เมนู

แห่งวัตรมีอเจลกวัตรเป็นต้น ก็ดี ผู้อดอาหาร และผู้ผูกแขวนตัวด้วยอำนาจ
ความโกรธก็ดี
ทุกข์นี้ เป็นทุกข์มีการพยายามของตนเป็นมูล.

ว่าด้วยทุกข์มีความพยายามของผู้อื่นเป็นมูล


อนึ่ง ทุกข์ใด ย่อมเกิดแก่ผู้เสวยทุกข์มีถูกฆ่าและจองจำเป็นต้นจาก
ผู้อื่น ทุกข์นี้ เป็นทุกข์มีการพยายามของผู้อื่นเป็นมูล.
ชาตินี้ เป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์นี้แม้ทั้งหมด ด้วยประการฉะนี้ เพราะ
ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำคาถานี้ไว้ว่า
ชาเยถ โน เจ นรเกสุ สตฺโต
ตตฺถคฺคิทาหาทิกมปฺปสยฺหํ
ลเภถ ทุกขํ น กุหึ ปติฏฺฐํ
อิจฺจาห ทุกฺชาติ มนีธ ชาตึ

หากว่า สัตว์ไม่พึงเกิดในนรกไซร้
เขาก็ไม่พึงได้ทุกข์ มีการถูกเผาไหม้ในนรก
นั้นเป็นต้น ที่ใคร ๆ อดกลั้นไม่ได้ ไม่มีที่
พึ่ง ในที่ไหน ๆ เพราะเหตุนั้น พระมุนีจึง
กล่าว ความเกิดในโลกนี้ว่า เป็นทุกข์.
ทุกฺขํ ติรจฺเฉสุ กสาปโตท
ทณฺฑาภิฆาฏาทิภวํ อเนกํ
ยนฺตํ กถํ ตตฺถ ภเวยฺย ชาตึ
วินา ตหึ ชาติ ตโตปิ ทุกฺขา

ความทุกข์ในพวกสัตว์เดรัจฉาน มี
การกระหน่ำด้วยแส้ ปฏักและท่อนไม้
เป็นต้น มิใช่น้อย เว้นชาติเสีย ทุกข์พึงมีใน
พวกสัตว์นั้นได้อย่างไร แม้เพราะเหตุนั้น
ชาติจึงชื่อว่า เป็นทุกข์ในพวกสัตว์นั้น.
เปเตสุ ทุกฺขํ ปน ขุปฺปิปาสา
วาตาตปาทิปฺปภวํ วิจิตฺตํ
ยสฺมา อชาตสฺส น ตตฺถ อตฺถิ
ตสฺมาปิ ทุกฺขํ มุนิ ชาติมาห

อนึ่ง ทุกข์เพราะหิวกระหายในพวก
เปรต มีแดนเกิดแต่ลมและแดดเป็นต้น
ชนิดต่าง ๆ ย่อมไม่มีแก่สัตว์ผู้ไม่เกิดในพวก
เปรตนั้น แม่เพราะเหตุนั้น ท่านผู้รู้ก็กล่าว
ว่า ชาติเป็นทุกข์.
ติพฺพนฺธนกาเร จ อสยฺหสีเต
โลกนฺตเร ยํ อสุเรสุ ทุกฺขํ
น ตํ ภเว ตตฺถ น จสฺส ชาติ
ยโต อยํ ชาติ ตโตปิ ทุกฺขา

อนึ่ง ทุกข์ในพวกอสุรกายที่มีใน
โลกันตร์ ซึ่งเย็นทนไม่ได้ มืดตื้อจะไม่พึง
มีในพวกอสุรกายนั้น เพราะไม่มีความเกิด
แม้เหตุนั้น ชาตินี้ ก็ชื่อว่า เป็นทุกข์.

