เมนู

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวภาวะอันแท้ไม่
แปรผัน เป็นของจริงในสัจจะทั้ง 4 มีทุกข์
เป็นต้น โดยไม่แปลกกันว่า เป็นอรรถแห่ง
สัจจะ ด้วยประการฉะนี้แล.

พึงทราบวินิจฉัยสัจจะโดยอรรถ ดังพรรณนามาฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยถอดความ


พึงทราบวินิจฉัย โดยถอดเอาความ อย่างไร ? สัจจศัพท์ใน
อธิการนี้ ย่อมปรากฏในอรรถมิใช่น้อย อย่างไร คือสัจจศัพท์ ย่อมปรากฏ
ในวาจาสัจจะ(พูดจริง)เหมือนในประโยคมีอาทิว่า สจฺจํ ภเณ น กุชฺเฌยฺย
บุคคลพึงกล่าวคำสัตย์ ไม่พึงโกรธ. ที่ปรากฏในวิรติสัจจะ (มุสาวาทวิรัติ)
เหมือนในประโยคมีอาทิว่า สจฺเจ ฐิตา สมณพฺราหฺมณา สมณพราหมณ์
ผู้ตั้งอยู่ในสัจจะ. ที่ปรากฏใน ทิฏฐิสัจจะ (จริงโดยทิฏฐิ) เหมือนในประโยค
มีอาทิว่า กสฺมา นุ สจฺจานิ วทนฺติ นานาปวาทิยาเส กุสลาวทานา
เพราะเหตุไรหนอ พวกสมณพราหมณ์จึงกล่าวสัจจะไปต่าง ๆ คือเป็นผู้อ้างตน
ว่าเป็นผู้ฉลาดกล่าวยืนยันสัจจะหลายอย่าง. ที่ปรากฏใน ปรมัตถสัจจะ คือ
นิพพานและมรรค เหมือนในประโยคมีอาทิว่า เอกํ หิ สจฺจํ น ทุติยมตฺถิ
สัจจะมีอย่างเดียวไม่มีอย่างที่สอง. ที่ปรากฏใน อริยสัจจะ เหมือนในประโยค
มีอาทิว่า จตุนฺนํ สจฺจานํ กติ กุสลา บรรดาสัจจะ 4 สัจจะที่เป็นกุศลมี
เท่าไร. แม้ในที่นี้ สัจจศัพท์นี้นั้นย่อมเป็นไปในอริยสัจจะ (สัจจะอันประเสริฐ)
ดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยโดยถอดความในสัจจะนี้ ฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยไม่หย่อนไม่ยิ่ง


ในข้อว่า ไม่หย่อนไม่ยิ่ง นี้ หากมีคำถามว่า ก็เพราะเหตุไรพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอริยสัจไว้ 4 เท่านั้นไม่หย่อนไม่ยิ่ง ตอบว่าเพราะไม่มี
สัจจะอย่างอื่น และนำออกข้อใดข้อหนึ่งก็ไม่ได้ จริงอยู่ สัจจะอื่นยิ่งกว่าสัจจะ 4
เหล่านี้ หรือว่าบรรดาสัจจะ 4 เหล่านี้จะพึงนำออกไปสักข้อหนึ่ง หาได้ไม่.
เหมือนอย่างที่ตรัสไว้มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ในโลก
นี้ พึงเอ่ยอ้างว่า ทุกข์ที่พระสมณโคดมแสดงไว้นี้ ไม่ใช่ทุกขอริยสัจ ทุกข
อริยสัจเป็นอย่างอื่น เราจักเว้นทุกขอริยสัจนี้แล้วบัญญัติทุกขอริยสัจอื่น ข้อนี้
ไม่ใช่ฐานะที่เป็นได้ ดังนี้ และดังที่ตรัสไว้มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า นั่นมิใช่ทุกขอริยสัจ
ข้อที่หนึ่งที่สมณโคคมทรงแสดงไว้ เราจักบอกเลิกทุกขอริยสัจข้อที่หนึ่งนั้นเสีย
แล้วบัญญัติทุกขอริยสัจข้อที่หนึ่งอย่างอื่นใหม่ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ดังนี้*.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสบอกความเป็นไปแห่งทุกข์
ก็ตรัสบอกพร้อมทั้งเหตุ และเมื่อจะตรัสบอกความไม่เป็นไป ก็ตรัสบอกพร้อม
ทั้งอุบาย (เป็นเครื่องสลัดออก) เพราะฉะนั้น จึงตรัสอริยสัจไว้ 4 เท่านั้น
เพราะความที่สัจจะเหล่านั้นมีความเป็นไป (ปวัตติ) ความไม่เป็นไป (นิวัตติ)
และเหตุแห่งความเป็นไป ความไม่เป็นไปทั้งสองอันมีสัจจะ 4 นี้เป็นอย่างยิ่ง.
อนึ่ง พระองค์ตรัสอริยสัจ 4 เท่านั้น แม้ด้วยอำนาจแห่งปริญเญย-
ธรรม (ธรรมที่ควรกำหนดรู้) ปหาตัพพธรรม (ธรรมที่ควรละ) สัจฉิกา-
ตัพพธรรม (ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง) ภาเวตัพพธรรม (ธรรมที่ควรเจริญ) และ
* สํ. มหาวาร. เล่มที่ 19 1693/538