เมนู

อัตตา ว่ามีความยั่งยืน มีความงาม มีสุข และมีอัตตา สมุทยญาณ ย่อม
ห้ามความปฏิบัติผิดให้เหตุ ที่เป็นไปในการนับถืออย่างยิ่งคือในสิ่งที่มิใช่เหตุ
ว่าเป็นเหตุ โดยเข้าใจว่า โลก ย่อมเป็นไปโดยพระอิศวรโดยพระผู้เป็นประธาน
โดยพระกาฬ และโดยภาวะของตนเองเป็นต้น นิโรธญาณ ย่อมห้ามความ
ปฏิบัติผิดในนิโรธที่ยึดถือในอรูปโลก และในภูมิที่เป็นยอดโลกเป็นต้น ว่าเป็น
พระนิพพาน* มรรคญาณ ย่อมห้ามความปฏิบัติผิดในอุบายที่เป็นไปด้วย
ความยึดถือในมรรคที่ไม่บริสุทธิ์ อันต่างโดยกามสุขัลลิถานุโยคและอัตตกิลมถา-
นุโยคว่าเป็นมรรคอันบริสุทธิ์ เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงประพันธ์คำคาถานี้ไว้ว่า
โลเก โลกปฺปภเว โลกตฺถคเม สิเว จ ตทุปาเย
สมฺมุยฺหติ ตาว นโร น วิชานาติ ยาว สจฺจานิ

นรชน ยังไม่รู้แจ้งสัจจะทั้งหลาย
ตราบใด เขาก็ย่อมลุ่มหลงในโลก (ทุกข์) ใน
เหตุเกิดของโลก (สมุทัย) ในพระนิพพาน
อันเป็นที่ดับไปแห่งโลก และในอุบายของ
ความดับโลกนั้น (มรรค) อยู่ตราบนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยโดยกิจแห่งญาณในอริยสัจจะนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยประเภทแห่งธรรมที่หยั่งลงภายใน


ข้อว่า โดยประเภทแห่งธรรมที่หยั่งลงภายใน ความว่า จริงอยู่ ยก
เว้นตัณหาและอนาสวธรรม (ธรรมที่ไม่มีอาสวะ) แล้วธรรมทั้งหมดที่เหลือนับว่า
* พวกอุทกดาบสและอาฬารดาบส ถืออรูปโลกว่าเป็นนิพพาน พวกนิครนถ์ถือยอดภูมิ (โลก
ถูปิกา) ว่าเป็นนิพพาน (มหาฎีกา)

หยั่งลงภายใน ในทุกขสัจ. ตัณหาวิจริต 36 หยั่งลงภายใน ใหสมุทยสัจ.
นิโรธสัจไม่มีอะไรเจือปน ธรรมมีวิมังสิทธิบาท ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละและ
ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ โดยมีสัมมาทิฏฐิเป็นประมุขเป็นธรรมหยั่งลงภายใน
ในมรรคสัจ. วิตก 3 มีเนกขัมมวิตกเป็นต้นโดยอิงอาศัยสัมมาสังกัปปะเป็นธรรม
หยั่งลงภายใน วจีสุจริต 4 โดยอิงอาศัยสัมมาวาจาเป็นธรรมหยั่งลงภายใน กาย
ทุจริต โดยอิงอาศัยสัมมากัมมันตะเป็นธรรมหยั่งลงภายใน ความมักน้อยและ
ความสันโดษโดยมีสัมมาอาชีวะเป็นประมุขเป็นธรรมหยั่งลงภายในนับเข้าใน
มรรคสัจ. อีกอย่างหนึ่ง เพราะสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะทั้งหมด
เหล่านี้เป็นอริยกันตศีล เพราะศีลอันบุคคลพึงรับด้วยมือคือศรัทธา และเพราะ
ความที่ศีลจะมีอยู่ก็เพราะความที่สัมมาวาจาเป็นต้นเหล่านั้นมีอยู่ สัทธินทรีย์
สัทธา พละ ฉันทิทธิบาท จึงเป็นชาติหยั่งลงในภายใน. สัมมัปปธาน 4 วิริยิท-
ธิบาท วิริยินทรีย์ วิริยพละ วิริยสัมโพชฌงค์ โดยอิงอาศัยสัมมาวายามะเป็นธรรม
หยั่งลงภายใน สติปัฏฐาน 4 สตินทรีย์ สติพละ และสติสัมโพชฌงค์ โดยอิง
อาศัยสัมมาสติ เป็นธรรมหยั่งลงภายใน สมาธิอย่างละ 3 คือสมาธิมีวิตกและ
มีวิจารเป็นต้น จิตตสมาธิ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิ
สัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นธรรมหยั่งลงภายใน
คือนับเข้าในมรรคสัจ.
พึงทราบวินิจฉัยแม้ประเภทแห่งธรรมที่หยั่งลงภายในสัจจะนี้ ด้วย
ประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอุปมา


ก็ในข้อว่า โดยอุปมา นี้ พึงเห็นทุกขสัจเหมือนของหนัก สมุทัยสัจ
เหมือนการถือของหนัก นิโรธสัจเหมือนวางของหนัก มรรคสัจเหมือนอุบาย