เมนู

วรรณนานิเทศวาร


ว่าด้วยสมุทยสัจจะ

(บาลีข้อ 158)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศสมุทยสัจจะ ต่อไป
บทว่า ยายํ ตณฺหา ตัดบทเป็น ยา อยํ ตณฺหา แปลว่า
ตัณหา นี้ใด. บทว่า โปโนพฺภวิกา มีวิเคราะห์ว่า เหตุทำซึ่งภพใหม่
ชื่อว่า โปโนพฺภโว เหจุทำซึ่งภพใหม่เป็นปกติของตัณหานั้น มีอยู่ เพราะ
เหตุนั้น ตัณหานั้น จึงชื่อว่า โปโนพฺภวิกา (เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ๆ)
อีกอย่างหนึ่ง ตัณหาใด ย่อมให้ซึ่งภพใหม่ ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อภพใหม่
ย่อมเกิดในภพบ่อย ๆ เพราะเหตุนั้น ตัณหานั้น จึงชื่อว่า โปโนพฺภวิกา.
อนึ่ง ตัณหานั้นเป็นตัวให้ภพใหม่ก็มี ไม่ให้ภพใหม่ก็มี เป็นไปเพื่อ
ภพใหม่ก็มี ไม่เป็นไปเพื่อภพใหม่ก็มี แม้แต่ที่อำนวยอุปธิในปฏิสนธิที่ตัณหา
นั้นให้แล้ว. ตัณหานั้นเมื่อให้อยู่ซึ่งภพใหม่ก็ดี ไม่ให้ก็ดี เป็นไปเพื่อภพใหม่
ก็ดี ไม่เป็นไปเพื่อภพใหม่ก็ดี แม้แต่อำนวยอุปธิในปฏิสนธิที่ตนให้แล้วนั้น
ก็ได้ชื่อว่า โปโนพฺภวิกา เหมือนกัน.
ที่ชื่อว่า นันทิราคสหคตา (ประกอบด้วยความกำหนัดยินดี)
เพราะอรรถว่า ไปพร้อมกับนันทิราคะ กล่าวคือ ความยินดียิ่ง มีอธิบายว่า
โดยอรรถไปสู่ความเป็นอันเดียวกับนันทิราคะนั่นเอง. บทว่า ตตฺรตตฺรา-
ภินนฺทินี
เพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่ ความเป็นอัตตามีอยู่ในที่
ใด ๆ ก็มีความยินดียิ่งในที่นั้น ๆ หรือว่า มีความเพลิดเพลินในอารมณ์มีรูป
เป็นต้นนั้น ๆอธิบายว่า มีความเพลิดเพลินในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
และธรรมารมณ์.