เมนู

อนึ่ง อินทรีย์ทั้งหมดนั่นแหละ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศไว้
และตรัสรู้ยิ่งตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อินทรีย์ เพราะอรรถ
ว่าอันผู้เป็นใหญ่แสดงแล้ว และเพราะอรรถว่าอันผู้เป็นใหญ่เห็นแล้ว อินทรีย์
บางอย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นจอมมุนีพระองค์นั้นแหละเสพแล้ว ด้วยการ
เสพแห่งอารมณ์ และบางอย่าง ก็ทรงเสพแล้วด้วยการเสพแห่งการเจริญ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อินทรีย์ ด้วยอรรถว่า อันบุคคลผู้เป็นจอมเสพแล้ว
บ้าง อีกอย่างหนึ่ง อินทรีย์เหล่านี้ ชื่อว่า อินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นอิสระ
กล่าวคือ ความเป็นอธิบดีบ้าง ด้วยว่าความเป็นอธิบดีแห่งจักขุเป็นต้น
สำเร็จแล้วในความเป็นไปแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้น เพราะเมื่ออินทรีย์นั้นแก่
กล้า จักขุวิญญาณเป็นต้นนั้นก็แก่กล้า และเมื่ออินทรีย์นั้นอ่อน จักขุวิญญาณ
เป็นต้นนั้นก็อ่อนแอ.
นี้วินิจฉัยโดยอรรถในอินทรีย์นี้ก่อน.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลักษณะเป็นต้น


ข้อว่า โดยลักษณะเป็นต้น มีอธิบายว่า บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัย
อินทรีย์มีจักขุเป็นต้น แม้ด้วยลักษณะ (สภาวะ) ด้วยรส (กิจ) ด้วยปัจจุปัฏฐาน
(ผลที่ปรากฏ) และด้วยปทัฏฐาน (เหตุใกล้ให้เกิดขึ้น). ก็ลักษณะเป็นต้น
เหล่านั้น แห่งธรรมมีจักขุเป็นต้นเหล่านั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลัง
(อรรถกถาอัฏฐสาลนี) ทั้งหมดแล้ว ก็อินทรีย์ 4* มีปัญญินทรีย์เป็นต้น
โดยอรรถ ได้แก่ อโมหะนั่นเอง อินทรีย์ที่เหลือในพระบาลีนั้นมาแล้ว
โดยย่อแล.
* อินทรีย์ 4 คือ ตั้งแต่ข้อ 19 ถึง 22

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลำดับ


ข้อว่า โดยลำดับ แม้นี้ เป็นลำดับของเทศนานั่นเอง. ในลำดับนั้น
การได้เฉพาะซึ่งอริยภูมิย่อมมีด้วยการกำหนดรู้ธรรมอันเป็นภายใน เพราะ
เหตุนั้น พระองค์จึงทรงแสดงจักขุนทรีย์เป็นต้นซึ่งนับเนื่องด้วยอัตภาพก่อน.
ก็อัตภาพนั้นอาศัยธรรมใด ย่อมถึงการนับว่า เป็นหญิง หรือ เป็นชาย
เพื่อทรงชี้แจงแสดงว่า ธรรมนั้นคืออัตภาพนี้ ถัดจากนั้นจึงทรงแสดง
อิตถินทรีย์ และ ปุริสินทรีย์. เพื่อให้ทราบว่า อัตภาพแม้ทั้ง 2 นั้นมีความ
เป็นไปเนื่องด้วยชีวิตินทรีย์ ถัดจากนั้น จึงทรงแสดงชีวิตินทรีย์. ตราบใดที่
ชีวิตินทรีย์นั้นยังเป็นไปอยู่ ตราบนั้นความไม่หยุดยั้งแห่งอารมณ์ที่เสวยแล้ว
(เวทนา) เหล่านั้นก็มีอยู่ เพื่อให้ทราบว่า สุขและทุกข์ทั้งหมดนั้นอย่างใด
อย่างหนึ่งที่เสวยแล้ว ถัดจากนั้น จึงทรงแสดงสุขินทรีย์ เป็นต้น.
อนึ่ง เพื่อทรงแสดงข้อปฏิบัติว่า "ธรรมเหล่านี้พึงเจริญเพื่อความดับ
สุขินทรีย์เป็นต้นนั้น" ถัดจากนั้น จึงทรงแสดงคำว่า สัทธา เป็นต้น. เพื่อ
ทรงแสดงความไม่เป็นโมฆะแห่งข้อปฏิบัติว่า "ด้วยข้อปฏิบัตินี้ เอกธรรมย่อม
ปรากฏในตนก่อน" ถัดจากนั้น จึงทรงแสดงอนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์
พระองค์ทรงแสดง อัญญินทรีย์ ไว้ต่อจากอนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น
เพราะความที่อัญญินทรีย์นั้นเป็นผลของอนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์นั้นนั่นเอง
และเป็นอินทรีย์ที่พึงเจริญในลำดับต่อจากอนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น.
เบื้องหน้าแต่นี้ เพื่อให้รู้ว่า "การบรรลุอินทรีย์นี้ได้ด้วยภาวนา (การเจริญ)
ก็แล เมื่อบรรลุอินทรีย์นี้แล้ว อินทรีย์อะไร ๆ ที่พึงกระทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก
ย่อมไม่มี" จึงตรัสอัญญาตาวินทรีย์อันเป็นความโล่งใจอย่างยิ่งไว้ในข้อสุดท้าย
แล. ่
นี้เป็นลำดับในอินทรีย์เหล่านี้.