เมนู

นิรุชฺฌมานา นิรุชฺฌติ ( จักษุเป็นปิยรูป สาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อจะละ
ย่อมละที่จักษุนี้ เมื่อจะดับย่อมดับที่จักษุนี้). คำที่เหลือในที่ทั้งหมดมีเนื้อความ
ตื้นทั้งนั้นแล.
กถาว่าด้วยนิเทศแห่งนิโรธสัจจะ จบ

วรรณนานิเทศวาร


ว่าด้วยมรรคสัจจะ

(บาลีข้อ 162)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งมรรคสัจจะ ต่อไป.
บทว่า อยเมว (นี้เท่านั้น) เป็นคำกำหนดแน่นอน เพื่อปฏิเสธ
มรรคอื่น. บทว่า อริโย (อริยะ) ความว่า ที่ชื่อว่า อริยะ เพราะไกล
จากกิเลสทั้งหลายที่ฆ่าด้วยมรรคนั้น ๆ เพราะทำความเป็นอริยะ และเพราะ
ทำการไดเฉพาะซึ่งอริยผล. องค์ 8 ของมรรคนั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น มรรคนั้น
จึงชื่อว่า อฏฺฐงฺคิโก (มีองค์ 8) องค์ 8 ของมรรคนี้นั้นเป็นเพียงองค์เท่านั้น
เหมือนเสนามีองค์ 4 และดนตรีมีองค์ 5 พ้นจากองค์มิได้มี. ที่ชื่อว่า มรรค
เพราะอรรถว่า อันผู้ต้องการพระนิพพานย่อมแสวงหา หรือย่อมแสวงหา
พระนิพพาน หรือเป็นสภาพฆ่ากิเลสทั้งหลายไป. ศัพท์ว่า เสยฺยถีทํ ความว่า
ถ้ามีผู้ถามว่า องค์มรรคนั้นเป็นไฉน ดังนี้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงว่า มรรค คือ องค์มรรค
นั่นเอง นอกจากองค์มรรคย่อมไม่มีจึงตรัสว่า สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ลมั มาสมาธิ
ดังนี้. บรรดาองค์มรรค 8 เหล่านั้น สัมมาทิฏฐิ สมฺมาทสฺสนลกฺขณา
มีปัญญาเห็นโดยชอบเป็นลักษณะ สัมมาสังกัปปะ สมฺมา อภินิโรปน-

ลกฺขโณ มีการยกสัมปยุตธรรมขึ้นโดยชอบเป็นลักษณะ สัมมาวาจา สมฺมา
ปริคฺคหลกฺขณา
มีการกำหนดถือโดยชอบเป็นลักษณะ สัมมากัมมันตะ
สมฺมา สมุฏฐาปนลกฺขโณ
มีการงานดีโดบชอบเป็นลักษณะ สัมมา-
อาชีวะ สมฺมา โวทานลกฺขโณ มีอาชีวะที่ผ่องแผ้วโดยชอบเป็นลักษณะ
สัมมาวายามะ สมฺมา ปคฺคหลกฺขโณ มีความเพียรประคองไว้โดยชอบ
เป็นลักษณะ สัมมาสติ สมฺมา อุปฏฐานลกฺขณา* มีการปรากฏโดยชอบ
เป็นลักษณะ สัมมาสมาธิ สมฺมา สมาธานลกฺขโณ มีการตั้งใจมั่น
โดยชอบเป็นลักษณะ.
บรรดาองค์มรรค 8 เหล่านั้น แต่ละองค์มีกิจ คือหน้าที่องค์ล่ะ 3.
อย่างไร คือ สัมมาทิฏฐิก่อน ย่อมละมิจฉาทิฏฐิกับกิเลสที่เป็นข้าศึกของตน
แม้อื่น ๆ ได้ 1 ย่อมทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ 1 ย่อมเห็นสัมปยุตตธรรม
ทั้งหลายเพราะไม่ฟั่นเฝือด้วยอำนาจกำจัดโมหะอันปกปิดสัมปยุตตธรรมนั้น ๆ
ได้ 1 แม้สัมมาสังกัปปะเป็นต้นก็เช่นนั้นเหมือนกัน ย่อมละมิจฉาสังกัปปะ
เป็นต้น ย่อมกระทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ แต่ในสัมมาสังกัปปะเป็นต้นนี้
ว่าโดยความแปลกกัน สัมมาสังกัปปะย่อมยกขึ้นซึ่งสหชาตธรรม สัมมาวาจา
ย่อมกำหนดถือไว้โดยชอบ สัมมากัมมันตะย่อมยังการงานให้ตั้งขึ้นดีโดยชอบ
สัมมาอาชีวะย่อมให้อาชีวะผ่องแผ้วโดยชอบ สัมมาวายามะย่อมประคองไว้โดย
ชอบ สัมมาสติ ย่อมปรากฏโดยชอบ สัมมาสมาธิ ย่อมตั้งมั่นโดยชอบ.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมดาสัมมาทิฏฐินี้ ในส่วนเบื้องต้น (โลกีย์มรรค)
มีขณะต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน ในกาลแห่งมรรคมีขณะเดียวกัน มีอารมณ์
* คำว่า อุปฏฐานลกฺขณา นี้ เฉพาะคำว่า อุปฏฐาน มีคำแปลหลายอย่างคือแปลว่า มีการ
ปรากฏบ้าง มีการบำรุงบ้าง มีการปฏิบัติบ้าง มีการตั้งมั่นบ้าง.

