เมนู

อภิธรรมภาชนีย์


อัฏฐังคิกวาร


[171] สัจจะ 4 คือ
1. ทุกข์
2. ทุกขสมุทัย
3. ทุกขนิโรธ
4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

[172] ในสัจจะ 4 นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ?
ตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย.
[173] ทุกข์ เป็นไฉน ?
กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ อกุศลมูล 3 ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
อกุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลกรรม และอกุศล.
ธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมเป็นกิริยามิใช่กุศล อกุศลและกรรมวิบาก
รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์.
[174] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน ?
การประหาณตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ.
[175] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก
โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ [โสดาปัตติผล]
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมี

วิจารมีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัย
ใด มรรคมีองค์ 8 คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น.
[176] ในมรรคมีองค์ 8 นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม ความเห็น
ชอบ ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อัน
ใด นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.
[177] สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริชอบ อันเป็นองค์แห่ง
มรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ.
[178] สัมมาวาจา เป็น ไฉน ?
การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้น จากวจีทุจริต 4 กิริยา
ไม่ทำ การไม่ทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุวจี
ทุจริต 4 วาจาชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียก
ว่า สัมมาวาจา.
[179] สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน ?
การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้น จากกายทุจริต 3
กิริยาไม่ทำ การไม่ทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ
กายทุจริต 3 การงานชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรคอันใด
นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ.
[180] สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน ?
การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้น จากมิจฉาอาชีวะ
กิริยาไม่ทำ การไม่ทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ

มิจฉาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
อันใด นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ.
[181] สัมมาวายามะ เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ความพยายามชอบ วิริยสัมโพชฌงค์
เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ.
[182] สัมมาสติ เป็นไฉน ?
สติ ความตามระลึก ฯลฯ ความระลึกชอบ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสติ.
[183] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ ความตั้งใจชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ.
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมทั้งหลายที่เหลือสัมปยุตด้วย
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
[184] ในสัจจะ 4 นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ?
ตัณหาและกิเลสที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
[185] ทุกข์ เป็นไฉน ?
อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล 3 ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ กุศลธรรมที่
เป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรมและอุกุศลกรรมที่เป็น
อารมณ์ของอาสวะ ธรรมเป็นกิริยามิใช่กุศลอกุศลและกรรมวิบาก รูปทั้งหมด
นี้เรียกว่า ทุกข์.

[186] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน ?
การประหาณซึ่งตัณหาแสะกิเลสที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ.
[187] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไป
โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหารทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมฌาน สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาอยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ 8
คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ-
คามีนิปฏิปทา. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ สัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามีนีปฏิปทา.
[188] ในสัจจะ 4 นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ?
ตัณหา กิเลสที่เหลือ และอกุศลกรรมที่เหลือนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
[189] ทุกข์ เป็นไฉน ?
กุศลมูล 3 ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ กุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
ธรรมเป็นกิริยามิใช่กุศลอกุศลและกรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์.
[190] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน ?
การประหาณซึ่งตัณหากิเลสที่เหลือและอกุศลธรรมที่เหลือ นี้เรียกว่า
ทุกขนิโรธ.
[191] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกจากโลก
ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอัน
เกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาอยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ 8 คือ
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินี
ปฏิปทา. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ สัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
[192] ในสัจจะ 4 นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ?
ตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล 3 ที่เป็นอารมณ์
ของอาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย.
[193] ทุกข์ เป็นไฉน ?
กุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรมและ
อกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมเป็นกิริยามิใช่กุศลอกุศลและกรรม
วิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์.
[194] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน ?
การประหาณซึ่งตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ และกุศล-
มูล 3 ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ.
[195] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอันเกิด
แต่วิเวกเป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ 8 คือ
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ สัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

[196] ในสัจจะ 4 นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ?
ตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล 3 ที่เป็นอารมณ์
ของอาสวะ กุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย.
[197] ทุกข์ เป็นไฉน ?
วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมที่
เป็นกิริยามิใช่กุศลและกรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์.
[198] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน ?
การประหาณซึ่งตัณหา กิเลสที่เหลือ กุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล 3
ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ และกุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ นี้
เรียกว่า ทุกขนิโรธ.
[199] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้
เข้าสู่นิพพานเพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล
ธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ 8 คือ สัมมาทิฏฐิ
ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
ธรรมทั้งหลายที่เหลือ สัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

ปัญจังคิกวาร


[200] สัจจะ 4 คือ
1. ทุกข์
2. ทุกขสมุทัย