ยญฺจาปิ คูถนรเก วิย มาตุ คพฺเภ
สตฺโต วสญฺจิรมโต พหิ นิกฺขมญฺจ
ปปฺโปติ ทุกฺขมติ โฆรมิทํปิ นตฺถิ
ชาตี วินา อิติปิ ชาติรยํ หิ ทุกฺขา

อนึ่ง สัตว์ในครรภ์มารดา อันเป็น
ราวกะคูถนรก โดยการอยู่ตลอดกาลนานก็ดี
ออกจากครรภ์มาในภายนอกก็ดี ย่อมถึงทุกข์
แม้ไดอันร้ายแรง ทุกข์แม้นี้เว้นความเกิด
เสียย่อมไม่มี แม้เพราะเหตุนั้น ความเกิด
นั้นแหละ ชื่อว่า เป็นทุกข์.
กึ ภาสิเตน พหุนา นนุ ยํ กุหิญฺจิ
อตูถีธ กิญฺจิรปิ ทุกฺขมิทํ กทาจิ
เนวตฺถิ ชาติวิรเห ยทโต มเหสิ
ทุกฺขาติ สพฺพปฐมํ อิมมาห ชาตึ

ประโยชน์อะไร ด้วยการกล่าวมาก
ไป ทุกข์แม้ไร ๆ ในโลกนี้ ซึ่งมีในที่ไหน ๆ
นี้ จะไม่มีในกาลไหน ๆ เพราะเว้นจาก
ความเกิด มิใช่หรือ เพราะเหตุนั้น พระ-
มหาฤาษี จงตรัสความเกิดนี้ว่า เป็นทุกข์
ก่อนทุกข์ทั้งปวง ดังนี้.

ว่าด้วยนิเทศชรา

(บาลีข้อ 147)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศชรา ต่อไป
บทว่า ชรา (ความคร่ำคร่า) เป็นรูปความเฉพาะตนโดยภาวะของ
ตน. บทว่า ชิรณตา (ภาวะที่คร่ำคร่า) เป็นศัพท์แสดงถึงอาการ. ศัพท์
ทั้ง 3 มีคำว่า ขณฺฑิจจํ (ความที่ฟันหลุด) เป็นต้น เป็นศัพท์แสดงถึงกิจใน
เมื่อล่วงกาลผ่านไป สองศัพท์หลังเป็นการอธิบายความตามปกติ.*
จริงอยู่ ชรานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยภาวะของตนด้วย
บทว่า ความคร่ำคร่า นี้. เพราะเหตุนั้น บทว่า ความคร่ำคร่า นี้ จึงเป็น
รูปความเฉพาะตนโดยสภาพแห่งบทว่า ความคร่ำคร่า นั้น. ทรงแสดงชรา
นั้นโดยอาการ ด้วยบทว่า ชิรณตา (ภาวะที่คร่ำคร่า) เพราะเหตุนั้น ศัพท์
ว่าชิรณตา นี้ จึงเป็นการอธิบายถึงอาการของชรานั้น.
ด้วยบทว่า ขณฺฑิจิจํ นี้ พระผู้นีพระภาคเจ้าทรงแสดงชราโดยกิจ
คือกระทำความเป็นผู้มีฟันและเล็บหักในเมื่อล่วงกาลผ่านไป. ด้วยบทว่า
ปาลิจฺจํ (ความที่ผมหงอก) นี้ ทรงแสดงชราโดยกิจ คือการทำความเป็นผู้มี
ผมและขนหงอก. ด้วยบทว่า วลิตฺตจตา (ความที่หนังเหี่ยวย่น) นี้ ทรง
แสดงชราโดยกิจ คือการทำความเป็นผู้มีเนื้อเหี่ยวแล้ว หนังย่นแล้ว เพราะ
เหตุนั้น ศัพท์ทั้ง 3 มีอาทิว่า ขณฺฑิจฺจํ ( ความที่ฟันหลุด) เหล่านี้ จึงเป็น
ศัพท์แสดงกิจในเมื่อล่วงกาลผ่านไปของชรานั้น. ด้วยศัพท์ทั้ง 3 นั้น พระองค์
ทรงแสดง ปากฏชรา ว่า ชรานั้นเป็นธรรมชาติปรากฏแล้ว ด้วยสามารถ
แห่งการเห็นภาวะเหล่านี้ เป็นของพิการไป เปรียบเหมือนทางเดินของน้ำ หรือ
* คือ อายุโน สํหานิ ความเสื่อมสิ้นแห่งอายุ และ อินฺทฺริยานํ ปริปาโก ความแก่หง่อมแห่ง
อินทรีย์