ม 40 ข้อ 17 หน้า 10 ใช้คำว่า จกฺขุนฺทฺริยํ ไม่ใช้คำว่า
จกฺขฺวายตนํ นอกนั้นเหมือนกัน

ภาวะของตน เป็นกิจของสุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัสสินทรีย์. การให้
ถึงอาการมัชฌัตตา (อุเบกขา) อันสงบและประณีต เป็นกิจของอุเปกขินทรีย์.
การครอบงำธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสัทธาเป็นต้น และการให้สัมปยุต
ธรรม ถึงความเป็นภาวะมีอาการผ่องใสเป็นต้น เป็นกิจของสัทธินทรีย์เป็นต้น.
การละสังโยชน์ 3 (มีทิฏฐิสังโยชน์เป็นต้น ) และการทำให้สัมปยุตตธรรม
มุ่งหน้าต่อการละสังโยชน์ 3 นั้น เป็นกิจของ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์.
การละทำให้เบาบาง (ตนุกรปหาน) ซึ่งกามราคะ พยาบาทเป็นต้น และ
การให้สัมปยุตตธรรมให้เป็นไปตามอำนาจของตน เป็นกิจของ อัญญินทรีย์.
การละความขวนขวายในกิจทั้งหมด และความเป็นปัจจัยให้สัมปยุตตธรรมมุ่งไป
สู่อมตะ เป็นกิจของอัญญาตาวินทรีย์แล.
พึงทราบวินิจฉัยในอินทรีย์เหล่านั้นโดยกิจด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยภูมิ


ข้อว่า โดยภูมิ ความว่า บรรดาอินทรีย์เหล่านั้น จักขุนทรีย์
โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์
สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ และโทมนัสสินทรีย์ เป็นกามาพจรอย่างเดียว มนินทรีย์
ชีวิตินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ เป็นอินทรีย์นับเนื่องในภูมิ 4 โสมนัสสินทรีย์นับเนื่องด้วยภูมิ 3
ด้วยอำนาจแห่งกามาพจร รูปาพจรและโลกุตระ อินทรีย์ 3 ในที่สุดเป็น
โลกุตระอย่างเดียวและ.
พึงทราบวินิจฉัยโดยภูมิ ด้วยประการฉะนี้.
จริงอยู่ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ว่า