เมนู

ประการฉะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวว่า มรรคมี 3 อย่างโดยประเภทแห่งขันธ์
3. มรรคมี 4 อย่างด้วยสามารถแห่งมรรค 4 มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง สัจจะทั้งหมดนั่นแหละมีอย่างเดียว เพราะเป็นภาวะที่มี
อยู่โดยแท้จริง หรือเพราะเป็นอภิญไญยธรรม (ธรรมที่พึงรู้ยิ่ง) มี 2 อย่าง
โดยเป็นโลกิยะและโลกุตระ และเป็นสังขตะและอสังขตะ มี 3 อย่าง โดย
เป็นธรรมที่พึงละด้วยทัสสนะและภาวนา โดยเป็นธรรมไม่พึงละด้วยทัสสนะ
และภาวนา และโดยเป็นธรรมที่พึงละก็ไม่ใช่ ไม่พึงละก็ไม่ใช่ มี 4 อย่าง
โดยประเภทปริญไญยธรรมเป็นต้นแล.
พึงทราบวินิจฉัยในอธิการนี้โดยเป็นธรรมอย่างเดียว ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยสภาคะและวิสภาคะ


ข้อว่า โดยสภาคะและวิสภาคะ ความว่า สัจจะทั้งหมดนั่นแหละ
ชื่อว่า เป็นสภาคะ (คือมีส่วนเสมอ) กันและกัน โดยเป็นของแท้ โดยเป็น
ของว่างจากอัตตา และโดยเป็นสิ่งที่แทงตลอดได้ยาก เหมือนอย่างที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า " ดูก่อนอานนท์ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อย่างไหนหนอจะทำได้ยากกว่ากัน หรือจะให้เกิดขึ้นได้ยากกว่ากัน คือการที่
ยิงลูกศรให้เข้าไปติด ๆ กัน โดยช่องดาลเล็กแต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด กับการ
ยิงปลายขนทราย ด้วยขนทรายที่แบ่งออกเป็น 7 ส่วน*" ดังนี้ พระอานนท์
ทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยิงปลายขนทราย ด้วยปลายขนทรายที่แบ่ง
ออกเป็น 7 ส่วน กระทำได้ยากกว่าและให้เกิดขึ้นได้ยากกว่า พระเจ้าข้า"
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " ดูก่อนอานนท์ ชนเหล่าใด ย่อม
* ปลายขนทรายแบ่งเป็น 7 ส่วน ติดที่ปลายลูกศรแล้วยิงปลายขนทรายนั้นให้ถูกเป็นการยาก
แต่พระองค์ตรัสว่า การแทงตลอดสัจจะยากกว่า (เก็บจากมหาฎีกา)

แทงตลอดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ชน
เหล่านั้น ย่อมแทงตลอดได้ยากว่าโดยแท้ " ดังนี้1.
ชื่อว่า วิสภาคะ (มีส่วนไม่เสมอกัน) โดยการกำหนดลักษณะของตน
ก็สัจจะ 2 ข้อแรก ชื่อว่า เป็นสภาคะ เพราะเป็นของลึกซึ้ง ด้วยอรรถว่า
หยั่งลงได้โดยยาก เพราะเป็นโลกีย์ และเพราะความเป็นไปกับอาสวะ ชื่อว่า
เป็นวิสภาคะ เพราะแยกออกโดยเป็นผลและเหตุ และเพราะเป็นธรรมที่ควรรู้.
และเป็นธรรมที่ควรละ (ปริญฺเญยฺยปหาตพฺพกิจ) สัจจะ 2 แม้ข้างหลัง
ก็เป็นสภาคะ คือมีส่วนเสมอกัน เพราะหยั่งลงได้ยากโดยความเป็นของลึกซึ้ง
เพราะเป็นโลกุตระ และเพราะเป็นอนาสวะ อนึ่ง สัจจะ 2 ข้อหลังเป็นวิสภาคะ
เพราะแยกเป็นวิสยะและวิสยี2 และเพราะเป็นสัจฉิกาตัพพะ (ธรรมที่ควรทำ
ให้แจ้ง) และภาเวตัพพะ (ธรรมที่ควรเจริญ) อนึ่ง สัจจะที่ 1 และที่ 3 ชื่อว่า
เป็นสภาคะกัน เพราะอ้างถึงผล ชื่อว่า เป็นวิสภาคะกัน เพราะเป็นสังขตะและ
อสังขตะ อนึ่ง สัจจะที่ 2 และที่ 4 ชื่อว่า เป็นสภาคะกัน เพราะอ้างถึงเหตุ
ชื่อว่า เป็นวิสภาคะกัน เพราะเป็นกุศลและอกุศลโดยส่วนเดียว ก็สัจจะที่ 1
และที่ 4 ชื่อว่าเป็นสภาคะกัน เพราะเป็นสังขตะ ชื่อว่าเป็นวิสภาคะกัน
เพราะเป็นโลกิยะ และโลกุตระ ก็สัจจะที่ 2 ที่ 3 เป็นสภาคะกันโดยเป็น
เนวเสกขานาเสกขา และชื่อว่า เป็นวิสภาคะ เพราะเป็นสารัมมณะ และ
อนารัมมณะ (มีอารมณ์และไม่มีอารมณ์).
อิติ เอวํ ปกาเรหิ นเยหิ จ วิจกฺขโณ
วิชญฺญา อริยสจฺจานํ สภาควิสภาคตํ

บัณฑิตผู้ฉลาด พึงรู้แจ้งความที่
อริยสัจทั้งหลายเป็นสภาคะ (มีส่วนเสมอกัน)
1. สํ. มหาวาร เล่ม 19 1738/566
2. วิสยะในที่นี้คือนิโรธ วิสยีคือมรรค.

และเป็นวิสภาคะ (มีส่วนไม่เสมอกัน) โดย
ประการและโดยนัยทั้งหลายอย่างนี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.


วรรณนานิเทศวาร


ว่าด้วยทุกขอริยสัจ

(บาลีข้อ 145)
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงจำแนกสัจจะ 4 มีทุกข์เป็นต้น
ที่พระองค์ทรงยกขึ้นแสดงโดยย่อ จึงเริ่มนิเทศวารนี้ว่า ตตฺถ กตมํ ทุกฺขํ
อริยสจฺจํ ชาติปิ ทุกฺขา
ในอริยสัจ 4 นั้น ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติ
ก็เป็นทุกข์ ดังนี้เป็นต้น.
ในนิเทศแห่งทุกขอริยสัจนั้น บัณฑิตพึงทราบ ชาติ พึงทราบอรรถ
แห่งชาติเป็นทุกข์ พึงทราบชรา พึงทราบอรรถแห่งชราเป็นทุกข์ พึงทราบ
มรณะ พึงทราบอรรถแห่งมรณะเป็นทุกข์ พึงทราบโสกะ พึงทราบอรรถแห่ง
โสกะเป็นทุกข์ พึงทราบปริเทวะ พึงทราบอรรถแห่งปริเทวะเป็นทุกข์ พึงทราบ
ทุกข์ พึงทราบอรรถแห่งทุกข์เป็นทุกข์ พึงทราบโทมนัส พึงทราบอรรถแห่ง
โทมนัสเป็นทุกข์ พึงทราบอุปายาส พึงทราบอรรถแห่งอุปายาสเป็นทุกข์
พึงทราบอัปปิยสัมปโยคะ พึงทราบอรรถแห่งอัปปิยสัมปโยคะเป็นทุกข์ พึงทราบ
ปิยวิปปโยคะ พึงทราบอรรถแห่งปิยวิปปโยคะเป็นทุกข์. พึงทราบอิจฉา
(ความปรารถนา) พึงทราบอรรถแห่งความปรารถนาเป็นทุกข์ พึงทราบขันธ์
พึงทราบอรรถแห่งขันธ์เป็นทุกข์ นี้ เป็นมาติกาเพื่อประโยชน์ในการกล่าว
ทุกขอริยสัจในนิเทศวารนั้น.