เมนู

ว่าด้วยนิเทศอุปายาส

(บาลีข้อ 153)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศอุปายาส ต่อไป
ที่ชื่อว่า อายาสะ (ความแค้น) ด้วยอรรถว่าลำบาก คำว่าอายาสะ
นี้เป็นชื่อของความลำบากจิตที่เป็นไปโดยอาการตกใจและเศร้าใจ ความแค้นใจ
อย่างแรง ชื่อว่า อุปายาส (ความขุ่นแค้น ). ภาวะแห่งบุคคลผู้แค้นใจ
ชื่อว่า อายาสิตตฺตํ ( ภาพแค้น ) ภาวะแห่งบุคคลผู้ขุ่นแค้น ชื่อว่า อุปายา-
สิตตฺตํ
(สภาพขุ่นแค้น).
คำว่า อยํ วุจฺจติ อูปายาโส (นี้เรียกอุปายาส) ความว่า นี้เรา
เรียกชื่อว่า อุปายาส. ก็อุปายาสนี้นั้น พฺยาสตฺติลกฺขโณ มีการติดในอารมณ์
ต่าง ๆ เป็นลักษณะ นิตฺถุนนรโส มีการทอดถอนใจเป็นกิจ วิสาทปจฺ-
จุปฏฺฐาโน
มีความเศร้าใจเป็นปัจจุปัฏฐาน*.

พึงทราบอรรถแห่งอุปายาสเป็นทุกข์


อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า พึงทราบอรรถแห่งอุปายาสเป็น
ทุกข์ นี้ต่อไป อุปายาสแม้นี้ตัวเองไม่เป็นทุกข์ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
เป็นทุกข์ ดังนี้ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์แม้ทั้ง 2.
จริงอยู่ เมื่อบุคคล ถูกพระราชากริ้ว ถอดยศมีบุตรและพี่ชายน้องชาย
ถูกประหารตัวเองเล่าก็ถูกสั่งฆ่าก็จะเข้าไปสู่ดงเพราะความกลัวหลบหลีกแล้ว ถึง
ความเป็นผู้เศร้าใจอย่างใหญ่หลวง ย่อมเกิดทุกข์กายมีกำลัง เพราะยืนเป็นทุกข์
นอนเป็นทุกข์ นั่งเป็นทุกข์. เมื่อคิดอยู่ว่า พวกญาติของเราเท่านี้ โภคทรัพย์
เท่านี้ ฉิบหายแล้ว ดังนี้ โทมนัสมีกำลังก็ย่อมเกิดขึ้น.
* หทยวตฺถุปทฏฺฐาโน มีหทยวัตถุเป็นปทัฏฐาน (ไม่กล่าวไว้ในที่นี้)

พึงทราบอุปายาสว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์เหล่านี้แม้ทั้ง
2 ด้วยประการฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง
อุปายาส ย่อมยังทุกข์มีประมาณยิ่ง
อันใด ให้เกิดขึ้น เพราะการเผาจิต และทำ
กายให้เศร้าหมอง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
อุปายาสว่าทุกข์ เพราะทุกข์นั้นแล.


ว่าด้วยการเปรียบทุกข์ 3 อย่าง


อนึ่ง บรรดาทุกข์ 3 อย่างมีโสกะเป็นต้นเหล่านี้ โสกะ พึงเห็น
เหมือนการหุงน้ำมันเป็นต้น ในภายในภาชนะเท่านั้น ด้วยไฟอ่อน. พึงเห็น
ปริเทวะ เหมือนการล้นออกข้างนอกภาชนะของน้ำมันที่หุงอยู่ ด้วยไฟแรง.
พึงเห็น อุปายาส เหมือนการเคี้ยวจนแห้งในภายในภาชนะนั้นนั่นแหละ
ของน้ำมันเป็นต้น ซึ่งเหลือจากการล้นไปข้างนอกไม่พอที่จะล้นไปได้.

ว่าด้วยนิเทศอัปปิยสัมปโยคทุกข์

(บาลีข้อ 154 )
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศอัปปิยสัมปโยคทุกข์ ต่อไป
บทว่า ยสฺส ตัดบทเป็น เย อสฺส (แปลว่า อันใด...ของ).
บทว่า อนิฏฺฐา (อันไม่เป็นที่ปรารถนา) ได้แก่ ที่เขาไม่แสวงหา คือว่า
ที่เขาแสวงหา หรือไม่แสวงหาก็ตาม. อนึ่ง บทว่า อนิฏฺฐา นี้ เป็นชื่อของ
อารมณ์ที่ไม่ชอบใจอันไม่พึงแสวงหา.