เมนู

จริงอยู่ อัตภาพของคนชราแล้วย่อมทุรพล เหมือนเกวียนเก่าคร่ำคร่า
เมื่อเขาพยายามเพื่อจะยืน หรือเดิน หรือนั่ง ย่อมเกิดทุกข์ทางกายอย่างรุนแรง
เมื่อบุตรและภรรยาไม่ค่อยสนใจเหมือนแต่ก่อนก็เกิดโทมนัส พึงทราบชรา
เป็นทุกข์ โดยความเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ทั้งสองด้วยประการฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง (ท่านประพันธ์เป็นคาถาไวัว่า)
อนึ่ง สัตว์ย่อมถึงทุกข์ใด ทั้งทางกาย
และทางใจ เพราะความที่อวัยวะหย่อนยาน
เพราะความพิการแห่งอินทรีย์ เพรระความ
พินาศแห่งความหนุ่นสาว เพราะกําลังถูก
บั่นทอน เพราะปราศจากคุณมีสติเป็นต้น
และบุตรภรรยาของตนไม่เลื่อมใส และถึง
ความเป็นคนพาลอย่างยิ่ง ทุกข์ทั้งหมดนี้ มี
ชราเป็นเหตุ เพราะฉะนั้น ชราจึงเป็นทุกข์
แล.


ว่าด้วยนิเทศมรณะโดยสมมติ


พึงทรานวินิจฉัยในนิเทศมรณะ ต่อไป
ที่ชื่อว่า จุติ ด้วยอำนาจแห่งสัตว์ผู้เคลื่อน (จากภพ) คำว่าจุตินี้
เป็นคำพูดธรรมดาของจุติที่เป็นขันฐ์ 1 ขันธ์ 4 และขันธ์ 5.
บทว่า จวนตา (ภาวะที่เคลื่อน) เป็นบทแสดงไขถึงลักษณะโดยกล่าว
ภาวะ บทว่า เภโท (ความทำลาย) เป็นบทอธิบายความเกิดขึ้นแห่งภังคะ