เมนู

และเป็นวิสภาคะ (มีส่วนไม่เสมอกัน) โดย
ประการและโดยนัยทั้งหลายอย่างนี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.


วรรณนานิเทศวาร


ว่าด้วยทุกขอริยสัจ

(บาลีข้อ 145)
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงจำแนกสัจจะ 4 มีทุกข์เป็นต้น
ที่พระองค์ทรงยกขึ้นแสดงโดยย่อ จึงเริ่มนิเทศวารนี้ว่า ตตฺถ กตมํ ทุกฺขํ
อริยสจฺจํ ชาติปิ ทุกฺขา
ในอริยสัจ 4 นั้น ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติ
ก็เป็นทุกข์ ดังนี้เป็นต้น.
ในนิเทศแห่งทุกขอริยสัจนั้น บัณฑิตพึงทราบ ชาติ พึงทราบอรรถ
แห่งชาติเป็นทุกข์ พึงทราบชรา พึงทราบอรรถแห่งชราเป็นทุกข์ พึงทราบ
มรณะ พึงทราบอรรถแห่งมรณะเป็นทุกข์ พึงทราบโสกะ พึงทราบอรรถแห่ง
โสกะเป็นทุกข์ พึงทราบปริเทวะ พึงทราบอรรถแห่งปริเทวะเป็นทุกข์ พึงทราบ
ทุกข์ พึงทราบอรรถแห่งทุกข์เป็นทุกข์ พึงทราบโทมนัส พึงทราบอรรถแห่ง
โทมนัสเป็นทุกข์ พึงทราบอุปายาส พึงทราบอรรถแห่งอุปายาสเป็นทุกข์
พึงทราบอัปปิยสัมปโยคะ พึงทราบอรรถแห่งอัปปิยสัมปโยคะเป็นทุกข์ พึงทราบ
ปิยวิปปโยคะ พึงทราบอรรถแห่งปิยวิปปโยคะเป็นทุกข์. พึงทราบอิจฉา
(ความปรารถนา) พึงทราบอรรถแห่งความปรารถนาเป็นทุกข์ พึงทราบขันธ์
พึงทราบอรรถแห่งขันธ์เป็นทุกข์ นี้ เป็นมาติกาเพื่อประโยชน์ในการกล่าว
ทุกขอริยสัจในนิเทศวารนั้น.

จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่าทุกข์นี้มีประการต่าง ๆ เป็นอเนก คือ
ทุกขทุกข์ (ทุกข์เพราะทนได้ยาก)
วิปริณามทุกข์ (ทุกข์เพราะเปลี่ยนแปลง)
สังขารทุกข์ (ทุกข์ของสังขาร)
ปฏิจฉันนทุกข์ (ทุกข์ปกปิด)
อัปปฏิจฉันนทุกข์ (ทุกข์เปิดเผย)
ปริยายทุกข์ (ทุกข์โดยอ้อม)
นิปปริยายทุกข์ (ทุกข์โดยตรง).
บรรดาทุกข์เหล่านั้น ทุกขเวทนาที่เป็นไปทางกายและจิต ชื่อว่า
ทุกขทุกข์ เพราะเป็นทุกข์ทั้งโดยสภาวะทั้งโดยชื่อ. สุขเวทนา ชื่อว่า
วิปริณามทุกข์ เพราะเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ โดยการเปลี่ยนแปลง. อุเบกขา
เวทนา และสังขารทั้งหลายที่เหลือเป็นไปในภูมิ 3 ชื่อว่า สังขารทุกข์
เพราะถูกความเกิดและดับบีบคั้น ก็ความบีบคั้น (ด้วยความเกิดและดับ)
ย่อมมีแม้แก่มรรคและผลทั้งหลายเหมือนกัน เพราะฉะนั้น พึงทราบว่าธรรม
เหล่านั้น ชื่อว่า สังขารทุกข์ ด้วยอรรถว่า นับเนื่องด้วยทุกขสัจจะ. ความ
ป่วยไข้ทางกายและจิตมีปวดหู ปวดฟัน ความเร่าร้อนเกิดแต่ราคะ ความ
เร่าร้อนเกิดแต่โทสะเป็นต้น ชื่อว่า ปฏิจฉันนทุกข์* เพราะต้องถามจึงรู้
และเพราะก้าวเข้าไปแล้วก็ไม่ปรากฏ ท่านเรียกว่า ทุกข์ไม่ปรากฏดังนี้บ้าง
ความป่วยไข้มีการถูกลงกรรมกรณ์ 32 เป็นต้น เป็นสมุฏฐาน ชื่อว่า อัป-
ปฏิจฉันนทุกข์
เพราะไม่ถามก็รู้ได้ และเพราะเข้าถึงแล้วก็ปรากฏ ท่าน
* ปฏิจฉันนทุกข์ที่ว่าทางกาย คือ ปวดหู ปวดฟัน ท่านหมายเอาทุกข์เล็กน้อยจึงไม่มีใครรู้
ต้องถามจึงรู้

