เมนู

จึงตรัสแล้วอย่างนี้. ศัพท์ว่า เสยฺยถีทํ เป็นนิบาต เนื้อความแห่งนิบาตนั้น
มีอธิบายว่า หากว่า มีผู้ถามว่า อุปาทานขันธ์ 5 เหล่านั้น เป็นไฉนดังนี้.
เนื้อความแห่งบทว่า รุปูปาทานกฺขนฺโธ (รูปูปาทานขันธ์) เป็นต้น ข้าพเจ้า
พรรณนาไว้แล้วในขันธวิภังค์แล.

พึงทราบอรรถแห่งขันธ์ทั้งหลายเป็นทุกข์


อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า พึงทราบอรรถแห่งขันธ์ ทั้ง
หลายว่าเป็นทุกข์ นี้ ต่อไป
ชาติปฺปภูติกํ ทุกฺขํ ยํ วุตฺตํ อิธ ตาทินา
อวุตฺตํ ยญฺจ ตํ สพฺพํ วินา เอเต น วิชฺชติ
ยสฺมา ตสฺมา อุปาทาน กฺขนฺธา สํเขปโต อิเม
ทกฺขาติ วุตฺตา ทุกฺขนฺเต เทสเกน มเหสินา

เพราะทุกข์มีชาติเป็นแดนเกิดอันใด
อันพระพุทธเจ้าผู้คงที่ตรัสไว้ในโลกนี้ และ
ทุกข์ใดที่มิได้ตรัสไว้ ทุกข์นั้นทั้งหมดเว้น
อุปาทานขันธ์ 5 แล้ว ย่อมไม่มี ฉะนั้น พระ-
มหาฤาษีพุทธเจ้า ผู้ทรงแสดงซึ่งที่สุดแห่ง
ทุกข์ จึงตรัสว่า โดยย่ออุปาทานขันธ์ 5 นี้
เป็นทุกข์แล.

จริงอย่างนั้น ชาติเป็นต้นเบียดเบียนอยู่ซึ่งอุปาทานขันธ์ 5 นั้นแหละ
โดยประการต่าง ๆ เหมือนไฟป่าเบียดเบียนเชื้อไฟ เหมือนเครื่องประหารเบียด
เบียนเป้า เหมือนเหลือบและยุงเป็นต้นเบียดเบียนโค เหมือนผู้เก็บเกี่ยวเบียด

เบียนนา เหมือนโจรปล้น เบียดเบียนหมู่บ้าน ย่อมเกิดขึ้นในอุปาทาน-
ขันธ์ 5 นั่นเอง เหมือนหญ้าและเถาวัลย์เป็นต้นย่อมเกิดขึ้นในพื้นดิน ดุจ
ดอกไม้ ผลไม้และใบอ่อนเป็นต้นเกิดที่ต้นไม้ ฉะนั้น.
อนึ่ง ทุกข์ที่เป็นเบื้องต้นแห่งอุปาทานขันธ์ คือ ชาติ ทุกข์ในท่าม
กลาง คือ ชรา ทุกข์ในที่สุด คือ มรณะ. เพราะกระทบทุกข์มีความตาย
เป็นที่สุด จึงมีทุกข์แผดเผา คือ โสกะ. เพราะการอดกลั้นความโศกนั้นไม่ได้
มีทุกข์เป็นเหตุพูดรำพัน คือ ปริเทวะ. จากนั้นก็มีทุกข์เป็นทุกข์เบียดเบียน-
กาย เพราะประกอบกับโผฏฐัพพะ (กระทบ ) กับอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา
คือ ธาตุกำเริบ. เพราะปุถุชน ผู้ถูกทุกข์กายนั้นเบียดเบียนอยู่โดยเกิดปฏิฆะ
ในอุปาทานขันธ์นั้น ก็เกิดทุกข์ที่เบียดเบียนทางใจ คือ โทมนัส. ทุกข์มี
การทอดถอนใจของบุคคลผู้เศร้าหมองอันเกิดแต่ความเจริญของโสกะเป็นต้น
คือ อุปายาส. ทุกข์พลาดหวัง ของบุคคลผู้พลัดจากมโนรถ คือ การ ไม่ได้
สิ่งที่ตนปรารถนา. อุปาทานขันธ์ที่บุคคลมีปัญญาเข้าไปพิจารณาอยู่ โดยประ-
การต่าง ๆ เทียว ด้วยประการฉะนี้ ชื่อว่า เป็นทุกข์แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงย่อทุกข์ที่ตรัสแสดงไว้แต่ละอย่าง
ซึ่งใคร ๆ ไม่สามารถแสดงโดยไม่เหลือด้วยกัปเป็นอเนกนั้นแม้ทั้งหมด ใน
อุปาทานขันธ์ 5 อย่างใดอย่างหนึ่ง ดุจทรงย่อรสน้ำในสมุทรทั้งสิ้นมาแสดง
ในน้ำหยดเดียว (มีรสเค็ม ) จึงได้ตรัสว่า สํขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา
ทุกฺขา
โดยย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์.
กถาว่าด้วยนิเทศแห่งทุกขสัจจะ จบ

