เมนู

พวกเทพชั้นดาวดึงส์ จึงชื่อว่า ประณีต. ฯลฯ ก็รูปของพวกเทพชั้นอกนิษฐ์
ชื่อว่า ประณีตถึงที่สุด.

ว่าด้วยนิเทสแห่งทูรทุกรูป


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งรูปทูรทุกะ (รูปไกลรูปใกล้) ต่อไป.
รูปที่เป็นอิตถินทรีย์เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ในหน
หลังนั่นแหละ แต่ในทุกะนี้ ตรัสสุขุมรูป (รูปละเอียด) ว่าเป็นทูเรรูป (รูป
ไกล) เพราะเป็นรูปที่มีลักษณะเข้าใจได้ยาก ด้วยอรรถว่ากำหนดเป็นอารมณ์
ได้ยาก ตรัสโอฬาริกรูป (รูปหยาบ) ว่าเป็นสันติเกรูป (รูปใกล้) เพราะเป็น
รูปที่มีลักษณะเข้าใจได้ง่าย ด้วยอรรถว่ากำหนดเป็นอารมณ์ได้ง่าย. พระผู้มี
พระภาคเจ้ามิได้ทรงประกอบว่า รูปนี้ เรียกว่ารูปไกล แม้ในที่ทรงประกอบ
อันมีกวฬิงการาหารเป็นที่สุดนั่นแหละ เพราะเหตุไร เพราะชื่อว่า รูปไกลมี
2 อย่าง คือ ไกลโดยลักษณะ และ ไกลโดยโอกาส.
ในรูปไกลทั้ง 2 นั้น มิได้ตรัสคำว่า รูปไกล ไว้โดยลักษณะ
แต่ตรัสรูปไกลนั้นไว้โดยโอกาส เพราะฉะนั้น จึงไม่ตรัสว่า รูปไกลไว้ พระ
ผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงประสงค์จะแสดงโอฬาริกรูปว่าเป็นรูปไกลโดยโอกาสจึง
ตรัสคำมีอาทิว่า ยํ วา ปนญฺญํปิ (ก็หรือว่า รูปแม้อื่นใดมีอยู่). แม้ในนิเทศ
แห่งสันติกบท ก็มีนัยนี้แหละ.
ในพระบาลีนั้น บทว่า อนาสนฺเน แยกบทเป็น น อาสนฺเน ได้
แก่ ในที่ไม่ใกล้เคียง. บทว่า อนุปกฏฺเฐ แปลว่า ในที่ไม่ใกล้ชิด. บทว่า
ทูเร แปลว่า ในที่ไกล. บทว่า อสนฺติเก แปลว่า ในที่ไม่ใช่ใกล้. บทว่า
อิทํ วุจฺจติ รูปํ ทูเร (นี้เรียกว่ารูปไกล) นี้ ตรัสสุขุมรูป 15 อย่าง เรียกว่า

รูปไกล โดยลักษณะ แต่ตรัสโอฬาริกรูป 10 อย่าง เรียกว่า รูปไกล โดย
โอกาส
ด้วยอำนาจเยวาปนกนัย นิเทศแห่งสันติกบทมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
บทว่า อิทํ วุจฺจติ รูปํ สนฺติเก (นี้เรียกว่ารูปใกล้) นี้ตรัสโอฬาริก
รูป 10 อย่าง เรียกว่า รูปใกล้โดยลักษณะ แต่ตรัสสุขุมรูป 15 อย่าง เรียก
ว่า รูปใกล้โดยโอกาส ด้วยอำนาจเยวาปนกนัย.
ถามว่า ก็รูปที่ชื่อว่าใกล้และไกลด้วยอำนาจโอกาสตั้งแต่ไหน ?
ตอบว่า เมื่อบุคคลพูดอยู่ด้วยถ้อยคำปรกติ 12 ศอก ชื่อว่าอุปจาร
คือใกล้ต่อการฟัง รูปภายในแห่งอุปจารคือใกล้ต่อการฟังนั้น ชื่อว่า รูปใกล้
เกินจากนั้นไป ชื่อว่า รูปไกล. บรรดารูปใกล้และไกลนั้น สุขุมรูป มีอยู่
ในที่ไกล ชื่อว่าเป็นรูปไกลแม้โดยลักษณะ แม้โดยโอกาส แต่สุขุมรูปที่มีอยู่
ในที่ใกล้ ชื่อว่า เป็นรูปใกล้โดยโอกาสเท่านั้น ไม่ชื่อว่าใกล้โดยลักษณะ.
โอฬาริกรูป ที่มีอยู่ในที่ใกล้ ชื่อว่าเป็นรูปใกล้แม้โดยลักษณะ แม้โดยโอกาส.
โอฬาริกรูปที่มีอยู่ไกล ชื่อว่าเป็นรูปไกลโดยโอกาสอย่างเดียว ไม่ใช่ไกลโดย
ลักษณะ.
ในคำว่า ตํ ตํ วาปน นี้ไม่พึงดูนัยที่มีข้างต้น เพราะนัยข้างต้นเป็น
นัยที่ทรงแยกเสร็จแล้ว แต่ในที่นี้มิได้ทรงแยกรูปไกลโดยลักษณะ ทรงแยกรูป
ไกลโดยโอกาสอย่างเดียว เพราะทรงแสดงรูปไกลและใกล้โดยการเทียบเคียง
กันในขันธวิภังคนิเทศนี้.
จริงอยู่ รูปของตน ชื่อว่า รูปใกล้ รูปของคนอื่นแม้เกิดภายใน
ท้อง ก็ชื่อว่า รูปไกล. รูปของคนอื่นที่เกิดในท้อง ชื่อว่า รูปใกล้ รูป
ของบุคคลอื่นที่อยู่ภายนอก ชื่อว่า รูปไกล. รูปของบุคคลอื่นผู้นอนเตียงเดียว
กัน ชื่อว่า รูปใกล้ รูปของบุคคลอื่นผู้ยืนอยู่ภายนอกหน้ามุข ชื่อว่า รูปไกล

