เมนู

อนึ่ง อินทรีย์ทั้งหมดนั่นแหละ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศไว้
และตรัสรู้ยิ่งตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อินทรีย์ เพราะอรรถ
ว่าอันผู้เป็นใหญ่แสดงแล้ว และเพราะอรรถว่าอันผู้เป็นใหญ่เห็นแล้ว อินทรีย์
บางอย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นจอมมุนีพระองค์นั้นแหละเสพแล้ว ด้วยการ
เสพแห่งอารมณ์ และบางอย่าง ก็ทรงเสพแล้วด้วยการเสพแห่งการเจริญ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อินทรีย์ ด้วยอรรถว่า อันบุคคลผู้เป็นจอมเสพแล้ว
บ้าง อีกอย่างหนึ่ง อินทรีย์เหล่านี้ ชื่อว่า อินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นอิสระ
กล่าวคือ ความเป็นอธิบดีบ้าง ด้วยว่าความเป็นอธิบดีแห่งจักขุเป็นต้น
สำเร็จแล้วในความเป็นไปแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้น เพราะเมื่ออินทรีย์นั้นแก่
กล้า จักขุวิญญาณเป็นต้นนั้นก็แก่กล้า และเมื่ออินทรีย์นั้นอ่อน จักขุวิญญาณ
เป็นต้นนั้นก็อ่อนแอ.
นี้วินิจฉัยโดยอรรถในอินทรีย์นี้ก่อน.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลักษณะเป็นต้น


ข้อว่า โดยลักษณะเป็นต้น มีอธิบายว่า บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัย
อินทรีย์มีจักขุเป็นต้น แม้ด้วยลักษณะ (สภาวะ) ด้วยรส (กิจ) ด้วยปัจจุปัฏฐาน
(ผลที่ปรากฏ) และด้วยปทัฏฐาน (เหตุใกล้ให้เกิดขึ้น). ก็ลักษณะเป็นต้น
เหล่านั้น แห่งธรรมมีจักขุเป็นต้นเหล่านั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลัง
(อรรถกถาอัฏฐสาลนี) ทั้งหมดแล้ว ก็อินทรีย์ 4* มีปัญญินทรีย์เป็นต้น
โดยอรรถ ได้แก่ อโมหะนั่นเอง อินทรีย์ที่เหลือในพระบาลีนั้นมาแล้ว
โดยย่อแล.
* อินทรีย์ 4 คือ ตั้งแต่ข้อ 19 ถึง 22