เมนู

ของลัทธิทั้งหลายมีปกติวาทีเป็นต้น. และผลเล่าก็ว่างจากเหตุ เพราะความทุกข์
กับสมุทัย และนิโรธกับมรรคมิได้เป็นอันเดียวกัน ผลนั้นมิได้เป็นอย่างเดียว
กับเหตุ เป็นเหตุผล เหมือนอณูทั้ง 2 ของลัทธิทั้งหลาย มีสมวายวาทีเป็นต้น
เพราะเหตุนั้น นักปราชญ์จึงประพันธ์คำคาถานี้ไว้ว่า
ตยมิธ นิโรธสุญฺญ ตเยน เตนาปิ นิพฺพุติ สุญฺญา
สุญฺโญ ผเลน เหตุ ผลํปิ ตํ เหตุนา สุญฺญํ

บรรดาอริยสัจจะ 4 นี้ สัจจะ 3 ว่าง
จากนิโรธ นิโรธ (นิพฺพุติ) เล่าก็ว่างจาก
สัจจะ 3 แม้นั้น สัจจะที่เป็นเหตุว่างจาก
สัจจะที่เป็นผล แม้สัจจะที่เป็นผลนั้นเล่าก็
ว่างจากสัจจะที่เป็นเหตุ ดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในสุญญตา (ว่าง) อย่างนี้ก่อน.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยเป็นธรรมอย่างเดียวเป็นต้น


ข้อว่า โดยเป็นธรรมอย่างเดียวเป็นต้น ความว่า ก็บรรดาสัจจะ
4 เหล่านั้น ทุกข์ทั้งหมดทีเดียว ชื่อว่ามีอย่างเดียวเพราะเป็นปวัตติ (คือเป็น
ธรรมหมุนไปในวัฏฏะ) เป็น 2 อย่างโดยเป็นนามและรูป เป็น 3 อย่างโดย
แยกเป็นอุปปัตติภพ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เป็น 4 อยู่ โดยประเภท
แห่งอาหาร 4 เป็น 5 อย่างโดยประเภทแห่งอุปาทานขันธ์ 5.
แม้สมุทัย ชื่อว่ามีอย่างเดียว เพราะเป็นสภาพให้วัฏฏะหมุนไป เป็น
2 อย่างโดยเป็นธรรมสัมปยุตด้วยทิฏฐิ และไม่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เป็น 3 อย่าง
โดยแยกเป็น กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็น 4 อย่างเพราะเป็นโทษ