เมนู

แห่งมรรคนี้เป็นอรรถของมรรค เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
ดังนี้.
อนึ่ง พระบาลีมีอาทิอย่างนี้ว่า ทุกข์ มีอรรถว่าบีบคั้น มีอรรถว่า
อันปัจจัยปรุงแต่ง มีอรรถว่าให้เร่าร้อน มีอรรถว่าปรวนแปร เป็นอรรถที่ควร
ตรัสรู้ ดังนี้ พึงทราบสัจจะมีทุกข์เป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งอรรถสัจจะอย่างละ 4
ตามที่ทรงจำแนกไว้อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
พึงทราบวินิจฉัยในสัจจะนี้โดยวิภาคก่อน.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยวิเคราะห์ศัพท์


ก็ในข้อว่า โดยวิเคราะห์ศัพท์ และประเภทมีลักษณะเป็นต้น
นี้ พึงทราบสัจจะโดยวิเคราะห์ศัพท์ก่อน.
ในบทว่า ทุกฺขํ นี้ ศัพท์ว่า ทุ นี้ย่อมแสดงความน่าเกลียด จริงอยู่
ชาวโลกเรียกบุตรที่น่าเกลียดว่า ทุปุตฺโต (บุตรน่าเกลียด) ส่วนศัพท์ว่า ขํ
ย่อมปรากฏในความว่างเปล่า เพราะอากาศที่ว่างเปล่าเรียกกันว่า ขํ ก็สัจจะ
ที่หนึ่ง
นี้ ชื่อว่า กุจฺฉิตํ (น่าเกลียด) เพราะเป็นที่ตั้งแห่งอุปัทวะมิใช่น้อย
ชื่อว่า ตุจฺฉํ (ว่างเปล่า) เพราะเว้นจากความยั่งยืน ความงาม ความสุขและ
เป็นอัตตาที่ชนพาลคิดกัน1 เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ทุกฺขํ2
(ทุกข์) เพราะเป็นของน่าเกลียด และเป็นของว่างเปล่า.
ศัพท์ว่า สํ นี้ ในคำว่า สมุทยํ นี้ ย่อมแสดงการประกอบพร้อม
เช่นในคำเป็นต้นว่า สมาคโม สเมตํ (การประชุมกัน รวมกัน) ศัพท์ว่า
1. คนพาลคิดเห็นว่า...เป็นของเที่ยง สวยงาม เป็นสุข และเป็นอัตตา
2. คำว่า ทุกขํ นี้ อีกนัยหนึ่งแยกศัพท์เป็น ทุ บทหน้า และขมธาตุ ลบที่สุดธาตุ สำเร็จรูป
ตามไวยากรณ์เป็น ทุกฺขํ แปลว่า ทนได้ยาก

อุท นี้ ย่อมแสดงความเกิดขึ้น เช่นในคำเป็นต้นว่า อุปฺปนฺนํ อุทิตํ
(เกิดขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว). แต่ศัพท์ว่า อย ย่อมแสดงถึงเหตุ1 ก็เมื่อมีการ
ประกอบด้วยปัจจัยที่คงอยู่ สัจจะที่สอง นี้ ก็เป็นเหตุคือการเกิดขึ้นแห่งทุกข์
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ทุกฺขสมุทยํ (ทุกขสมุทัย) เพราะ
สัจจะที่สองนี้เป็นเหตุเกิดทุกข์.
อนึ่ง สัจจะที่สาม เพราะศัพท์ว่า นิ ย่อมแสดงความไม่มี และศัพท์ว่า
โรธ ย่อมแสดงถึงผู้ท่องเที่ยว2 เพราะฉะนั้น ในสัจจะที่สาม (นิโรธ) นี้
จึงได้แก่ความไม่มีความท่องเที่ยวไปแห่งทุกข์ กล่าวคือการท่องเที่ยวไปใน
สังสารเพราะว่างจากคติทั้งปวง อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพระโยคาวจรบรรลุสัจจะ
ที่สามนั้นแล้ว ความไม่มีการท่องเที่ยวไปแห่งทุกข์กล่าวคือการท่องเที่ยวไปใน
สังสาร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทุกฺขนิโรธํ (ทุกขนิโรธ) เพราะเป็น
ปฏิปักษ์ต่อการท่องเที่ยวไปนั้น อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า ทุกขนิโรธ เพราะ
เป็นปัจจัยแก่ความไม่เกิด คือความดับสนิทแห่งทุกข์.
อนึ่ง สัจจะที่ 4 นี้ ย่อมดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ เพราะมุ่งหน้าต่อ
พระนิพพานนั้นด้วยอำนาจแห่งอารมณ์ และเป็นปฏิปทาเพื่อถึงความดับทุกข์
เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
ก็เพราะพระอริยะมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นย่อมแทงตลอดสัจจะเหล่านั้น
ฉะนั้น สัจจะเหล่านั้น จึงตรัสเรียกว่า อริยสัจจะ เหมือนอย่างพระดำรัสที่
ตรัสไว้ว่า จตฺตาริมานิ ภิกฺขเว อริสจฺจานิ กตมานิ ฯ เป ฯ อิมานิ
โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อริสจฺจานิ อริยา อิมานิ ปฏิวิชฺฌนฺติ ตสฺมา

