เมนู

วรรณนานิเทศวาร


ว่าด้วยสมุทยสัจจะ

(บาลีข้อ 158)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศสมุทยสัจจะ ต่อไป
บทว่า ยายํ ตณฺหา ตัดบทเป็น ยา อยํ ตณฺหา แปลว่า
ตัณหา นี้ใด. บทว่า โปโนพฺภวิกา มีวิเคราะห์ว่า เหตุทำซึ่งภพใหม่
ชื่อว่า โปโนพฺภโว เหจุทำซึ่งภพใหม่เป็นปกติของตัณหานั้น มีอยู่ เพราะ
เหตุนั้น ตัณหานั้น จึงชื่อว่า โปโนพฺภวิกา (เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ๆ)
อีกอย่างหนึ่ง ตัณหาใด ย่อมให้ซึ่งภพใหม่ ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อภพใหม่
ย่อมเกิดในภพบ่อย ๆ เพราะเหตุนั้น ตัณหานั้น จึงชื่อว่า โปโนพฺภวิกา.
อนึ่ง ตัณหานั้นเป็นตัวให้ภพใหม่ก็มี ไม่ให้ภพใหม่ก็มี เป็นไปเพื่อ
ภพใหม่ก็มี ไม่เป็นไปเพื่อภพใหม่ก็มี แม้แต่ที่อำนวยอุปธิในปฏิสนธิที่ตัณหา
นั้นให้แล้ว. ตัณหานั้นเมื่อให้อยู่ซึ่งภพใหม่ก็ดี ไม่ให้ก็ดี เป็นไปเพื่อภพใหม่
ก็ดี ไม่เป็นไปเพื่อภพใหม่ก็ดี แม้แต่อำนวยอุปธิในปฏิสนธิที่ตนให้แล้วนั้น
ก็ได้ชื่อว่า โปโนพฺภวิกา เหมือนกัน.
ที่ชื่อว่า นันทิราคสหคตา (ประกอบด้วยความกำหนัดยินดี)
เพราะอรรถว่า ไปพร้อมกับนันทิราคะ กล่าวคือ ความยินดียิ่ง มีอธิบายว่า
โดยอรรถไปสู่ความเป็นอันเดียวกับนันทิราคะนั่นเอง. บทว่า ตตฺรตตฺรา-
ภินนฺทินี
เพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่ ความเป็นอัตตามีอยู่ในที่
ใด ๆ ก็มีความยินดียิ่งในที่นั้น ๆ หรือว่า มีความเพลิดเพลินในอารมณ์มีรูป
เป็นต้นนั้น ๆอธิบายว่า มีความเพลิดเพลินในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
และธรรมารมณ์.

