เมนู

ในพระบาลีนั้น บทว่า ตสฺสาเยว (แห่งตัณหานั้นนั่นเทียว)
ความว่า สภาวะนั้นใดแห่งตัณหานั้นนั่นแหละที่พระองค์ทรงประกาศไว้ใน
หนหลัง ด้วยสามารถแห่งความเกิดและความตั้งมั่น.
บทว่า อเสสวิราคนิโรโธ (ความสำรอกและความดับโดยไม่เหลือ)
เป็นต้น ทั้งหมดเป็นไวพจน์ของพระนิพพานทั้งนั้น เพราะอาศัยพระนิพพาน
ตัณหาย่อมสำรอก ย่อมดับโดยไม่เหลือ ฉะนั้น พระนิพพานนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อเสสวิราคนิโรธ (ความสำรอกและความดับโดย
ไม่เหลือ) แห่งตัณหานั้นนั่นเทียว. และเพราะอาศัยพระนิพพานแล้ว บุคคล
จึงชนะตัณหาได้ ย่อมสละคืนได้ ย่อมพ้นได้และย่อมไม่ติดอยู่ ฉะนั้นจึงตรัส
เรียกพระนิพพานว่า จาโค (ความสละ) ปฏินิสฺสคฺโค (ความสละคืน)
มุตฺติ (ความพ้น) อนาลโย (ความไม่อาลัย).

ธรรมที่เป็นไวพจน์พระนิพพาน


ความจริง พระนิพพานมีอย่างเดียวเท่านั้น แต่พระนิพพานนั้น มีชื่อ
เรียกแทนพระนิพพานเป็นอเนก ด้วยสามารถแห่งชื่อที่เป็นปฏิปักษ์แห่งสังขต-
ธรรมทั้งหมด อย่างไร คือ ชื่อมีอาทิว่า
อเสสโต วิราโค (ความสำรอกโดยไม่เหลือ)
นิโรโธ (ความดับ)
จาโค (ความสละ)
ปฏินิสฺสคฺโค (ความสละคืน)
มุตฺติ (ความพ้น)

อนาลโย (ความไม่มีอาลัย)
ราคกฺขโย (ความสิ้นราคะ)
โทสกฺขโย (ความสิ้นโทสะ)
โมหกฺขโย (ความสิ้นโมหะ)
ตณฺหกฺขโย (ความสิ้นตัณหา)
อนุปฺปาโท (ความไม่เกิดขึ้น)
อปฺปวตฺตํ (ความไม่เป็นไป)
อนิมิตฺตํ ( ความไม่มีเครื่องหมาย)
อปฺปณิหิตํ (ความไม่มีที่ตั้ง)
อนายูหนํ (ความไม่พยายาม)
อปฺปฏิสนฺธิ (ความไม่มีปฏิสนธิ)
อปฺปฏิวตฺติ (ความไม่กลับเป็นไป)
อคติ (ความไม่มีคติ)
อชาตํ (ความไม่เกิด)
อชรํ (ความไม่แก่)
อพฺยาธิ (ความไม่เจ็บ)
อมตํ (ความไม่ตาย)
อโสกํ (ความไม่มีโศก)
อปริเทวํ (ควานไม่มีปริเทวะ)
อนุปายาสํ (ความไม่มีอุปายาส)
อสํกิฏฺฐํ (ความไม่เศร้าหมอง).