1. สมุทยํ ในที่นี้ก็คือ สํ อุท อย สำเร็จรูปเป็น สมุทยํ
2. ศัพท์นิโรธ อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า นิ หมายถึงความไม่มี ศัพท์ว่า โรธ หมายถึงเรือนจำ
สังสาร นิโรธ จึงแปลได้อีกว่า ไม่มีเรือนจำในสังสาร

อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺติ1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ 4 ประการนี้
4 ประการเป็นไฉน ? คือทุกขอริยสัจ. . . ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ 4 ประการเหล่านี้แล พระอริยะทั้งหลายย่อม
แทงตลอดอริยสัจเหล่านี้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อริยสัจ ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า อริยสัจ เพราะอรรถว่า เป็นสัจจะของ
พระอริยะดังนี้บ้าง เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า สเทวเก ภิกฺขเว โลเก ฯ เป ฯ
สเทวมนุสฺสาย ตถาคโต อริโย ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอริยะในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า สัจจะของพระอริยะ2.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อริยสัจ เพราะความที่อริยสัจเหล่านั้นอันพระ-
อริยะตรัสรู้แล้วบ้าง เพราะความสำเร็จโดยความเป็นอริยะบ้าง เหมือนอย่างที่
ตรัสว่า อิเมสํ โข ภิกฺขเว จตุนฺนํ อริยสจฺจานํ ยถาภูตํ อภิสมฺพุทฺธตฺตา
ตถาคโต อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ อริโยติ วุจฺจติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ตถาคตเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาวโลกเรียกว่า อริยะ เพราะตรัสรู้
อริยสัจ 4 เหล่านี้แลตามความจริง.
อีกอย่างหนึ่งแล ชื่อว่า อริยสัจ เพราะอรรถว่า เป็นสัจจะอันประเสริฐ
คำว่า อริยะนี้มีอธิบายว่า เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นของคลาดเคลื่อน
เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อริสจฺจานิ ตถานิ
อวิตถานิ อนญฺญกานิ ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
1. 2. สํ. มหาวาร เล่ม 19 1708/545

อริยสัจ 4 เหล่านี้แล เป็นของแท้ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อริยสัจ (สัจจะอันประเสริฐ) ดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในสัจจะนี้โดยวิเคราะห์เพียงเท่านี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยประเภทมีลักษณะเป็นต้น


พึงทราบวินิจฉัยโดยประเภทมีลักษณะเป็นต้นอย่างไร จริงอยู่ ใน
สัจจะ 4 เหล่านี้ ทุกขสัจจะมีการเบียดเบียนเป็นลักษณะ มีความให้เร่าร้อน
เป็นรส มีปวัตติเป็นปัจจุปัฏฐาน. สมุทยสัจจะ มีเหตุเป็นแดนเกิดเป็น
ลักษณะ มีการไม่เข้าไปตัดเป็นรส มีปลิโพธเป็นปัจจุปัฏฐาน. นิโรธสัจจะ
มีความสงบเป็นลักษณะ มีการไม่จุติเป็นรส มีการไม่มีนิมิตเป็นปัจจุปัฏฐาน.
มรรคสัจจะ มีการนำออกเป็นลักษณะ มีการประหาณกิเลสเป็นรส มีวุฏฐานะ
(คือการออก) เป็นปัจจุปัฏฐาน.
อีกอย่างหนึ่ง สัจจะ 4 นี้มีปวัตติ (การเป็นไป) มีปวัตตนะ (เหตุ
ให้เป็นไป) มีนิวัตติ (ความกลับ) มีนิวัตตนะ (เหตุให้กลับ) เป็นลักษณะ
โดยลำดับ* และมีสังขตะ (คือธรรมชาติอันปัจจัยปรุงแต่ง) มีตัณหา มีอสังขตะ
(คือธรรมชาติอันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง) มีทัสสนะ (การเห็น) เป็นลักษณะตาม
ลำดับเหมือนกันแล.
พึงทราบวินิจฉัยโดยประเภทมีลักษณะเป็นต้นในที่นี้ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอรรถ


ก็ในข้อว่า โดยอรรถและโดยถอดความ นี้ พึงทราบโดยอรรถ
ก่อน หากมีคำถามว่า อะไรเป็นอรรถของสัจจะ ก็จะพึงมีคำตอบอย่างพิสดาร
1 คำว่า ประวัติหมายถึงทุกขสัจจะ ปวัตตนะหมายถึงสมุทัย นิวัตติหมายถึงนิโรธ นิวัตตนะ
หมายถึงมรรค (ผู้แปล)