เมนู

แห่งมรรคนี้เป็นอรรถของมรรค เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
ดังนี้.
อนึ่ง พระบาลีมีอาทิอย่างนี้ว่า ทุกข์ มีอรรถว่าบีบคั้น มีอรรถว่า
อันปัจจัยปรุงแต่ง มีอรรถว่าให้เร่าร้อน มีอรรถว่าปรวนแปร เป็นอรรถที่ควร
ตรัสรู้ ดังนี้ พึงทราบสัจจะมีทุกข์เป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งอรรถสัจจะอย่างละ 4
ตามที่ทรงจำแนกไว้อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
พึงทราบวินิจฉัยในสัจจะนี้โดยวิภาคก่อน.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยวิเคราะห์ศัพท์


ก็ในข้อว่า โดยวิเคราะห์ศัพท์ และประเภทมีลักษณะเป็นต้น
นี้ พึงทราบสัจจะโดยวิเคราะห์ศัพท์ก่อน.
ในบทว่า ทุกฺขํ นี้ ศัพท์ว่า ทุ นี้ย่อมแสดงความน่าเกลียด จริงอยู่
ชาวโลกเรียกบุตรที่น่าเกลียดว่า ทุปุตฺโต (บุตรน่าเกลียด) ส่วนศัพท์ว่า ขํ
ย่อมปรากฏในความว่างเปล่า เพราะอากาศที่ว่างเปล่าเรียกกันว่า ขํ ก็สัจจะ
ที่หนึ่ง
นี้ ชื่อว่า กุจฺฉิตํ (น่าเกลียด) เพราะเป็นที่ตั้งแห่งอุปัทวะมิใช่น้อย
ชื่อว่า ตุจฺฉํ (ว่างเปล่า) เพราะเว้นจากความยั่งยืน ความงาม ความสุขและ
เป็นอัตตาที่ชนพาลคิดกัน1 เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ทุกฺขํ2
(ทุกข์) เพราะเป็นของน่าเกลียด และเป็นของว่างเปล่า.
ศัพท์ว่า สํ นี้ ในคำว่า สมุทยํ นี้ ย่อมแสดงการประกอบพร้อม
เช่นในคำเป็นต้นว่า สมาคโม สเมตํ (การประชุมกัน รวมกัน) ศัพท์ว่า
1. คนพาลคิดเห็นว่า...เป็นของเที่ยง สวยงาม เป็นสุข และเป็นอัตตา
2. คำว่า ทุกขํ นี้ อีกนัยหนึ่งแยกศัพท์เป็น ทุ บทหน้า และขมธาตุ ลบที่สุดธาตุ สำเร็จรูป
ตามไวยากรณ์เป็น ทุกฺขํ แปลว่า ทนได้ยาก