เมนู

สมุทยสัจ เป็นสรณะ สัจจะ 2 เป็นอรณะ ทุกขสัจ เป็นสรณะก็มี เป็นอรณะ
ก็มี ฉะนี้แล.
ปัญหาปุจฉกะ จบ
สัจจวิภังค์ จบบริบูรณ์

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ


พึงทราบวินิจฉัยในปัญหาปุจฉกะ ต่อไป
บัณฑิตพึงทราบความที่สัจจะแม้ทั้ง 4 เป็นกุศลเป็นต้น โดยทำนอง
แห่งนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในขันธวิภังค์นั่นแล แต่ในอารัมมณติกะทั้งหลาย
สมุทยสัจจะ เป็นปริตตารัมมณะแก่ผู้ยินดีอยู่ในกามาวจรธรรม เป็นมหัคคตา-
รัมมณะแก่ผู้ยินดีอยู่ในมหัคคตธรรม เป็นนวัตตัพพารัมมณะแก่ผู้ยินดีอยู่ใน
บัญญัติธรรม. ทุกขสัจจะ เป็นปริตตารัมมณะซึ่งปรารภกามาวจรธรรมเกิดขึ้น
เป็นมหัคคตารัมมณะในกาลปรารภรูปาวจรธรรมและอรูปาวจรธรรมเกิดขึ้น
เป็นอัปปมาณารัมมณะเกิดในเวลาพิจารณาโลกุตรธรรม 9 เป็นนวัตตัพพารัม-
ณะในเวลาพิจารณาบัญญัติ. มรรคสัจจะ เป็นมัคคเหตุกะ (มีมรรคเป็นเหต)
แม้ในการทั้งปวง ด้วยสามารถเป็นสหชาตเหตุ เป็นมัคคาธิปติในเวลาเจริญ-
มรรคกระทำวริยะหรือวิมังสาให้เป็นใหญ่ ชื่อว่าเป็นนวัตตัพพธรรมในเวลาที่
ฉันทะและจิตอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอธิบดี. ทุกขสัจจะ เป็นบรรดารัมมณะใน
เวลาพิจารณามรรคของพระอริยะ เป็นมัคคาธิบดีในเวลาพิจารณามรรคของ
พระอริยเจ้าเหล่านั้นนั่นเทียว กระทำให้หนักเป็นนวัตตัพพธรรมในเวลาพิจาร-
ณาธรรมที่เหลือ.

บทว่า เทฺว สจฺจานิ (สัจจะ 2)* ได้แก่ทุกขสัจจะและสมุทยสัจจะ
เพราะสัจจะทั้ง 2 เหล่านี้ เป็นอารมณ์ มีอดีตเป็นต้น ในเวลาที่ปรารภธรรม
อันต่างด้วยอดีตเป็นต้นเกิดขึ้น สมุทยสัจจะ ย่อมเป็นอารมณ์มีอารมณ์ภายใน
เป็นต้น แก่บุคคลผู้ยินดีอยู่ในธรรมอันต่างด้วยธรรมมีอัชฌัตตะเป็นต้น. ทุกข-
สัจจะ ในเวลาเป็นอากิญจัญญายตนะ พึงทราบว่า เป็นนวัตตัพพารัมมณะก็มี.
เพราะฉะนั้น ในปัญหาปุจฉกะนี้ สองสัจจะ (ต้น) เป็นโลกีย์ สองสัจจะ
(หลัง) เป็นโลกุตระ ในปัญหาปุจฉกะนี้ ฉันใด ในสุตตันตภาชนีย์และ
อภิธรรมภาชนีย์ทั้ง 2 แม้ก่อนก็ฉันนั้น เพราะสัจจะที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ
พระสัมมาสัมพุทธะตรัสแล้วในการวรรณนาแม้ทั้ง 3 มีสุตตันตภาชนีย์เป็นต้น
แม้สัจจวิภังค์นี้ พระองค์ก็ทรงนำออกจำแนกแสดงไว้ ณ ปริวรรต ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
สัจจวิภังคนิเทศ จบ
* บาลีข้อ 224

5. อินทริยวิภังค์


[236]

อินทรีย์ 22 คือ


1. จักขุนทรีย์
2. โสตินทรีย์
3. ฆานินทรีย์
4. ชิวหินทรีย์
5. กายินทรีย์
6. มนินทรีย์
7. อิตถินทรีย์
8. ปุริสินทรีย์
9. ชีวิตินทรีย์
10. สุขินทรีย์
11. ทุกขินทรีย์
12. โสมนัสสินทรีย์
13. โทมนัสสินทรีย์
14. อุเปกขินทรีย์
15. สัทธินทรีย์
16. วิริยินทรีย์
17. สตินทรีย์
18. สมาธินทรีย์