เมนู

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยกิจแห่งญาณในอริยสัจ


ข้อว่า โดยกิจแห่งญาณในอริยสัจ นี้ อธิบายว่า พึงทราบวินิจฉัย
แม้โดยกิจแห่งสัจจญาณ จริงอยู่ สัจจญาณมี 2 อย่าง คือ
อนุโพธญาณ (ญาณที่รู้โดยลำดับ)
ปฏิเวธญาณ (ญาณที่แทงตลอด).
บรรดาญาณทั้ง 2 นั้น อนุโพธญาณ เป็นโลกิยะย่อมดำเนินไปใน
นิโรธและมรรค ด้วยอำนาจแห่งการสดับฟังเป็นต้น. ปฏิเวธญาณเป็นโลกุตระ
ทำนิโรธให้เป็นอารมณ์แล้วแทงตลอดสัจจะแม้ทั้ง 4 โดยกิจ เหมือนอย่างที่
ตรัสไว้ว่า โย โกจิ ภิกฺขเว ทุกฺขํ ปสฺสติ ทุกฺขสมุทยมฺปิ โส ปสฺสติ
ทุกฺขนิโรธมฺปิ ปสฺสติ ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทมฺปิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ผู้ใดผู้หนึ่งเห็นทุกข์ ผู้นั้นย่อมเห็นแม้ทุกขสมุทัย ย่อมเห็นแม้ทุกขนิโรธ
ย่อมเห็นแม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา*. พึงกล่าวพุทธวจนะ (ในสูตรนี้) แม้
ทั้งหมด.
อนึ่ง ญาณที่เป็นโลกิยะในสัจจญาณ 4 เหล่านี้ ทุกขญาณ (ญาณใน
ทุกข์) ย่อมห้ามสักกายทิฏฐิที่กำลังเป็นไปด้วยอำนาจแห่งความครอบงำโดย
ปริยุฏฐาน. สมุทยญาณ (ญาณในสมุทัย) ย่อมห้ามอุจเฉททิฏฐิ. นิโรธญาณ
(ญาณในนิโรธ) ย่อมห้ามสัสสตทิฏฐิ. มรรคญาณ (ญาณในมรรค) ย่อม
ห้ามอกิริยทิฏฐิ.
อีกอย่างหนึ่ง ทุกฺขญาณ ย่อมห้ามความปฏิบัติผิดในผลกล่าวคือ
ความสำคัญในเบญจขันธ์ซึ่งปราศจากความยั่งยืน ความงาม ความสุข และ
* สํ. มหาวาร. เล่ม 19 1711/547

อัตตา ว่ามีความยั่งยืน มีความงาม มีสุข และมีอัตตา สมุทยญาณ ย่อม
ห้ามความปฏิบัติผิดให้เหตุ ที่เป็นไปในการนับถืออย่างยิ่งคือในสิ่งที่มิใช่เหตุ
ว่าเป็นเหตุ โดยเข้าใจว่า โลก ย่อมเป็นไปโดยพระอิศวรโดยพระผู้เป็นประธาน
โดยพระกาฬ และโดยภาวะของตนเองเป็นต้น นิโรธญาณ ย่อมห้ามความ
ปฏิบัติผิดในนิโรธที่ยึดถือในอรูปโลก และในภูมิที่เป็นยอดโลกเป็นต้น ว่าเป็น
พระนิพพาน* มรรคญาณ ย่อมห้ามความปฏิบัติผิดในอุบายที่เป็นไปด้วย
ความยึดถือในมรรคที่ไม่บริสุทธิ์ อันต่างโดยกามสุขัลลิถานุโยคและอัตตกิลมถา-
นุโยคว่าเป็นมรรคอันบริสุทธิ์ เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงประพันธ์คำคาถานี้ไว้ว่า
โลเก โลกปฺปภเว โลกตฺถคเม สิเว จ ตทุปาเย
สมฺมุยฺหติ ตาว นโร น วิชานาติ ยาว สจฺจานิ

นรชน ยังไม่รู้แจ้งสัจจะทั้งหลาย
ตราบใด เขาก็ย่อมลุ่มหลงในโลก (ทุกข์) ใน
เหตุเกิดของโลก (สมุทัย) ในพระนิพพาน
อันเป็นที่ดับไปแห่งโลก และในอุบายของ
ความดับโลกนั้น (มรรค) อยู่ตราบนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยโดยกิจแห่งญาณในอริยสัจจะนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยประเภทแห่งธรรมที่หยั่งลงภายใน


ข้อว่า โดยประเภทแห่งธรรมที่หยั่งลงภายใน ความว่า จริงอยู่ ยก
เว้นตัณหาและอนาสวธรรม (ธรรมที่ไม่มีอาสวะ) แล้วธรรมทั้งหมดที่เหลือนับว่า
* พวกอุทกดาบสและอาฬารดาบส ถืออรูปโลกว่าเป็นนิพพาน พวกนิครนถ์ถือยอดภูมิ (โลก
ถูปิกา) ว่าเป็นนิพพาน (มหาฎีกา)