วรรณนานิเทศวาร


ว่าด้วยสมุทยสัจจะ

(บาลีข้อ 158)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศสมุทยสัจจะ ต่อไป
บทว่า ยายํ ตณฺหา ตัดบทเป็น ยา อยํ ตณฺหา แปลว่า
ตัณหา นี้ใด. บทว่า โปโนพฺภวิกา มีวิเคราะห์ว่า เหตุทำซึ่งภพใหม่
ชื่อว่า โปโนพฺภโว เหจุทำซึ่งภพใหม่เป็นปกติของตัณหานั้น มีอยู่ เพราะ
เหตุนั้น ตัณหานั้น จึงชื่อว่า โปโนพฺภวิกา (เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ๆ)
อีกอย่างหนึ่ง ตัณหาใด ย่อมให้ซึ่งภพใหม่ ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อภพใหม่
ย่อมเกิดในภพบ่อย ๆ เพราะเหตุนั้น ตัณหานั้น จึงชื่อว่า โปโนพฺภวิกา.
อนึ่ง ตัณหานั้นเป็นตัวให้ภพใหม่ก็มี ไม่ให้ภพใหม่ก็มี เป็นไปเพื่อ
ภพใหม่ก็มี ไม่เป็นไปเพื่อภพใหม่ก็มี แม้แต่ที่อำนวยอุปธิในปฏิสนธิที่ตัณหา
นั้นให้แล้ว. ตัณหานั้นเมื่อให้อยู่ซึ่งภพใหม่ก็ดี ไม่ให้ก็ดี เป็นไปเพื่อภพใหม่
ก็ดี ไม่เป็นไปเพื่อภพใหม่ก็ดี แม้แต่อำนวยอุปธิในปฏิสนธิที่ตนให้แล้วนั้น
ก็ได้ชื่อว่า โปโนพฺภวิกา เหมือนกัน.
ที่ชื่อว่า นันทิราคสหคตา (ประกอบด้วยความกำหนัดยินดี)
เพราะอรรถว่า ไปพร้อมกับนันทิราคะ กล่าวคือ ความยินดียิ่ง มีอธิบายว่า
โดยอรรถไปสู่ความเป็นอันเดียวกับนันทิราคะนั่นเอง. บทว่า ตตฺรตตฺรา-
ภินนฺทินี
เพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่ ความเป็นอัตตามีอยู่ในที่
ใด ๆ ก็มีความยินดียิ่งในที่นั้น ๆ หรือว่า มีความเพลิดเพลินในอารมณ์มีรูป
เป็นต้นนั้น ๆอธิบายว่า มีความเพลิดเพลินในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
และธรรมารมณ์.