เมนู

พึงทราบปริเทวะว่าเป็นทุกข์โดยความเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์ทั้ง 2 แม้
เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.
อีกนัยหนึ่ง
ยํ โสกสลฺลวิหโต ปริเทวมาโน
กณฺโฐฏฺฐตาลุตลโสสชมปฺปสยหํ
ภิยฺโยธิมตฺตมธิคจฺฉติเยว ทุกฺขํ
ทุกฺโขติ เตน ภควา ปริเทวมาห

บุคคล ผู้ถูกลูกศรคือความโศกเสียด
แทงแล้ว คร่ำครวญอยู่ ย่อมประสบทุกข์ใด
ซึ่งทนไม่ได้ อันเกิดแต่แห้งที่คอริมฝีปาก
พื้นเพดานอย่างยิ่งเหลือประมาณ ด้วยทุกข์
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสปริเทวะคือ
ความคร่ำครวญว่าเป็นทุกข์แล.

นิเทศแห่งทุกข์และโทมนัส (บาลีข้อ 151 - 152) ปรากฏชัดแล้ว
เพราะข้าพเจ้าพรรณนาไว้ในอรรถกถาธรรมสังคหะ (อรรถกถาอรรถสาลีนี)
ในหนหลังนั่นแล. และหมวดธรรม 4 มีลักษณะเป็นต้นของทุกข์และโทมนัส
เหล่านั้น ข้าพเจ้าก็ได้กล่าวไว้ในที่นั้นเหมือนกัน.

พึงทราบอรรถกถาแห่งทุกข์เป็นทุกข์เป็นต้น


อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในข้อนี้ว่า พึงทราบอรรถแห่งทุกข์ว่าเป็นทุกข์
และพึงทราบอรรถแห่งโทมนัสว่าเป็นทุกข์ต่อไป ทุกข์และโทมนัสแม้ทั้ง 2 นี้
พระผู้มีพระเจ้าตรัสว่าเป็นทุกข์ เพราะตัวเองเป็นทุกข์ด้วย เป็นวัตถุที่ตั้ง

แห่งทุกข์ทางกายและทางจิตด้วย. จริงอยู่ เมื่อบุคคลประสบทุกข์ โดยทุกข์คือ
การถูกตัดมือตัดเท้า และตัดหูตัดจมูกซึ่งนอนวางกระเบื้องเก่าไว้ข้างหน้าขอ
อาหารในศาลาของคนอนาถา เมื่อมีหมู่หนอนออกจากแผลทั้งหลาย ทุกข์กาย
เหลือกำลังย่อมเกิดขึ้น โทมนัสรุนแรงก็ย่อมเกิด เพราะเห็นมหาชนผู้มีเสื้อผ้า
ย้อมด้วยสีต่าง ๆ ประดับได้ตามชอบใจเล่นงานักกษัตรอยู่.
พึงทราบความที่ทุกข์เป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์แม้ทั้ง 2 อย่างนี้ก่อน.
อีกอย่างหนึ่ง
เพราะทุกข์ทางกายนี้ ย่อมบีบคั้น
และย่อมให้เกิดทุกข์ทางใจอย่างยิ่ง ฉะนั้น
คำว่า เป็นทุกข์ จึงมีโดยความต่างกัน.

อนึ่ง บุคคลผู้เพรียบด้วยทุกข์ทางใจ ย่ดมสยายผม ย่อมขยี้อก
ย่อมกลิ้งเกลือกไปมา ย่อมโดดเหว ย่อมนำศัสตรามา ย่อมเคี้ยวยาพิษ ย่อม
เอาเชือกแควนคอ ย่อมเข้าไปสู่กองไฟ เป็นผู้มีความเดือดร้อน โดยประการ
นั้น ๆ เป็นผู้มีจิตรุ่มร้อนอยู่ ย่อมคิดถึงเรื่องวิปริตนั้น ๆ.
พึงทราบความที่โทมนัสเป็นวัตถุที่ตั้งของทุกข์ทั้ง 2 ด้วยประการฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง
เพราะโทมนัส ย่อมบีบคั้นจิต และ
ย่อมนำความบีบคั้นมาแก่ร่างกาย ฉะนั้น
บัณฑิตทั้งหลายจึงกล่าวแม้โทมนัสว่าเป็น
ทุกข์ เพราะความเสียใจนั้นแล.

ว่าด้วยนิเทศอุปายาส

(บาลีข้อ 153)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศอุปายาส ต่อไป
ที่ชื่อว่า อายาสะ (ความแค้น) ด้วยอรรถว่าลำบาก คำว่าอายาสะ
นี้เป็นชื่อของความลำบากจิตที่เป็นไปโดยอาการตกใจและเศร้าใจ ความแค้นใจ
อย่างแรง ชื่อว่า อุปายาส (ความขุ่นแค้น ). ภาวะแห่งบุคคลผู้แค้นใจ
ชื่อว่า อายาสิตตฺตํ ( ภาพแค้น ) ภาวะแห่งบุคคลผู้ขุ่นแค้น ชื่อว่า อุปายา-
สิตตฺตํ
(สภาพขุ่นแค้น).
คำว่า อยํ วุจฺจติ อูปายาโส (นี้เรียกอุปายาส) ความว่า นี้เรา
เรียกชื่อว่า อุปายาส. ก็อุปายาสนี้นั้น พฺยาสตฺติลกฺขโณ มีการติดในอารมณ์
ต่าง ๆ เป็นลักษณะ นิตฺถุนนรโส มีการทอดถอนใจเป็นกิจ วิสาทปจฺ-
จุปฏฺฐาโน
มีความเศร้าใจเป็นปัจจุปัฏฐาน*.

พึงทราบอรรถแห่งอุปายาสเป็นทุกข์


อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า พึงทราบอรรถแห่งอุปายาสเป็น
ทุกข์ นี้ต่อไป อุปายาสแม้นี้ตัวเองไม่เป็นทุกข์ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
เป็นทุกข์ ดังนี้ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์แม้ทั้ง 2.
จริงอยู่ เมื่อบุคคล ถูกพระราชากริ้ว ถอดยศมีบุตรและพี่ชายน้องชาย
ถูกประหารตัวเองเล่าก็ถูกสั่งฆ่าก็จะเข้าไปสู่ดงเพราะความกลัวหลบหลีกแล้ว ถึง
ความเป็นผู้เศร้าใจอย่างใหญ่หลวง ย่อมเกิดทุกข์กายมีกำลัง เพราะยืนเป็นทุกข์
นอนเป็นทุกข์ นั่งเป็นทุกข์. เมื่อคิดอยู่ว่า พวกญาติของเราเท่านี้ โภคทรัพย์
เท่านี้ ฉิบหายแล้ว ดังนี้ โทมนัสมีกำลังก็ย่อมเกิดขึ้น.
* หทยวตฺถุปทฏฺฐาโน มีหทยวัตถุเป็นปทัฏฐาน (ไม่กล่าวไว้ในที่นี้)