เมนู

นิรุชฺฌมานา นิรุชฺฌติ ( จักษุเป็นปิยรูป สาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อจะละ
ย่อมละที่จักษุนี้ เมื่อจะดับย่อมดับที่จักษุนี้). คำที่เหลือในที่ทั้งหมดมีเนื้อความ
ตื้นทั้งนั้นแล.
กถาว่าด้วยนิเทศแห่งนิโรธสัจจะ จบ

วรรณนานิเทศวาร


ว่าด้วยมรรคสัจจะ

(บาลีข้อ 162)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งมรรคสัจจะ ต่อไป.
บทว่า อยเมว (นี้เท่านั้น) เป็นคำกำหนดแน่นอน เพื่อปฏิเสธ
มรรคอื่น. บทว่า อริโย (อริยะ) ความว่า ที่ชื่อว่า อริยะ เพราะไกล
จากกิเลสทั้งหลายที่ฆ่าด้วยมรรคนั้น ๆ เพราะทำความเป็นอริยะ และเพราะ
ทำการไดเฉพาะซึ่งอริยผล. องค์ 8 ของมรรคนั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น มรรคนั้น
จึงชื่อว่า อฏฺฐงฺคิโก (มีองค์ 8) องค์ 8 ของมรรคนี้นั้นเป็นเพียงองค์เท่านั้น
เหมือนเสนามีองค์ 4 และดนตรีมีองค์ 5 พ้นจากองค์มิได้มี. ที่ชื่อว่า มรรค
เพราะอรรถว่า อันผู้ต้องการพระนิพพานย่อมแสวงหา หรือย่อมแสวงหา
พระนิพพาน หรือเป็นสภาพฆ่ากิเลสทั้งหลายไป. ศัพท์ว่า เสยฺยถีทํ ความว่า
ถ้ามีผู้ถามว่า องค์มรรคนั้นเป็นไฉน ดังนี้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงว่า มรรค คือ องค์มรรค
นั่นเอง นอกจากองค์มรรคย่อมไม่มีจึงตรัสว่า สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ลมั มาสมาธิ
ดังนี้. บรรดาองค์มรรค 8 เหล่านั้น สัมมาทิฏฐิ สมฺมาทสฺสนลกฺขณา
มีปัญญาเห็นโดยชอบเป็นลักษณะ สัมมาสังกัปปะ สมฺมา อภินิโรปน-