เดียวกัน ก็ว่าโดยกิจ (หน้าที่) ย่อมได้ชื่อ 4 อย่างมีคำอาทิว่า ทุกฺเข ญาณํ
(ญาณในทุกข์). แม้สัมมาสังกัปปะเป็นต้นในส่วนเบื้องต้นก็มีขณะต่างกัน มี
อารมณ์ต่างกัน ในกาลแห่งมรรค มีขณะเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกัน บรรดาองค์
มรรค 7 มีสัมมาสังกัปปะเป็นต้นเหล่านั้น ว่าโดยกิจ (หน้าที่) สัมมาสังกัปปะ
ย่อมได้ชื่อ 3 อย่าง ว่า เนกขัมมสังกัปปะเป็นต้น. องค์มรรค 3 มีสัมมาวาจา
เป็นต้นในส่วนเบื้องต้น มีขณะต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน คือ ย่อมเป็นวิรตี
บ้าง เป็นเจตนาบ้าง ในขณะแห่งมรรคเป็นวิรตีอย่างเดียว. องค์มรรค 2 แม้นี้
คือ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ว่าโดยกิจย่อมได้ชื่อ 4 อย่าง ด้วยอำนาจแห่ง
สัมมัปปธาน และสติปัฏฐาน ส่วนสัมมาสมาธิ ในส่วนเบื้องต้นก็ดี ในขณะ
แห่งมรรคก็ดี ก็ชื่อว่า สัมมาสมาธินั่นแล.

ว่าด้วยธรรม 8 โดยลําดับ


ในธรรม 8 ตามที่แสดงมานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสัมมาทิฏฐิ
ก่อนเพราะเป็นธรรมอุปการะมากแก่พระโยคีผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุพระนิพพาน
เพราะสัมมาทิฏฐินี้พระองค์ตรัสเรียกว่า "ประทีปอันโพลงทั่วคือปัญญา ศัสตรา
คือปัญญา เป็นต้น ฉะนั้น พระโยคาวจรผู้ทำลายความมืดคืออวิชชา ด้วย
สัมมาทิฏฐิ กล่าวคือวิปัสสนาญาณในกาลเบื้องต้นนี้แล้วฆ่าโจรคือกิเลสอยู่ ย่อม
บรรลุพระนิพพานได้โดยปลอดภัย ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า "พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงแสดงสัมมาทิฏฐิก่อน เพราะเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่พระ-
โยคีผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุพระนิพพาน ดังนี้.
อนึ่ง สัมมาสังกัปปะเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่สัมมาทิฏฐินั้น เพราะ
ฉะนั้น จึงตรัสไว้ในลำดับสัมมาทิฏฐินั้น เปรียบเหมือนเหรัญญิก (ผู้ดูเงิน)