เมนู

เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในการรู้ทั่วธรรมที่รู้แล้วนั่นแหละ (โสดา-
ปัตติผลถึงอรหัตมรรค). ที่ชื่อว่า อัญญาตาวินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครอง
ความเป็นใหญ่ในความเป็นผู้รู้แจ้ง (อรหัตผล).
ในอินทริยวิภังค์ วรรณนาชื่อว่า สุตตันตภาชนีย์ พระองค์มิได้
ทรงถือเอา เพราะเหตุไร เพราะอินทรีย์ 22 โดยลำดับนี้มิได้มาในพระสูตร
เพราะในพระสูตรบางแห่งทรงตรัสอินทรีย์ไว้ 2 บางแห่งตรัสไว้ 3 บางแห่ง
ตรัสไว้ 5 ก็ด้วยเหตุนี้ อินทรีย์ 22 ติดต่อกันเช่นนี้มิได้มี นี้เป็นนัยแห่ง
อรรถกถาในอินทริยวิภังค์ก่อน.
ก็นัยอื่นอีก พึงทราบดังต่อไปนี้. จริงอยู่ ในอินทรีย์เหล่านี้
อตฺถโต ลกฺขณาทีหิ กมโต จ วิชานิยา
เภทาเภทา ตถา กิจฺจา ภูมิโต จ วินิจฺฉยํ

พึงทราบการวินิจฉัย โดยอรรถ
โดยลักษณะเป็นต้น โดยลำดับ โดยความ
ต่างกันและไม่ต่างกัน โดยกิจ และโดยภูมิ.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอรรถ


บรรดาวินิจฉัยเหล่านั้น อรรณแห่งอินทรีย์มีจักขุเป็นต้น ข้าพเจ้า
ประกาศไวก่อนแล้วโดยนัยมีอาทิว่า ที่ชื่อว่า จักขุ เพราะอรรถว่า ย่อม
เห็น. แต่ในอินทรีย์ (ที่เป็นโลกุตระ) 3 หลัง โลกุตรอินทรีย์ข้อแรก
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ ดังนี้ เพราะ
ความเกิดขึ้น และเพราะความเกิดพร้อมแห่งอรรถของอินทรีย์แก่พระอริยะผู้ถึง

แล้วในส่วนเบื้องต้น อย่างนี้ว่า "เราจักรู้อมตบทหรือสัจจธรรม 4 ที่ยังไม่รู้"
ดังนี้. โลกุตรอินทรีย์ที่ 2 ตรัสเรียกว่า อัญญินทรีย์ เพราะความรู้ทั่ว และ
เพราะความเกิดพร้อมแห่งอรรถของอินทรีย์. โลกุตรอินทรีย์ที่ 3 ตรัสเรียกว่า
อัญญาตาวินทรีย์ เพราะความเกิดขึ้น และเพราะความเกิดพร้อมแห่งอรรถ
ของอินทรีย์ แก่เฉพาะพระขีณาสพ ผู้รู้แจ้ง ผู้มีกิจแห่งญาณในสัจจะ 4
สำเร็จแล้ว.
ก็ชื่อว่า อรรถแห่งอินทรีย์นั่นเป็นอย่างไร. อรรถแห่งอินทรีย์มี
อรรถว่าเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นใหญ่ (จอม) อรรถแห่งอินทรีย์ มีอรรถ
ว่าอันผู้เป็นใหญ่แสดงแล้ว อรรถแห่งอินทรีย์มีอรรถว่าอันผู้เป็นใหญ่เห็นแล้ว
อรรถแห่งอินทรีย์มีอรรถว่าอันผู้เป็นใหญ่ประกาศแล้ว อรรถแห่งอินทรีย์มี
อรรถว่าอันบุคคลผู้เป็นใหญ่เสพแล้ว อรรถแห่งอินทรีย์แม้ทั้งหมดนั้น ย่อม
สมควรตามความเหมาะสมในที่นี้.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า เป็นจอม
(เป็นใหญ่) เพราะความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด. กรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ชื่อว่า
เป็นใหญ่ เพราะในกรรมทั้งหลายไม่มีอะไรที่มีความเป็นใหญ่กว่า ด้วย
เหตุนั้นนั่นแหละ ในอธิการนี้ อินทรีย์ทั้งหลายอันเกิดพร้อมด้วยกรรมย่อม
แสดงซึ่งธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลก่อน และอินทรีย์เหล่านั้นอันพระสัมมาสัม-
พุทธะผู้เป็นจอมนั้นทรงสอนแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อินทรีย์ ด้วย
อรรถว่าเป็นเครื่องหมายความเป็นใหญ่ สละด้วยอรรถว่า เป็นสิ่งที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าผู้เป็นใหญ่แสดงแล้ว.

อนึ่ง อินทรีย์ทั้งหมดนั่นแหละ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศไว้
และตรัสรู้ยิ่งตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อินทรีย์ เพราะอรรถ
ว่าอันผู้เป็นใหญ่แสดงแล้ว และเพราะอรรถว่าอันผู้เป็นใหญ่เห็นแล้ว อินทรีย์
บางอย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นจอมมุนีพระองค์นั้นแหละเสพแล้ว ด้วยการ
เสพแห่งอารมณ์ และบางอย่าง ก็ทรงเสพแล้วด้วยการเสพแห่งการเจริญ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อินทรีย์ ด้วยอรรถว่า อันบุคคลผู้เป็นจอมเสพแล้ว
บ้าง อีกอย่างหนึ่ง อินทรีย์เหล่านี้ ชื่อว่า อินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นอิสระ
กล่าวคือ ความเป็นอธิบดีบ้าง ด้วยว่าความเป็นอธิบดีแห่งจักขุเป็นต้น
สำเร็จแล้วในความเป็นไปแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้น เพราะเมื่ออินทรีย์นั้นแก่
กล้า จักขุวิญญาณเป็นต้นนั้นก็แก่กล้า และเมื่ออินทรีย์นั้นอ่อน จักขุวิญญาณ
เป็นต้นนั้นก็อ่อนแอ.
นี้วินิจฉัยโดยอรรถในอินทรีย์นี้ก่อน.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลักษณะเป็นต้น


ข้อว่า โดยลักษณะเป็นต้น มีอธิบายว่า บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัย
อินทรีย์มีจักขุเป็นต้น แม้ด้วยลักษณะ (สภาวะ) ด้วยรส (กิจ) ด้วยปัจจุปัฏฐาน
(ผลที่ปรากฏ) และด้วยปทัฏฐาน (เหตุใกล้ให้เกิดขึ้น). ก็ลักษณะเป็นต้น
เหล่านั้น แห่งธรรมมีจักขุเป็นต้นเหล่านั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลัง
(อรรถกถาอัฏฐสาลนี) ทั้งหมดแล้ว ก็อินทรีย์ 4* มีปัญญินทรีย์เป็นต้น
โดยอรรถ ได้แก่ อโมหะนั่นเอง อินทรีย์ที่เหลือในพระบาลีนั้นมาแล้ว
โดยย่อแล.
* อินทรีย์ 4 คือ ตั้งแต่ข้อ 19 ถึง 22