เมนู

ในพระบาลีนั้น บทว่า ตสฺสาเยว (แห่งตัณหานั้นนั่นเทียว)
ความว่า สภาวะนั้นใดแห่งตัณหานั้นนั่นแหละที่พระองค์ทรงประกาศไว้ใน
หนหลัง ด้วยสามารถแห่งความเกิดและความตั้งมั่น.
บทว่า อเสสวิราคนิโรโธ (ความสำรอกและความดับโดยไม่เหลือ)
เป็นต้น ทั้งหมดเป็นไวพจน์ของพระนิพพานทั้งนั้น เพราะอาศัยพระนิพพาน
ตัณหาย่อมสำรอก ย่อมดับโดยไม่เหลือ ฉะนั้น พระนิพพานนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อเสสวิราคนิโรธ (ความสำรอกและความดับโดย
ไม่เหลือ) แห่งตัณหานั้นนั่นเทียว. และเพราะอาศัยพระนิพพานแล้ว บุคคล
จึงชนะตัณหาได้ ย่อมสละคืนได้ ย่อมพ้นได้และย่อมไม่ติดอยู่ ฉะนั้นจึงตรัส
เรียกพระนิพพานว่า จาโค (ความสละ) ปฏินิสฺสคฺโค (ความสละคืน)
มุตฺติ (ความพ้น) อนาลโย (ความไม่อาลัย).

ธรรมที่เป็นไวพจน์พระนิพพาน


ความจริง พระนิพพานมีอย่างเดียวเท่านั้น แต่พระนิพพานนั้น มีชื่อ
เรียกแทนพระนิพพานเป็นอเนก ด้วยสามารถแห่งชื่อที่เป็นปฏิปักษ์แห่งสังขต-
ธรรมทั้งหมด อย่างไร คือ ชื่อมีอาทิว่า
อเสสโต วิราโค (ความสำรอกโดยไม่เหลือ)
นิโรโธ (ความดับ)
จาโค (ความสละ)
ปฏินิสฺสคฺโค (ความสละคืน)
มุตฺติ (ความพ้น)