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงความไม่มีแห่งตัณหาอันมรรค
ตัดแล้ว แม้อาศัยพระนิพพานแล้วก็ถึงความไม่เป็นไปในวัตถุเป็นที่ตั้งอันใด
ที่พระองค์ทรงแสดงความเกิดของมันไว้ในที่นั้นนั่นแหละ จึงตรัสคำว่า สา โข
ปเนสา
(ก็ตัณหานี้นั้นแล) เป็นต้น.
ในพระดำรัสนั้นมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บุรุษเห็นเถาบวบขมเกิดในนา แล้วพึงแสวงหารากไปตั้งแต่ยอดแล้วก็
ตัดเสีย บวบขมนั้นก็จะเหี่ยวแห้ง ถึงความไม่มีบัญญัติ แต่นั้น เถาบวบขม
ในนานั้น บุคคลก็พึงกล่าวได้ว่า อันตรธานไปแล้ว ถูกทำลายแล้ว ฉันใด
ตัณหาในอารมณ์ทั้งหลายมีจักษุเป็นต้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดุจเถาบวบขมในนา
ตัณหานั้นถูกอริยมรรคตัดรากแล้ว เพราะอาศัยพระนิพพานจึงถึงความเป็นไป
ไม่ได้ ก็ตัณหานั้นถึงความเป็นไปอย่างนี้ ก็ย่อมไม่ปรากฏในวัตถุที่ตั้งเหล่านั้น
ดุจเถาบวบขมในนาไม่ปรากฏอยู่ ฉะนั้น.
อนึ่ง พวกราชบุรุษนำพวกโจรมาจากดงแล้วพึงประหารชีวิตที่ประตู
ด้านทักษิณของพระนคร ต่อจากนั้น ใคร ๆ ก็พึงกล่าวว่า โจรในดงตายแล้ว
หรือโจรถูกราชบุรุษฆ่าแล้ว ฉันใด ตัณหาในจักษุเป็นต้น อันใดเป็นเหมือน
พวกโจรในดงก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดับไปแล้วเพราะอาศัยพระนิพพาน ชื่อว่า
ดับไปในพระนิพพาน ดุจพวกโจรถูกประหารที่ประตูด้านทักษิณ ก็ตัณหานั้น
ดับแล้วอย่างนี้ จึงไม่ปรากฏในวัตถุที่ตั้งเหล่านั้น ดุจพวกโจรไม่ปรากฏในดง
ฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความดับตัณหานั้นใน
ที่อารมณ์มีจักษุเป็นต้น เหล่านั้นนั่นแหละ จึงตรัสคำมีอาทิว่า จกฺขุํ โลเก
ปิยรูปํ สาตรูปํ เอตฺเถสา ตณฺหา ปหียมานา ปหียติ เอตฺถ

นิรุชฺฌมานา นิรุชฺฌติ ( จักษุเป็นปิยรูป สาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อจะละ
ย่อมละที่จักษุนี้ เมื่อจะดับย่อมดับที่จักษุนี้). คำที่เหลือในที่ทั้งหมดมีเนื้อความ
ตื้นทั้งนั้นแล.
กถาว่าด้วยนิเทศแห่งนิโรธสัจจะ จบ

วรรณนานิเทศวาร


ว่าด้วยมรรคสัจจะ

(บาลีข้อ 162)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งมรรคสัจจะ ต่อไป.
บทว่า อยเมว (นี้เท่านั้น) เป็นคำกำหนดแน่นอน เพื่อปฏิเสธ
มรรคอื่น. บทว่า อริโย (อริยะ) ความว่า ที่ชื่อว่า อริยะ เพราะไกล
จากกิเลสทั้งหลายที่ฆ่าด้วยมรรคนั้น ๆ เพราะทำความเป็นอริยะ และเพราะ
ทำการไดเฉพาะซึ่งอริยผล. องค์ 8 ของมรรคนั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น มรรคนั้น
จึงชื่อว่า อฏฺฐงฺคิโก (มีองค์ 8) องค์ 8 ของมรรคนี้นั้นเป็นเพียงองค์เท่านั้น
เหมือนเสนามีองค์ 4 และดนตรีมีองค์ 5 พ้นจากองค์มิได้มี. ที่ชื่อว่า มรรค
เพราะอรรถว่า อันผู้ต้องการพระนิพพานย่อมแสวงหา หรือย่อมแสวงหา
พระนิพพาน หรือเป็นสภาพฆ่ากิเลสทั้งหลายไป. ศัพท์ว่า เสยฺยถีทํ ความว่า
ถ้ามีผู้ถามว่า องค์มรรคนั้นเป็นไฉน ดังนี้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงว่า มรรค คือ องค์มรรค
นั่นเอง นอกจากองค์มรรคย่อมไม่มีจึงตรัสว่า สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ลมั มาสมาธิ
ดังนี้. บรรดาองค์มรรค 8 เหล่านั้น สัมมาทิฏฐิ สมฺมาทสฺสนลกฺขณา
มีปัญญาเห็นโดยชอบเป็นลักษณะ สัมมาสังกัปปะ สมฺมา อภินิโรปน-