เมนู

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรม
ที่รู้แล้ว เพื่อเห็นธรรมที่เห็นแล้ว เพื่อบรรลุธรรมที่บรรลุแล้ว เพื่อทราบ
ธรรมที่ทราบแล้ว เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ทำให้แจ้งแล้วนั้น ๆ อันใด นี้เรียกว่า
อัญญาตาวินทรีย์.
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

อินทริยวิภังคนิเทศ

*

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์


บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในอินทริยวิภังค์ต่อจากสัจจวิภังค์นั้น ต่อไป
บทว่า พาวีสติ (22) เป็นบทกำหนดจำนวน. บทว่า อินฺทฺริยานิ
(อินทรีย์ทั้งหลาย) เป็นบทอธิบายธรรมที่ทรงกำหนดไว้. บัดนี้ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าเมื่อจะแสดงอินทรีย์เหล่านั้น โดยย่อ จึงตรัสคำว่า จกฺขุนฺทฺริยํ (จักขุน-
ทรีย์) เป็นต้น.

ว่าด้วยความหมายของอินทรีย์ 22


ในอินทรีย์เหล่านั้น ที่ชื่อว่า จักขุนทรีย์ เพราะอรรถว่า ครอง
ความเป็นใหญ่ในจักขุวาร. ที่ชื่อว่า โสตินทรีย์ เพราะอรรถร่า ครองความ
เป็นใหญ่ในโสตทวาร. ที่ชื่อว่า ฆานินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความ
* บาลีข้อ 236

เป็นใหญ่ในฆานทวาร. ที่ชื่อว่า ชิวหินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความ
เป็นใหญ่ในชิวหาทวาร. ที่ชื่อว่า กายินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความ
เป็นใหญ่ในกายทวาร. ที่ชื่อว่า มนินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความ
เป็นใหญ่ในลักษณะการรู้อารมณ์. ที่ชื่อว่า อิตถินทรีย์ เพราะอรรถว่า
ครองความเป็นใหญ่ในความเป็นหญิง. ที่ชื่อว่า ปุริสินทรีย์ เพราะอรรถว่า
ครองความเป็นใหญ่ในความเป็นชาย. ที่ชื่อว่า ชีวินทรีย์ เพราะอรรถว่า
ครองความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการตามรักษา (อนุบาล). ที่ชื่อว่า สุขิน-
ทรีย์
เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณสุข. ที่ชื่อว่า ทกขินทรีย์
เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณทุกข์. ที่ชื่อว่า โสมนัสสินทรีย์
เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณโสมนัส. ที่ชื่อว่า โทมนัส-
สินทรีย์
เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณโทมนัส. ที่ชื่อว่า
อุเปกขินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณอุเบกขา. ที่ชื่อว่า
สัทธินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณะการน้อมใจเชื่อ.
ที่ชื่อว่า วิริยินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณะความเพียร.
ที่ชื่อว่า สตินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณะความ
ปรากฏ (ของอารมณ์). ที่ชื่อว่า สมาธินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความ
เป็นใหญ่ในลักษณะความไม่ฟุ้งซ่าน. ที่ชื่อว่า ปัญญินทรีย์ เพราะอรรถว่า
ครองความเป็นใหญ่ในลักษณะการเห็น. ที่ชื่อว่า อนัญญตัญญัสสามีตินท-
รีย์
เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการรู้ซึ่งการดำเนินไป
ว่า เราจักรู้ทั่วถึงสิ่งที่ยังไม่รู้ (นี้ เป็นโสดาปัตติมรรค). ที่ชื่อว่า อัญญินทรีย์

เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในการรู้ทั่วธรรมที่รู้แล้วนั่นแหละ (โสดา-
ปัตติผลถึงอรหัตมรรค). ที่ชื่อว่า อัญญาตาวินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครอง
ความเป็นใหญ่ในความเป็นผู้รู้แจ้ง (อรหัตผล).
ในอินทริยวิภังค์ วรรณนาชื่อว่า สุตตันตภาชนีย์ พระองค์มิได้
ทรงถือเอา เพราะเหตุไร เพราะอินทรีย์ 22 โดยลำดับนี้มิได้มาในพระสูตร
เพราะในพระสูตรบางแห่งทรงตรัสอินทรีย์ไว้ 2 บางแห่งตรัสไว้ 3 บางแห่ง
ตรัสไว้ 5 ก็ด้วยเหตุนี้ อินทรีย์ 22 ติดต่อกันเช่นนี้มิได้มี นี้เป็นนัยแห่ง
อรรถกถาในอินทริยวิภังค์ก่อน.
ก็นัยอื่นอีก พึงทราบดังต่อไปนี้. จริงอยู่ ในอินทรีย์เหล่านี้
อตฺถโต ลกฺขณาทีหิ กมโต จ วิชานิยา
เภทาเภทา ตถา กิจฺจา ภูมิโต จ วินิจฺฉยํ

พึงทราบการวินิจฉัย โดยอรรถ
โดยลักษณะเป็นต้น โดยลำดับ โดยความ
ต่างกันและไม่ต่างกัน โดยกิจ และโดยภูมิ.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอรรถ


บรรดาวินิจฉัยเหล่านั้น อรรณแห่งอินทรีย์มีจักขุเป็นต้น ข้าพเจ้า
ประกาศไวก่อนแล้วโดยนัยมีอาทิว่า ที่ชื่อว่า จักขุ เพราะอรรถว่า ย่อม
เห็น. แต่ในอินทรีย์ (ที่เป็นโลกุตระ) 3 หลัง โลกุตรอินทรีย์ข้อแรก
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ ดังนี้ เพราะ
ความเกิดขึ้น และเพราะความเกิดพร้อมแห่งอรรถของอินทรีย์แก่พระอริยะผู้ถึง