เมนู

หลักเสาไม้แก่น และดุจเสาค่ายทองคำ ย่อมสำคัญใจว่าโอฬารไม่เหมือนใจ
ของชนเหล่าอื่น ย่อสำคัญรูป ดุจสีทอง และสีดอกกรรณิการ์เป็นต้น ย่อม
สำคัญเสียง ดุจเสียงขันของนกการเวกและดุเหว่าที่กำลังเพลิน และเสียงกังวาน
ของขลุ่ยแก้วมณีที่เป่าเบา ๆ ย่อมสำคัญอารมณ์ คือกลิ่นเป็นต้นที่เกิดแต่สมุฏ-
ฐาน ที่ตนได้เฉพาะแล้วว่า คนอื่นใครเล่าจะมีอารมณ์เห็นปานนี้. เมื่อชน
เหล่านั้นสำคัญอยู่อย่างนี้ อายตนะเหล่านั้น มีจักษุเป็นต้นก็ย่อมเป็นปิยรูป
และสาตรูป เมื่อเป็นเช่นนั้น ตัณหาของชนเหล่านั้น ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นก็ย่อม
เกิดขึ้นในจักษุเป็นต้นนั้น และที่เกิดแล้วก็ย่อมตั้งมั่น ด้วยอำนาจที่เป็นไปบ่อยๆ
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงพระดำรัสมีอาทิว่า จกฺขุํ โลเก ปิยรูปํ
สาตรูปํ เอตฺเถสา ตณฺหา อุปฺปชฺชมานา อุปิปชฺชติ
จักษุเป็นปิยรูป-
สาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็ย่อมเกิดที่จักษุนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อุปปฺชฺชมานา (เมื่อเกิด) ความว่า เมื่อใด
ตัณหาย่อมเกิด เมื่อนั้นก็ย่อมเกิดในจักษุนี้. แม้ในบททั้งปวงก็นัยนี้แล.
กถาว่าด้วยนิเทศแห่งสมุทัยสัจจะ จบ

วรรณนานิเทศวาร


ว่าด้วยนิโรธสัจจะ

(บาลีข้อ 160)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศนิโรธสัจจะ ต่อไป.
ในข้อว่า โย ตสฺสาเยว ตณฺหาย (ความสำรอก....แห่งตัณหา
นั้นเทียว) ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าควรจะตรัสว่า โย ตสฺเสว

ทุกฺขสฺส (ความสำรอก...ทุกข์นั้นนั่นแหละ) ดังนี้ แต่เพราะทุกข์ดับไป
เพราะการดับสมุทัยมิใช่โดยประการอื่น เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
ยถา หิ มูเล อนุปทฺทเว ทฬฺเห
ฉินฺโนปิ รุกฺโข ปุนเรว รูหติ
เอวํปิ ตณฺหานุสเย อนุหเต
นิพฺพตฺตเต ทุกฺขมิทํ ปุนปฺปุนํ

เปรียบเหมือนต้นไม้แม้ถูกตัดแล้ว
เมื่อรากยังมั่นคง ไม่มีอุปัทวะ ก็ย่อมงอกขึ้น
อีกฉันใด แม้ทุกข์นี้ก็ฉันนั้น เมื่อตัณหานุสัย
ยังมิได้ถอนขึ้น ก็ย่อมขึ้นบ่อย ๆ.
ฉะนั้น เมื่อทรงแสดงการดับทุกข์นั้นจึงตรัสไว้อย่างนี้ เพื่อทรงแสดง
โดยความดับสมุทัย แท้จริง พระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงประพฤติเปรียบเสมือน
สีหราชพระตถาคตเจ้าทั้งหลายเมื่อทรงดับทุกข์ และเมื่อทรงแสดงความดับทุกข์
ย่อมปฏิบัติในเหตุ มิใช่ในผล แต่พวกอัญเดียรถีย์มีความประพฤติเปรียบด้วย
สุนัข พวกเขาเหล่านั้นเมื่อจะดับทุกข์ก็ดี เมื่อจะแสดงความดับทุกข์ก็ดี ย่อม
ปฏิบัติในผลโดยประกอบความเพียรในอันทำตนให้ลำบาก (อัตกิลมถานุโยค)
และด้วยการแสดงการประกอบความเพียรในอันทำตนให้ลำบากนั่นเอง ไม่
ปฏิบัติในเหตุแล.
พระศาสดาผู้ปฏิบัติอยู่ในเหตุ เพราะประพฤติเปรียบด้วยสีหะ จึงตรัส
พระดำรัสมีอาทิว่า โย ตสฺสา เยว ดังนี้.

ในพระบาลีนั้น บทว่า ตสฺสาเยว (แห่งตัณหานั้นนั่นเทียว)
ความว่า สภาวะนั้นใดแห่งตัณหานั้นนั่นแหละที่พระองค์ทรงประกาศไว้ใน
หนหลัง ด้วยสามารถแห่งความเกิดและความตั้งมั่น.
บทว่า อเสสวิราคนิโรโธ (ความสำรอกและความดับโดยไม่เหลือ)
เป็นต้น ทั้งหมดเป็นไวพจน์ของพระนิพพานทั้งนั้น เพราะอาศัยพระนิพพาน
ตัณหาย่อมสำรอก ย่อมดับโดยไม่เหลือ ฉะนั้น พระนิพพานนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อเสสวิราคนิโรธ (ความสำรอกและความดับโดย
ไม่เหลือ) แห่งตัณหานั้นนั่นเทียว. และเพราะอาศัยพระนิพพานแล้ว บุคคล
จึงชนะตัณหาได้ ย่อมสละคืนได้ ย่อมพ้นได้และย่อมไม่ติดอยู่ ฉะนั้นจึงตรัส
เรียกพระนิพพานว่า จาโค (ความสละ) ปฏินิสฺสคฺโค (ความสละคืน)
มุตฺติ (ความพ้น) อนาลโย (ความไม่อาลัย).

ธรรมที่เป็นไวพจน์พระนิพพาน


ความจริง พระนิพพานมีอย่างเดียวเท่านั้น แต่พระนิพพานนั้น มีชื่อ
เรียกแทนพระนิพพานเป็นอเนก ด้วยสามารถแห่งชื่อที่เป็นปฏิปักษ์แห่งสังขต-
ธรรมทั้งหมด อย่างไร คือ ชื่อมีอาทิว่า
อเสสโต วิราโค (ความสำรอกโดยไม่เหลือ)
นิโรโธ (ความดับ)
จาโค (ความสละ)
ปฏินิสฺสคฺโค (ความสละคืน)
มุตฺติ (ความพ้น)