เมนู

หลักเสาไม้แก่น และดุจเสาค่ายทองคำ ย่อมสำคัญใจว่าโอฬารไม่เหมือนใจ
ของชนเหล่าอื่น ย่อสำคัญรูป ดุจสีทอง และสีดอกกรรณิการ์เป็นต้น ย่อม
สำคัญเสียง ดุจเสียงขันของนกการเวกและดุเหว่าที่กำลังเพลิน และเสียงกังวาน
ของขลุ่ยแก้วมณีที่เป่าเบา ๆ ย่อมสำคัญอารมณ์ คือกลิ่นเป็นต้นที่เกิดแต่สมุฏ-
ฐาน ที่ตนได้เฉพาะแล้วว่า คนอื่นใครเล่าจะมีอารมณ์เห็นปานนี้. เมื่อชน
เหล่านั้นสำคัญอยู่อย่างนี้ อายตนะเหล่านั้น มีจักษุเป็นต้นก็ย่อมเป็นปิยรูป
และสาตรูป เมื่อเป็นเช่นนั้น ตัณหาของชนเหล่านั้น ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นก็ย่อม
เกิดขึ้นในจักษุเป็นต้นนั้น และที่เกิดแล้วก็ย่อมตั้งมั่น ด้วยอำนาจที่เป็นไปบ่อยๆ
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงพระดำรัสมีอาทิว่า จกฺขุํ โลเก ปิยรูปํ
สาตรูปํ เอตฺเถสา ตณฺหา อุปฺปชฺชมานา อุปิปชฺชติ
จักษุเป็นปิยรูป-
สาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็ย่อมเกิดที่จักษุนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อุปปฺชฺชมานา (เมื่อเกิด) ความว่า เมื่อใด
ตัณหาย่อมเกิด เมื่อนั้นก็ย่อมเกิดในจักษุนี้. แม้ในบททั้งปวงก็นัยนี้แล.
กถาว่าด้วยนิเทศแห่งสมุทัยสัจจะ จบ

วรรณนานิเทศวาร


ว่าด้วยนิโรธสัจจะ

(บาลีข้อ 160)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศนิโรธสัจจะ ต่อไป.
ในข้อว่า โย ตสฺสาเยว ตณฺหาย (ความสำรอก....แห่งตัณหา
นั้นเทียว) ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าควรจะตรัสว่า โย ตสฺเสว