เมนู

จริงอยู่ อัตภาพของคนชราแล้วย่อมทุรพล เหมือนเกวียนเก่าคร่ำคร่า
เมื่อเขาพยายามเพื่อจะยืน หรือเดิน หรือนั่ง ย่อมเกิดทุกข์ทางกายอย่างรุนแรง
เมื่อบุตรและภรรยาไม่ค่อยสนใจเหมือนแต่ก่อนก็เกิดโทมนัส พึงทราบชรา
เป็นทุกข์ โดยความเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ทั้งสองด้วยประการฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง (ท่านประพันธ์เป็นคาถาไวัว่า)
อนึ่ง สัตว์ย่อมถึงทุกข์ใด ทั้งทางกาย
และทางใจ เพราะความที่อวัยวะหย่อนยาน
เพราะความพิการแห่งอินทรีย์ เพรระความ
พินาศแห่งความหนุ่นสาว เพราะกําลังถูก
บั่นทอน เพราะปราศจากคุณมีสติเป็นต้น
และบุตรภรรยาของตนไม่เลื่อมใส และถึง
ความเป็นคนพาลอย่างยิ่ง ทุกข์ทั้งหมดนี้ มี
ชราเป็นเหตุ เพราะฉะนั้น ชราจึงเป็นทุกข์
แล.


ว่าด้วยนิเทศมรณะโดยสมมติ


พึงทรานวินิจฉัยในนิเทศมรณะ ต่อไป
ที่ชื่อว่า จุติ ด้วยอำนาจแห่งสัตว์ผู้เคลื่อน (จากภพ) คำว่าจุตินี้
เป็นคำพูดธรรมดาของจุติที่เป็นขันฐ์ 1 ขันธ์ 4 และขันธ์ 5.
บทว่า จวนตา (ภาวะที่เคลื่อน) เป็นบทแสดงไขถึงลักษณะโดยกล่าว
ภาวะ บทว่า เภโท (ความทำลาย) เป็นบทอธิบายความเกิดขึ้นแห่งภังคะ

ของขันธ์ที่จุติ. บทว่า อนฺตรธานํ (ความหายไป) เป็นบทอธิบายความไม่มี
ฐานะโดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่งของจุติขันธ์ที่แตกทำลาย ดุจหม้อที่แตกไป
ฉะนั้น. บทว่า มจฺจุมรณํ แปลว่า มฤตยูคือความตาย มัจจุผู้กระทำซึ่งที่สุด
ชื่อว่า กาละ การกระทำของกาละนั้น ชื่อว่า กาลกิริยา (ความทำกาละ).
มรณะโดยสมมติ เป็นคำอันข้าพเจ้าแสดงแล้วเพียงเท่านี้.

ว่าด้วยนิเทศแห่งมรณะโดยปรมัตถ์


บัดนี้ เพื่อกำหนดมรณะโดยปรมัตถ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ขนฺธานํ เภโท (ความแตกแห่งขันธ์) เป็นต้น .
จริงอยู่ ว่าโดยปรมัตถ์ ขันธ์ทั้งหลายเท่านั้นย่อมแตกไป ขึ้นชื่อว่า
สัตว์ไร ๆ ย่อมตายหามีไม่ แต่เมื่อขันธ์ทั้งหลายกำลังแตก สัตว์ก็ย่อมมีโวหาร
ว่ากำลังตาย เมื่อขันธ์แตกแล้ว ก็มีโวหารว่า สัตว์ตายแล้ว ก็ในอธิการนี้
ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจจตุโวการภพ และปัญจโวการภพ.
ความทอดทิ้งกเฬวระ (ซากศพ) ด้วยอำนาจเอกโวการภพ. อีกอย่างหนึ่ง
ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ย่อมมีด้วยอำนาจขันธ์ 4 (จตุโวการภพ) พึงทราบ
ความทอดทิ้งซากศพไว้ ด้วยอำนาจบททั้ง 2 ที่เหลือ เพราะเหตุไร ? เพราะ
การเกิดแห่งกเฬวระ กล่าวคือรูปกาย ย่อมมีในภพแม้ทั้ง 2 อีกอย่างหนึ่ง
เพราะขันธ์ทั้งหลายในจาตุมหาราชิกาเป็นต้นย่อมแตกไปอย่างเดียว ไม่มีอะไร ๆ
ต้องทอดทิ้ง ฉะนั้น ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ย่อมมีด้วยอำนาจแห่งขันธ์
ในจาตุมหาราชิกาเป็นต้นเหล่านั้น ความทอดทิ้งซากศพ ย่อมมีในพวกมนุษย์
เป็นต้น. ก็ในนิเทศนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ความตายโดยเหตุแห่งการ
ทอดทิ้งร่างกายว่า การทิ้งซากศพ ดังนี้.