รูปภายในบริเวณ ชื่อว่า รูปใกล้ รูปภายนอกบริเวณ ชื่อว่า รูปไกล รูป
ภายในสังฆาราม ชื่อว่า รูปใกล้ รูปภายนอกสังฆาราม ชื่อว่า รูปไกล. รูป
ภายในสีมา ชื่อว่า รูปใกล้ รูปนอกสีมา ชื่อว่า รูปไกล. รูปภายในเขตบ้าน
ชื่อว่ารูปใกล้ รูปนอกเขตบ้าน ชื่อว่า รูปไกล. รูปในภายในชนบท ชื่อว่า
รูปใกล้ รูปภายนอกชนบท ชื่อว่า รูปไกล. รูปภายในรัชสีมา ชื่อว่า รูปใกล้
รูปนอกรัชสีมา ชื่อว่ารูปไกล รูปภายในสมุทร ชื่อว่า รูปใกล้ รูปภายนอก
สมุทร ชื่อว่า รูปไกล. รูปภายในจักรวาล ชื่อว่า รูปใกล้ รูปภายนอก
จักรวาล ชื่อว่า รูปไกล ดังนี้.
นี้นิทเทสแห่งรูปขันธ์ จบ

2. เวทนาขันธนิเทศ

(บาลีข้อที่ 8)
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งเวทนาขันธ์เป็นต้น ต่อไป.
ข้าพเจ้าจักเว้นบทเหมือนกับบทที่กล่าวไว้ในหนหลังแล้วพรรณนา
เฉพาะบทที่ยังมิได้พรรณนาเท่านั้น.
บทว่า ยา กาจิ เวทนา (เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง) ได้แก่ ทรงถือเอา
เวทนาอันเป็นไปในภูมิ 4. บทว่า สุขา เวทนา เป็นต้น พระผู้มีพระภาค-
เจ้าตรัสว่าเพื่อแสดงเวทนาอธิบายไว้ด้วยอำนาจ เวทนาอดีตเป็นต้นโดยสภาวะ.
ในบรรดาสุขเวทนาเป็นต้นเหล่านั้น สุขเวทนาทางกายและสุขเวทนา
ทางใจมีอยู่ ทุกขเวทนาทางกายและทุกขเวทนาทางใจก็มีอยู่เหมือนกัน. ส่วน
อทุกขมสุขเวทนาที่ตรัสว่าเป็นไปทางกายโดยปริยายหมายถึงกายคือประสาทมี
จักขุเป็นต้นมีอยู่ เป็นไปทางใจก็มีอยู่. ในบรรดาเวทนาเหล่านั้น เวทนาที่
เป็นไปทางกายแม้ทั้งหมดเป็นกามาพจร ทุกขเวทนาทางใจก็เป็นกามาพจร
เหมือนกัน แต่สุขเวทนาเป็นไปทางใจเป็นไปในภูมิ 3 อทุกขมสุขเวทนาเป็น