เมนู

คำว่า อยํ วุจฺจติ สมฺมาสมาธิ (นี้เรียกว่าสัมมาสมาธิ) ความว่า
เอกกัคคตา (สมาธิจิต ) ในฌาน 4 เหล่านั้น เราเรียกชื่อว่า สัมมาสมาธิ เป็น
โลกิยะในส่วนเบื้องต้น แต่ในกาลภายหลังเป็นโลกุตระ. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงมรรคสัจจะด้วยสามารถเป็นโลกิยะและโลกุตระ ด้วยประการฉะนี้

ว่าด้วยมรรคที่เป็นโลกีย์และโลกุตระ


บรรดามรรคที่เป็นโลกีย์และโลกุตระเหล่านั้น ในโลกิยมรรค องค์-
มรรคทั้งหมด ย่อมมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในอารมณ์ 6 ตามสมควร
แต่ในโลกุตรมรรค ปัญญาจักษุ (จักษุคือปัญญา) มีนิพพานเป็นอารมณ์ อัน
ถอนเสียซึ่งอวิชชานุสัย ของพระอริยสาวกผู้ประพฤติเพื่อแทงตลอดสัจจะ 4 เป็น
สัมมาทิฏฐิ. อนึ่ง การยกจิตขึ้นสู่แนวทางพระนิพพานซึ่งสัมปยุตด้วยสัมมา-
ทิฏฐินั้นแล้วถอนเสียซึ่งมิจฉาสังกัปปะ 3 อย่าง ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
เป็น สัมมาสังกัปปะ. อนึ่ง เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นมิจฉาวาจา ที่สัมปยุต
ด้วยสัมมาสังกัปปะนั้นแหละ ถอนขึ้นซึ่งวจีทุจริต 4 อย่าง ของบุคคลผู้เห็นอยู่
และตรึกอยู่ เป็น สัมมาวาจา. เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นกายทุจริต 3 อย่าง
ที่สัมปยุตด้วยสัมมาวาจานั้นแหละตัดขาดมิจฉากัมมันตะ ของบุคคลผู้งดเว้นอยู่
เป็น สัมมากัมมันตะ. เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นมิจฉาอาชีวะ ที่เป็นธรรมชาติ
ผ่องแผ้วของสัมมาวาจาและกัมมันตะ. เหล่านั้นนั่นเอง เป็นธรรมสัมปยุตด้วย
สัมมาวาจาและกัมมันตะนั้น ๆ แหละตัดขาดอกุศลมีการหลอกลวงเป็นต้น เป็น
สัมมาอาชีวะ. อนึ่ง วิริยารัมภะ (ปรารภความเพียร) ของบุคคลผู้ตั้งมั่น
ในภูมิศีล กล่าวคือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ นี้สมควรแก่

ศีลนั้น สัมปยุตด้วยศีลนั้นแลตัดขาดความเกียจคร้าน ให้สำเร็จความไม่เกิด
อกุศลที่ยังไม่เกิด ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ยังกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ที่เกิด
แล้วให้ดำรงอยู่ เป็น สัมมาวายามะ. ความที่จิตไม่หลงลืมของผู้พยายามอยู่
อย่างนี้ สัมปยุตด้วยสัมมาวายามะนั้นถอนขึ้นซึ่งมิจฉาสติ ให้สำเร็จเป็นกายา-
นุปัสสนาเป็นต้น ในอารมณ์มีกายเป็นต้น เป็น สัมมาสติ. ความที่จิตมีอารมณ์
เป็นหนึ่งของผู้รักษาจิตอันอนุตรสติจัดแจงดีแล้ว สัมปยุตด้วยสัมมาสติและ
ถอนขึ้นซึ่งมิจฉาสมาธิ เป็นสัมมาสมาธิ ด้วยประการฉะนี้แล.
นี้ เป็นอริยมรรคมีองค์ 8 เป็นโลกุตระ.

ว่าด้วยมรรคเป็นทั้งวิชาและจรณะเป็นต้น


อนึ่ง โลกุตรมรรคใด พร้อมท่งโลกิยมรรค ถึงซึ่งการนับ ว่าเป็น
ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา (ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์) มรรคนั้นแลเป็น
ทั้งวิชชาและจรณะ เพราะสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะทรงสงเคราะห์ไว้ด้วย
วิชชา ธรรมที่เหลือสงเคราะห์ไว้ด้วยจรณะ อนึ่ง มรรคนั้นเป็นทั้งสมถะและ
วิปัสสนา เพราะความที่สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะทั้ง 2 เหล่านั้น ทรง
สงเคราะห์ไว้ด้วยวิปัสสนาญาณ. ธรรมนอกจากนี้ สงเคราะห์ไว้ด้วยสมถญาณ.
อีกอย่างหนึ่ง มรรคนั้นเป็นทั้งขันธ์ 3 และสิกขา 3 เพราะความที่สัมมาทิฏฐิ
และสัมมาสังกัปปะทั้ง 2 เหล่านั้น ทรงสงเคราะห์ด้วยปัญญาขันธ์ ธรรม 3
ในลำดับต่อจากสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะนั้นสงเคราะห์ด้วยศีลขันธ์ ที่เหลือ
สงเคราะห์ด้วยสมาธิขันธ์ และธรรมเหล่านั้นแหละสงเคราะห์ด้วยอธิปัญญาสิกขา
อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา.
พระอริยสาวกประกอบด้วยมรรคใด เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ
จรณะดุจบุคคลผู้เดินทางไกลประกอบด้วยจักษุทั้ง 2 อันสามารถในการเห็น