ศัพท์ว่า เสยฺยถีทํ เป็นนิบาต เนื้อความแห่งศัพท์ว่า เสยฺยถีทํ
นั้นว่า หากมีคำถามว่า ตัณหานั้นเป็นไฉนดังนี้.
บทว่า กามตณฺหา มีวิเคราะห์ว่า ตัณหาในกาม ชื่อว่า กานตัณหา.
คำว่า กามตัณหานี้เป็นชื่อของราคะอันประกอบด้วยกามคุณ 5. ตัณหาในภพ
ชื่อว่า ภวตัณหา. คำว่าภวตัณหานี้เป็นชื่อของราคะ (ความยินดี) ในรูป
ภพ อรูปภพและความพอใจในฌาน ที่สหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิซึ่งเกิดขึ้นแล้ว
ด้วยอำนาจปรารถนาภพ. ตัณหาในวิภพ ชื่อว่า วิภวตัณหา. คำว่า วิภว-
ตัณหานี้เป็นชื่อของราคะสหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงวัตถุที่ตั้ง แห่งตัณหานั้น
โดยพิสดาร จึงตรัสคำเป็นต้น ว่า สา โข ปเนสา (ก็ตัณหานี้นั้นแล).
ในพระบาลีนั้น บทว่า อุปฺปชฺชติ แปลว่าย่อมเกิด. บทว่า นิวีสติ (ย่อม
ตั้งอยู่) ได้แก่ ย่อมตั้งมั่นด้วยอำนาจความเป็นไปบ่อย ๆ. คำว่า ยํ โลเก
ปิยรูปํ สาตรูปํ
(ปิยรูป สาตรูปใด มีอยู่ในโลก) ความว่า สิ่งใดเป็นสภาพ
น่ารัก และเป็นสภาพอ่อนหวานในโลก.
พึงทราบวินิจฉัยในคำมีอาทิว่า จกฺขํ โลเก จักษุเป็นปิยรูปสาตรูป
ในโลก ต่อไป จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายผู้ยึดมั่นในจักษุเป็นต้นโดยความถือตัวของ
เราในโลก ตั้งมั่นในสมบัติ ย่อมสำคัญจักษุของตน (เป็นต้น ) ว่าเป็นประสาท
5 ที่ผ่องใส โดยทำนองการถือเอานิมิตให้กระจกเงาเป็นต้น ดุจสีหบัญชรแก้ว
มณีที่เผยออกในวิมานทอง ย่อมสำคัญโสตเป็นดุจหลอดเงินและดังสายสังวาล
ย่อมสำคัญฆานะมีโวหารอันได้แล้วว่า มีจมูกโด่ง ดุจเกลียวหรดาลกลมตั้งอยู่
ย่อมสำคัญชิวหาอันอ่อนให้รสอันละเอียดดุจผ้ากัมพลแดง ย่อมสำคัญกาย ดุจ

หลักเสาไม้แก่น และดุจเสาค่ายทองคำ ย่อมสำคัญใจว่าโอฬารไม่เหมือนใจ
ของชนเหล่าอื่น ย่อสำคัญรูป ดุจสีทอง และสีดอกกรรณิการ์เป็นต้น ย่อม
สำคัญเสียง ดุจเสียงขันของนกการเวกและดุเหว่าที่กำลังเพลิน และเสียงกังวาน
ของขลุ่ยแก้วมณีที่เป่าเบา ๆ ย่อมสำคัญอารมณ์ คือกลิ่นเป็นต้นที่เกิดแต่สมุฏ-
ฐาน ที่ตนได้เฉพาะแล้วว่า คนอื่นใครเล่าจะมีอารมณ์เห็นปานนี้. เมื่อชน
เหล่านั้นสำคัญอยู่อย่างนี้ อายตนะเหล่านั้น มีจักษุเป็นต้นก็ย่อมเป็นปิยรูป
และสาตรูป เมื่อเป็นเช่นนั้น ตัณหาของชนเหล่านั้น ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นก็ย่อม
เกิดขึ้นในจักษุเป็นต้นนั้น และที่เกิดแล้วก็ย่อมตั้งมั่น ด้วยอำนาจที่เป็นไปบ่อยๆ
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงพระดำรัสมีอาทิว่า จกฺขุํ โลเก ปิยรูปํ
สาตรูปํ เอตฺเถสา ตณฺหา อุปฺปชฺชมานา อุปิปชฺชติ
จักษุเป็นปิยรูป-
สาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็ย่อมเกิดที่จักษุนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อุปปฺชฺชมานา (เมื่อเกิด) ความว่า เมื่อใด
ตัณหาย่อมเกิด เมื่อนั้นก็ย่อมเกิดในจักษุนี้. แม้ในบททั้งปวงก็นัยนี้แล.
กถาว่าด้วยนิเทศแห่งสมุทัยสัจจะ จบ

วรรณนานิเทศวาร


ว่าด้วยนิโรธสัจจะ

(บาลีข้อ 160)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศนิโรธสัจจะ ต่อไป.
ในข้อว่า โย ตสฺสาเยว ตณฺหาย (ความสำรอก....แห่งตัณหา
นั้นเทียว) ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าควรจะตรัสว่า โย ตสฺเสว