เมนู

ในชราทั้ง 2 นั้น สวีจิชรา พึงทราบอย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่ง
อุปาทินนรูป และอนุปาทินนรูป. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า ฟันน้ำนมของพวกเด็ก ๆ
ย่อมเกิดก่อนทีเดียว ฟันเหล่านั้นไม่ถาวร แต่เมื่อฟันเหล่านั้นหักไปแล้ว ฟัน
ก็จะตั้งขึ้นอีก ฟัน (แท้) เหล่านั้นครั้งแรกเป็นสีขาว ย่อมเป็นสีดำในเวลา
ถูกลมคือชรากระทบ. อนึ่ง ผมครั้งแรกย่อมเป็นสีแดงบ้าง ย่อมเป็นสีดำบ้าง
ขาวบ้าง. ส่วนผิวย่อมมีสีแดง เมื่อบุคคลกำลังเจริญ ๆ บุคคลขาวก็จะ
ปรากฏเป็นสีขาว บุคคลดำก็จะปรากฏเป็นสีดำ แต่เมื่อถูกลมคือชรากระทบแล้ว
ผิวนั้นก็จะจับรอยย่น. ข้าวกล้าแม้ทั้งหมดในเวลาที่หว่านแล้ว ย่อมงอกเป็น
สีขาว ภายหลังจะเป็นสีเขียว แต่ในเวลาถูกลมคือชรากระทบแล้วก็เป็นสีเหลือง
จะแสดงแม้ด้วยหน่อมะม่วงก็ควรเหมือนกัน. คำว่า อยํ วุจฺจติ ชรา
(นี้เรียกว่าชรา) ความว่า นี้เรากล่าวให้ชื่อว่า ชรา.
ก็ชรานี้นั้น ขนฺธปริปากลกฺขณา มีความแก่ของขันธ์เป็นลักษณะ
มรณูปนยนรสา มีการนำเข้าไปหาความตายเป็นกิจ โยพฺพนวินาสปจฺจุปฏฺ-
ฐานา
มีความพินาศแห่งวัยหนุ่มสาวเป็นปัจจุปัฏฐาน.

พึงทราบอรรถแห่งชราเป็นทุกข์


ก็พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า พึงทราบอรรถแห่งชราเป็นทุกข์ นี้
ต่อไป แม้ชรานี้ตัวเองไม่เป็นทุกข์ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทุกข์
เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งของทุกข์.
ถามว่า เป็นที่ตั้งของทุกข์ไหน.
ตอบว่า ของทุกข์ในกาย และทุกข์คือโทมนัส.

จริงอยู่ อัตภาพของคนชราแล้วย่อมทุรพล เหมือนเกวียนเก่าคร่ำคร่า
เมื่อเขาพยายามเพื่อจะยืน หรือเดิน หรือนั่ง ย่อมเกิดทุกข์ทางกายอย่างรุนแรง
เมื่อบุตรและภรรยาไม่ค่อยสนใจเหมือนแต่ก่อนก็เกิดโทมนัส พึงทราบชรา
เป็นทุกข์ โดยความเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ทั้งสองด้วยประการฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง (ท่านประพันธ์เป็นคาถาไวัว่า)
อนึ่ง สัตว์ย่อมถึงทุกข์ใด ทั้งทางกาย
และทางใจ เพราะความที่อวัยวะหย่อนยาน
เพราะความพิการแห่งอินทรีย์ เพรระความ
พินาศแห่งความหนุ่นสาว เพราะกําลังถูก
บั่นทอน เพราะปราศจากคุณมีสติเป็นต้น
และบุตรภรรยาของตนไม่เลื่อมใส และถึง
ความเป็นคนพาลอย่างยิ่ง ทุกข์ทั้งหมดนี้ มี
ชราเป็นเหตุ เพราะฉะนั้น ชราจึงเป็นทุกข์
แล.


ว่าด้วยนิเทศมรณะโดยสมมติ


พึงทรานวินิจฉัยในนิเทศมรณะ ต่อไป
ที่ชื่อว่า จุติ ด้วยอำนาจแห่งสัตว์ผู้เคลื่อน (จากภพ) คำว่าจุตินี้
เป็นคำพูดธรรมดาของจุติที่เป็นขันฐ์ 1 ขันธ์ 4 และขันธ์ 5.
บทว่า จวนตา (ภาวะที่เคลื่อน) เป็นบทแสดงไขถึงลักษณะโดยกล่าว
ภาวะ บทว่า เภโท (ความทำลาย) เป็นบทอธิบายความเกิดขึ้นแห่งภังคะ