เรียกว่า ปรากฏทุกข์บ้าง. ทุกข์แม้ทั้งหมดมีชาติเป็นต้น อันมาแล้วในวิภังค์
แห่งทุกขสัจจะ เว้นทุกขทุกข์ที่เหลือ ชื่อว่า ปริยายทุกข์ เพราะเป็นวัตถุ
(ที่อาศัยเกิด) แห่งทุกข์นั้น ๆ. ทุกขทุกข์ ชื่อว่า นิปปริยายทุกข์.
ในบรรดาทุกข์เหล่านั้น พึงกล่าวทุกขอริยสัจตั้งไว้ใน 2 บท นี้ คือ
ปริยายทุกข์ และนิปปริยายทุกข์ ก็ธรรมดาอริยสัจนี้ย่อมมาในพระบาลีโดย
ย่อบ้าง โดยพิสดารบ้าง ในที่มาโดยย่อควรกล่าวโดยย่อก็ได้ โดยพิสดาร
ก็ได้ แต่ในที่มาโดยพิสดารสมควรกล่าวโดยพิสดารเท่านั้น ไม่ควรกล่าวโดยย่อ
ในที่นี้ทุกข์นี้นั้นมาโดยพิสดารดังนั้น พึงกล่าวโดยพิสดารอย่างเดียว ฉะนั้น
คำนี้ใด ที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้มีอาทิว่า พึงทราบชาติ พึงทราบอรรถของชาติ
เป็นทุกข์ เพราะถือเอาพระบาลีในนิเทศวารมีอาทิว่า ตตฺถ กตมํ ทุกฺขํ
อริยสจฺจํ ชาติปิ ทุกฺขา
ในอริยสัจ 4 นั้น ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้
ชาติก็เป็นทุกข์ ดังนี้.

ว่าด้วยนิเทศแห่งชาติโดยสมมติกถา

(บาลีข้อ 146)
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น พึงทราบคำว่า ชาติ เป็นต้นก่อน ก็บัณฑิต
พึงทราบชาติด้วยสามารถแห่งบทภาชนีย์นี้ว่า ตตฺถ กตฺมา ชาติ ยา เตสํ
สตฺตานํ ตมฺหิ ตมฺหิ สตฺตนิกาเย ชาติ
ในทุกขอริยสัจนั้น
ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความเกิดพร้อม...ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของสัตว์นั้น ๆ
อันใด... เป็นต้น. อรรถวรรณนาในนิเทศแห่งชาตินั้น ดังต่อไปนี้.
คำว่า เตสํ เตสํ สตฺตานํ (ของสัตว์นั้น ๆ) นี้เป็นอรรถแสดง
ถึงความทั่วไปแก่สัตว์มิใช่น้อย โดยย่อ คือ เมื่อกล่าวคำอย่างนี้ว่า ความเกิด
ของเทวทัต ความเกิดของโสมทัต ดังนี้ แม้ทั้งวัน สัตว์ทั้งหลาย ย่อมไม่ถึง