เมนู

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรม
ที่รู้แล้ว เพื่อเห็นธรรมที่เห็นแล้ว เพื่อบรรลุธรรมที่บรรลุแล้ว เพื่อทราบ
ธรรมที่ทราบแล้ว เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ทำให้แจ้งแล้วนั้น ๆ อันใด นี้เรียกว่า
อัญญาตาวินทรีย์.
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

อินทริยวิภังคนิเทศ

*

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์


บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในอินทริยวิภังค์ต่อจากสัจจวิภังค์นั้น ต่อไป
บทว่า พาวีสติ (22) เป็นบทกำหนดจำนวน. บทว่า อินฺทฺริยานิ
(อินทรีย์ทั้งหลาย) เป็นบทอธิบายธรรมที่ทรงกำหนดไว้. บัดนี้ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าเมื่อจะแสดงอินทรีย์เหล่านั้น โดยย่อ จึงตรัสคำว่า จกฺขุนฺทฺริยํ (จักขุน-
ทรีย์) เป็นต้น.

ว่าด้วยความหมายของอินทรีย์ 22


ในอินทรีย์เหล่านั้น ที่ชื่อว่า จักขุนทรีย์ เพราะอรรถว่า ครอง
ความเป็นใหญ่ในจักขุวาร. ที่ชื่อว่า โสตินทรีย์ เพราะอรรถร่า ครองความ
เป็นใหญ่ในโสตทวาร. ที่ชื่อว่า ฆานินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความ
* บาลีข้อ 236