เมนู

ของขันธ์ที่จุติ. บทว่า อนฺตรธานํ (ความหายไป) เป็นบทอธิบายความไม่มี
ฐานะโดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่งของจุติขันธ์ที่แตกทำลาย ดุจหม้อที่แตกไป
ฉะนั้น. บทว่า มจฺจุมรณํ แปลว่า มฤตยูคือความตาย มัจจุผู้กระทำซึ่งที่สุด
ชื่อว่า กาละ การกระทำของกาละนั้น ชื่อว่า กาลกิริยา (ความทำกาละ).
มรณะโดยสมมติ เป็นคำอันข้าพเจ้าแสดงแล้วเพียงเท่านี้.

ว่าด้วยนิเทศแห่งมรณะโดยปรมัตถ์


บัดนี้ เพื่อกำหนดมรณะโดยปรมัตถ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ขนฺธานํ เภโท (ความแตกแห่งขันธ์) เป็นต้น .
จริงอยู่ ว่าโดยปรมัตถ์ ขันธ์ทั้งหลายเท่านั้นย่อมแตกไป ขึ้นชื่อว่า
สัตว์ไร ๆ ย่อมตายหามีไม่ แต่เมื่อขันธ์ทั้งหลายกำลังแตก สัตว์ก็ย่อมมีโวหาร
ว่ากำลังตาย เมื่อขันธ์แตกแล้ว ก็มีโวหารว่า สัตว์ตายแล้ว ก็ในอธิการนี้
ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจจตุโวการภพ และปัญจโวการภพ.
ความทอดทิ้งกเฬวระ (ซากศพ) ด้วยอำนาจเอกโวการภพ. อีกอย่างหนึ่ง
ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ย่อมมีด้วยอำนาจขันธ์ 4 (จตุโวการภพ) พึงทราบ
ความทอดทิ้งซากศพไว้ ด้วยอำนาจบททั้ง 2 ที่เหลือ เพราะเหตุไร ? เพราะ
การเกิดแห่งกเฬวระ กล่าวคือรูปกาย ย่อมมีในภพแม้ทั้ง 2 อีกอย่างหนึ่ง
เพราะขันธ์ทั้งหลายในจาตุมหาราชิกาเป็นต้นย่อมแตกไปอย่างเดียว ไม่มีอะไร ๆ
ต้องทอดทิ้ง ฉะนั้น ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ย่อมมีด้วยอำนาจแห่งขันธ์
ในจาตุมหาราชิกาเป็นต้นเหล่านั้น ความทอดทิ้งซากศพ ย่อมมีในพวกมนุษย์
เป็นต้น. ก็ในนิเทศนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ความตายโดยเหตุแห่งการ
ทอดทิ้งร่างกายว่า การทิ้งซากศพ ดังนี้.

ด้วยบทว่า ชีวิตินฺทฺริยสฺส อุปจฺเฉโท (ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์)
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงว่า ขึ้นชื่อว่า ความตายของขันธ์ที่เนื่องด้วย
อินทรีย์เท่านั้น มีอยู่ ขึ้นชื่อว่า ความตายของขันธ์ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์หามีไม่
แค่คำว่า ข้าวกล้าตาย ต้นไม้ตาย นี้ เป็นเพียงโวหารเท่านั้น แต่เมื่อว่า
โดยอรรถแล้ว คำพูดเช่นนี้ย่อมแสดงถึงความที่สรรพสิ่งทั้งหลายมีข้าวกล้าเป็น
ต้นเป็นของสิ้นไปเสื่อมไปนั่นเอง.
คำว่า อิทํ วุจฺจจิ มรณํ (นี้เรียกว่ามรณะ) ความว่า แม้ทั้งหมดนี้
เราก็ให้ชื่อว่า มรณะ.
อีกอย่างหนึ่ง ในคำว่า มรณะ นี้ พึงทราบประเภทแม้นี้ คือ
ขณิกมรณะ (ตายทุกขณะ)
สมมติมรณะ (ตายโดยสมมติ)
สมุจเฉทมรณะ (ตายโดยตัดขาด).
บรรดามรณะเหล่านั้น ความแตกแห่งรูปธรรมและอรูปธรรมใน
ประวัติกาล ชื่อว่า ขณิกมรณะ. ความตายนี้ว่า ท่านติสสะตาย ท่านปุสสะตาย
เป็นต้น ชื่อว่า สมมติมรณะ. การทำกาละของพระขีณาสพไม่มีปฏิสนธิ ชื่อว่า
สมุจเฉทมรณะ. แต่ในนิเทศนี้ พระองค์ประสงค์เอาสมมติมรณะ แม้คำว่า
ความตายเพราะความเกิดเป็นปัจจัย ความตายด้วยความพยายาม ความตาย
โดยหน้าที่ ความตายเพราะสิ้นอายุ ดังนี้ ก็เป็นชื่อความตายโดยสมมตินั่นเอง.
ความตายโดยสมมตินี้นั้น จุติลกฺขณํ มีการเคลื่อนจากภพเป็น
ลักษณะ วิโยครสํ มีการพรากไปเป็นกิจ วิปฺปวาสปจฺจุปฏฺฐานํ มีการ
ปราศจากภพเก่าเป็นปัจจุปัฏฐาน.

พึงทราบอรรถแห่งมรณะเป็นทุกข์


อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในคำนี้ว่า พึงทราบอรรถแห่งมรณะเป็น
ทุกข์
ต่อไป. แม้มรณะนี้ตัวเองก็ไม่เป็นทุกข์ แต่พระองค์ตรัสว่า ชื่อว่า
เป็นทุกข์ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์ เพราะเวทนามีในสรีระแม้เกิดในที่สุด
แห่งความตายจะเผาสรีระ เหมือนคบหญ้าติดไฟที่ถือไว้ทวนลม ในเวลาที่นิมิต
แห่งนรกเป็นต้นปรากฏ โทมนัสรุนแรงย่อมเกิดขึ้น.
พึงทราบมรณะว่าเป็นทุกข์ โดยเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์แม้ทั้ง 2 นี้
ด้วยประการฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง
เพราะความตายนี้ เป็นวัตถุที่ตั้งแห่ง
ทุกข์ใจ ของคนใกล้ตายที่เป็นคนลามกซึ่ง
เห็นนิมิต มีกรรมอันลามกเป็นต้นอยู่โดย
ลำดับ สำหรับคนดี ผู้ไม่สามารถข่มความ
พลัดพรากจากวัตถุอันเป็นที่รัก (คือสัตว์และ
สังขารอันเป็นที่รักใคร่) ได้ แม้ทุกข์ซึ่งเกิด
ในสรีระมีโรคลมอันตัดข้อต่อ และเส้นเอ็น
เป็นต้น ซึ่งข่มไม่ได้ แก้ไขไม่ได้ ที่มีแก่
เหล่าสัตว์ทั้งปวงที่กำลังถูกโรคเสียดแทงเป็น
ธรรมดา โดยไม่แปลกกันนี้ ฉะนั้น มรณะนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นทุกข์
เหมือนกัน.