เมนู

[196] ในสัจจะ 4 นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ?
ตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล 3 ที่เป็นอารมณ์
ของอาสวะ กุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย.
[197] ทุกข์ เป็นไฉน ?
วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมที่
เป็นกิริยามิใช่กุศลและกรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์.
[198] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน ?
การประหาณซึ่งตัณหา กิเลสที่เหลือ กุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล 3
ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ และกุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ นี้
เรียกว่า ทุกขนิโรธ.
[199] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้
เข้าสู่นิพพานเพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล
ธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ 8 คือ สัมมาทิฏฐิ
ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
ธรรมทั้งหลายที่เหลือ สัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

ปัญจังคิกวาร


[200] สัจจะ 4 คือ
1. ทุกข์
2. ทุกขสมุทัย

3. ทุกขนิโรธ
4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

[201] ในสัจจะ 4 นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ?
ตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย.
[202] ทุกข์ เป็นไฉน ?
กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล 3 ที่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ กุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรมและ
อกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมที่เป็นกิริยามิใช่กุศล อกุศล และ
กรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์.
[203] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน ?
การประหาณตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ.
[204] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก
โลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติสุขอัน
เกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาอยู่ ในสมัยใด มรรคมีองค์ 5 คือ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ย่อมมีใน
สมัยนั้น.
[205] ในมรรคมีองค์ 5 นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม ความเห็นชอบ
ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด
นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.

[206] สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ฯลฯ อันเป็นองค์แห่งมรรค
นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ.
[207] สัมมาวายามะ เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ความเพียรชอบ วิริยสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ.
[208] สัมมาสติ เป็นไฉน ?
สติ ความตามระลึก ฯลฯ ความระลึกชอบ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสติ.
[209] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ?
ความตั้งมั่นแห่งจิต ฯลฯ ความตั้งใจชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ.
นี้เรียกว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ สัมปยุตด้วย
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯลฯ
[210] ในสัจจะ 4 นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ?
ตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล 3 ที่เป็นอารมณ์
ของอาสวะ กุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย.
[211] ทุกข์ เป็นไฉน ?
วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรม
เป็นกิริยามิใช่กุศล อกุศล และกรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์.

[212] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน ?
การประหาณซึ่งตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล 3
ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ และกุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ นี้
เรียกว่า ทุกขนิโรธ.
[213] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก
โลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาอยู่ ในสมัยใด มรรคมีองค์ 5
คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ย่อมมี
ในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ สัมปยุต
ด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

สัพพสังคาหิกวาร


[214] สัจจะ 4 คือ
1. ทุกข์
2. ทุกขสมุทัย
3. ทุกขนิโรธ
4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

[215] ในสัจจะ 4 นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ?
ตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย.