เมนู

ศีลนั้น สัมปยุตด้วยศีลนั้นแลตัดขาดความเกียจคร้าน ให้สำเร็จความไม่เกิด
อกุศลที่ยังไม่เกิด ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ยังกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ที่เกิด
แล้วให้ดำรงอยู่ เป็น สัมมาวายามะ. ความที่จิตไม่หลงลืมของผู้พยายามอยู่
อย่างนี้ สัมปยุตด้วยสัมมาวายามะนั้นถอนขึ้นซึ่งมิจฉาสติ ให้สำเร็จเป็นกายา-
นุปัสสนาเป็นต้น ในอารมณ์มีกายเป็นต้น เป็น สัมมาสติ. ความที่จิตมีอารมณ์
เป็นหนึ่งของผู้รักษาจิตอันอนุตรสติจัดแจงดีแล้ว สัมปยุตด้วยสัมมาสติและ
ถอนขึ้นซึ่งมิจฉาสมาธิ เป็นสัมมาสมาธิ ด้วยประการฉะนี้แล.
นี้ เป็นอริยมรรคมีองค์ 8 เป็นโลกุตระ.

ว่าด้วยมรรคเป็นทั้งวิชาและจรณะเป็นต้น


อนึ่ง โลกุตรมรรคใด พร้อมท่งโลกิยมรรค ถึงซึ่งการนับ ว่าเป็น
ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา (ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์) มรรคนั้นแลเป็น
ทั้งวิชชาและจรณะ เพราะสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะทรงสงเคราะห์ไว้ด้วย
วิชชา ธรรมที่เหลือสงเคราะห์ไว้ด้วยจรณะ อนึ่ง มรรคนั้นเป็นทั้งสมถะและ
วิปัสสนา เพราะความที่สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะทั้ง 2 เหล่านั้น ทรง
สงเคราะห์ไว้ด้วยวิปัสสนาญาณ. ธรรมนอกจากนี้ สงเคราะห์ไว้ด้วยสมถญาณ.
อีกอย่างหนึ่ง มรรคนั้นเป็นทั้งขันธ์ 3 และสิกขา 3 เพราะความที่สัมมาทิฏฐิ
และสัมมาสังกัปปะทั้ง 2 เหล่านั้น ทรงสงเคราะห์ด้วยปัญญาขันธ์ ธรรม 3
ในลำดับต่อจากสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะนั้นสงเคราะห์ด้วยศีลขันธ์ ที่เหลือ
สงเคราะห์ด้วยสมาธิขันธ์ และธรรมเหล่านั้นแหละสงเคราะห์ด้วยอธิปัญญาสิกขา
อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา.
พระอริยสาวกประกอบด้วยมรรคใด เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ
จรณะดุจบุคคลผู้เดินทางไกลประกอบด้วยจักษุทั้ง 2 อันสามารถในการเห็น