เมนู

วงเดียวเท่านั้น อันยังองค์มรรคให้บริบูรณ์ เพราะตัดทางดำเนินของเจตนา
เป็นเหตุศีลในอกุศล 3 อย่าง กล่าวคือมิจฉากัมมันตะ ด้วยสามารถแห่ง
ความไม่เกิดขึ้นได้สำเร็จ.
นี้ ชื่อว่า สัมมากัมมันตะ.

ว่าด้วยนิเทศสัมมาอาชีวะ


พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศสัมมาอาชีวะ ต่อไป
บทว่า อิธ ได้แก่ ในพระศาสนานี้. บทว่า อริยสาวโก ได้แก่
สาวกของพระพุทธเจ้าผู้เป็นอริยะ. บทว่า มจฺฉาอาชีวํ ปหาย (ละมิจฉา
อาชีวะแล้ว) ได้แก่ ละขาดซึ่งอาชีวะอันลามก. บทว่า สมฺมาอาชีเวน
(ด้วยสัมมาอาชีวะ) ได้แก่ อาชีวะอันเป็นกุศลที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้ว.
บทว่า ชีวิตํ กปฺเปติ (เลี้ยงชีวิตอยู่) ได้แก่ ยังความเป็นไปแห่งชีวิตให้
ดำเนินไป. แม้ในสัมมาอาชีวะนี้ เพราะบุคคลย่อมงดเว้นจากการก้าวล่วง
กายทวารด้วยจิตดวงหนึ่ง ย่อมงดเว้นจากการก้าวล่วงทางวจีทวารด้วยจิตดวง
หนึ่ง ฉะนั้น ในส่วนเบื้องต้นจึงเกิดขึ้นในขณะต่าง ๆ แต่ในขณะแห่งมรรค
ย่อมเกิดกุศลเจตนาเครื่องงดเว้น กล่าวคือสัมมาอาชีวะดวงเดียวเท่านั้น อันยัง
องค์มรรคให้บริบูรณ์ เพราะตัดทางดำเนินของเจตนาเป็นเครื่องทุศีลในมิจฉา
อาชีวะที่เกิดขึ้น ด้วยอำนาจกรรมบถ 7 ในทวารทั้ง 2 ด้วยสามารถไม่ให้เกิด
ขึ้นได้สำเร็จ.
นี้ ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ.

ว่าด้วยนิเทศสัมมาวายามะเป็นต้น


นิเทศแห่งสัมมาวายามะจักแจ่มแจ้งด้วยสามารถการพรรณนาตามบท
ในสัมมัปปธานวิภังค์. ก็สัมมาวายามะนี้ย่อมได้ในจิตต่าง ๆ ในกาลเบื้องต้น

เพราะบุคคลย่อมทำความเพียรเพื่อความไม่เกิด แห่งอกุศลธรรมอันลามก
ทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยจิตดวงหนึ่ง เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว
ด้วยจิตดวงหนึ่ง และเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยจิตดวง
หนึ่ง เพื่อความดำรงอยู่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วด้วยจิตดวงหนึ่ง แต่ในขณะ
แห่งมรรค ย่อมได้ในจิตดวงเดียวเท่านั้น เพราะความเพียรอันสัมปยุตด้วย
มรรคอันเดียวเท่านั้น ย่อมได้ชื่อ 4 อย่าง ด้วยอรรถว่ายังกิจ 4 อย่างให้สำเร็จ.
แม้นิเทศแห่งสัมมาสติก็จักมีแจ้งด้วยสามารถการพรรณนาตามบท
ในสติปัฏฐานวิภังค์. อนึ่ง สัมมาสติแม้นี้ก็ย่อมได้ให้จิตต่าง ๆ ในส่วนเบื้องต้น
จริงอยู่ บุคคลย่อมกำหนดกายเป็นอารมณ์ด้วยดวงหนึ่ง ย่อมกำหนดเวทนา
เป็นต้น ด้วยจิตดวงหนึ่ง ๆ แต่ในขณะแห่งมรรคย่อมได้ในจิตดวงเดียวเท่านั้น
เพราะสติที่สัมปยุตด้วยมรรคดวงเดียวเท่านั้น ย่อมได้ชื่อ 4 อย่าง ด้วยอรรถว่า
ให้สำเร็จกิจ 4 อย่าง.

ว่าด้วยนิเทศสัมมาสมาธิ

(บาลีข้อ 170)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศสัมมาสมาธิ ต่อไป
ฌาน 4 มีความต่างกันแม้ในส่วนเบื้องต้น แม้ในขณะแห่งมรรค ใน
ส่วนเบื้องต้นต่างกันด้วยอำนาจสมาบัติ ในขณะแห่งมรรคต่างกันด้วยอำนาจ
แห่งมรรค. ความจริง ปฐมมรรคของบุคคลคนหนึ่งย่อมเป็นธรรมประกอบ
ด้วยปฐมฌาน แม้มรรคดวงที่ 2 เป็นต้นก็เป็นธรรมประกอบด้วยปฐมฌาน
หรือประกอบด้วยฌานใดฌานหนึ่งมีทุติยฌานเป็นต้น. ปฐมมรรคของบุคคล
คนหนึ่งก็ประกอบด้วยฌานใดฌานหนึ่งมีทุติยฌานเป็นต้น. แม้ทุติยมรรค
เป็นต้น ก็เป็นธรรมประกอบด้วยฌานใดฌานหนึ่งแห่งทุติยฌานเป็นต้น หรือว่า