เมนู

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลำดับ


ข้อว่า โดยลำดับ แม้นี้ เป็นลำดับของเทศนานั่นเอง. ในลำดับนั้น
การได้เฉพาะซึ่งอริยภูมิย่อมมีด้วยการกำหนดรู้ธรรมอันเป็นภายใน เพราะ
เหตุนั้น พระองค์จึงทรงแสดงจักขุนทรีย์เป็นต้นซึ่งนับเนื่องด้วยอัตภาพก่อน.
ก็อัตภาพนั้นอาศัยธรรมใด ย่อมถึงการนับว่า เป็นหญิง หรือ เป็นชาย
เพื่อทรงชี้แจงแสดงว่า ธรรมนั้นคืออัตภาพนี้ ถัดจากนั้นจึงทรงแสดง
อิตถินทรีย์ และ ปุริสินทรีย์. เพื่อให้ทราบว่า อัตภาพแม้ทั้ง 2 นั้นมีความ
เป็นไปเนื่องด้วยชีวิตินทรีย์ ถัดจากนั้น จึงทรงแสดงชีวิตินทรีย์. ตราบใดที่
ชีวิตินทรีย์นั้นยังเป็นไปอยู่ ตราบนั้นความไม่หยุดยั้งแห่งอารมณ์ที่เสวยแล้ว
(เวทนา) เหล่านั้นก็มีอยู่ เพื่อให้ทราบว่า สุขและทุกข์ทั้งหมดนั้นอย่างใด
อย่างหนึ่งที่เสวยแล้ว ถัดจากนั้น จึงทรงแสดงสุขินทรีย์ เป็นต้น.
อนึ่ง เพื่อทรงแสดงข้อปฏิบัติว่า "ธรรมเหล่านี้พึงเจริญเพื่อความดับ
สุขินทรีย์เป็นต้นนั้น" ถัดจากนั้น จึงทรงแสดงคำว่า สัทธา เป็นต้น. เพื่อ
ทรงแสดงความไม่เป็นโมฆะแห่งข้อปฏิบัติว่า "ด้วยข้อปฏิบัตินี้ เอกธรรมย่อม
ปรากฏในตนก่อน" ถัดจากนั้น จึงทรงแสดงอนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์
พระองค์ทรงแสดง อัญญินทรีย์ ไว้ต่อจากอนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น
เพราะความที่อัญญินทรีย์นั้นเป็นผลของอนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์นั้นนั่นเอง
และเป็นอินทรีย์ที่พึงเจริญในลำดับต่อจากอนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น.
เบื้องหน้าแต่นี้ เพื่อให้รู้ว่า "การบรรลุอินทรีย์นี้ได้ด้วยภาวนา (การเจริญ)
ก็แล เมื่อบรรลุอินทรีย์นี้แล้ว อินทรีย์อะไร ๆ ที่พึงกระทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก
ย่อมไม่มี" จึงตรัสอัญญาตาวินทรีย์อันเป็นความโล่งใจอย่างยิ่งไว้ในข้อสุดท้าย
แล. ่
นี้เป็นลำดับในอินทรีย์เหล่านี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยความต่างกันและไม่ต่างกัน


ก็ข้อว่า โดยความต่างกัน และ ไม่ต่างกัน นั้น ได้แก่ ในอินทรีย์
22 นี้ ความต่างกันย่อมมีแก่ชีวิตินทรีย์อย่างเดียว เพราะชีวิตินทรีย์นั้น มี 2
อย่าง คือ รูปชีวิตินทรีย์ และอรูปชีวิตินทรีย์. อินทรีย์ที่เหลือไม่ต่างกัน.
พึงทราบวินิจฉัยโดยความต่างกันและไม่ต่างกันในอินทรีย์เหล่านั้นอย่างนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยกิจ


ข้อว่า โดยกิจ นั้น หากมีผู้ถามว่า "กิจของอินทรีย์ทั้งหลายเป็น
อย่างไร ตอบว่า พึงทราบกิจของจักขุนทรีย์ก่อน เพราะพระบาลีว่า จกฺขฺวายตนํ
จกฺขุวิญฺญาณธาตุยา ตํสมฺปยุตฺตกานญฺจ ธมฺมานํ อินฺทฺริยปจฺจเยน
ปจฺจโย*
(จักขวายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมที่สัมปยุต
ด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจอินทรีย์ปัจจัย) จักขุนทรีย์นั้นใด พึงให้
สำเร็จโดยความเป็นอินทรีย์ปัจจัยแก่ธรรมมีจักขุวิญญาณเป็นต้น ด้วยความเป็น
อินทรีย์กล้าและอ่อนเป็นต้นของตน เป็นการคล้อยอาการของตนกล่าวคือ
เป็นสภาพแก่กล้าและอ่อนเป็นต้น นี้ เป็นกิจ (ของจักขุนทรีย์นั้น). กิจของ
โสต ฆาน ชิวหาและกายินทรีย์ก็อย่างนั้น. แต่การให้สหชาตธรรมทั้งหลาย
เป็นไปในอำนาจของตน เป็นกิจของมนินทรีย์. การตามรักษาสหชาตธรรม
เป็นกิจของชีวิตินทรีย์. การทรงไว้ซึ่งอาการแห่งนิมิต (เครื่องหมาย) กิริยา
อาการ และท่าทางของหญิงและชาย เป็นกิจของอิตถินทรีย์ และ ปุริสินทรีย์.
การครอบงำสหชาตธรรมแล้วให้ถึงลำดับตามอาการอันหยาบ (โอฬาร) ตาม
* ในอภิธรรม ปัฏฐานเล่ม 40 ข้อ 17 หน้า 10 ใช้คำว่า จกฺขุนฺทฺริยํ ไม่ใช้คำว่า
จกฺขฺวายตนํ นอกนั้นเหมือนกัน