เมนู

อริยสัจ 4 เหล่านี้แล เป็นของแท้ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อริยสัจ (สัจจะอันประเสริฐ) ดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในสัจจะนี้โดยวิเคราะห์เพียงเท่านี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยประเภทมีลักษณะเป็นต้น


พึงทราบวินิจฉัยโดยประเภทมีลักษณะเป็นต้นอย่างไร จริงอยู่ ใน
สัจจะ 4 เหล่านี้ ทุกขสัจจะมีการเบียดเบียนเป็นลักษณะ มีความให้เร่าร้อน
เป็นรส มีปวัตติเป็นปัจจุปัฏฐาน. สมุทยสัจจะ มีเหตุเป็นแดนเกิดเป็น
ลักษณะ มีการไม่เข้าไปตัดเป็นรส มีปลิโพธเป็นปัจจุปัฏฐาน. นิโรธสัจจะ
มีความสงบเป็นลักษณะ มีการไม่จุติเป็นรส มีการไม่มีนิมิตเป็นปัจจุปัฏฐาน.
มรรคสัจจะ มีการนำออกเป็นลักษณะ มีการประหาณกิเลสเป็นรส มีวุฏฐานะ
(คือการออก) เป็นปัจจุปัฏฐาน.
อีกอย่างหนึ่ง สัจจะ 4 นี้มีปวัตติ (การเป็นไป) มีปวัตตนะ (เหตุ
ให้เป็นไป) มีนิวัตติ (ความกลับ) มีนิวัตตนะ (เหตุให้กลับ) เป็นลักษณะ
โดยลำดับ* และมีสังขตะ (คือธรรมชาติอันปัจจัยปรุงแต่ง) มีตัณหา มีอสังขตะ
(คือธรรมชาติอันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง) มีทัสสนะ (การเห็น) เป็นลักษณะตาม
ลำดับเหมือนกันแล.
พึงทราบวินิจฉัยโดยประเภทมีลักษณะเป็นต้นในที่นี้ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอรรถ


ก็ในข้อว่า โดยอรรถและโดยถอดความ นี้ พึงทราบโดยอรรถ
ก่อน หากมีคำถามว่า อะไรเป็นอรรถของสัจจะ ก็จะพึงมีคำตอบอย่างพิสดาร
1 คำว่า ประวัติหมายถึงทุกขสัจจะ ปวัตตนะหมายถึงสมุทัย นิวัตติหมายถึงนิโรธ นิวัตตนะ
หมายถึงมรรค (ผู้แปล)