เมนู

เพราะละสุขละทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ
สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิทาอริยสัจ.
สุตตันตภาชนีย์ จบ

4. สัจจวิภังคนิเทศ1


วรรณนาสุตตันตภาชนีย์


ว่าด้วยอุเทศวาร


บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในสัจจวิภังค์ในลำดับแห่งธาตุวิภังค์ต่อไป
บทว่า จตฺตาริ (4) เป็นคำกำหนดจำนวน. บทว่า อริยสจฺจานิ (อริยสัจ)
เป็นคำแสดงไขธรรมที่กำหนดไว้. ก็พึงทราบวินิจฉัยในอุเทศวารมีคำว่า
ทุกฺขํ อริยสจฺจํ (ทุกขอริยสัจ) เป็นต้น.
วิภาคโต นิพฺพจน ลกฺขณาทิปฺปเภทโต
อตฺถตฺถุทฺธารโต เจว อนูนาธิกโต ตถา
กมโต อริยสจฺเจสุ ยํ ญาณํ ตสฺส กิจฺจโต
อนฺโตคธานํ ปเภทา อุปมาโต จตุกฺกโต
สุญฺญเตกวธาทีหิ สภาควิสภาคโต
วินิจฺฉโย เวทิตพฺโพ วิญฺญุนา สาสนกฺกเม

1 บาลีข้อ 144

บัณฑิตผู้รู้แจ้ง พึงทราบวินิจฉัยใน
ลำดับคำสอน โดยวิภาค 1 โดยวิเคราะห์
ศัพท์ 1 โดยประเภทมีลักษณะเป็นต้น 1
โดยอรรถ 1 โดยถอดความ 1 โดยไม่หย่อน
ไม่ยิ่ง 1 โดยลำดับ 1 โดยกิจแห่งญาณใน
อริยสัจ 1 โดยประเภทแห่งธรรมที่หยั่งลง
ภายใน 1 โดยอุปมา 1 โดยจตุกะ (หมวด4) 1
โดยสุญญตา (ว่าง) 1 โดยเป็นธรรมอย่างเดียว
กันเป็นต้น 1 โดยสภาคะและวิสภาคะ 1.


ว่าด้วยวินิจฉัยโดยวิภาค


บรรดาอุเทศเหล่านั้น คำว่า โดยวิภาค ได้แก่ อรรถแห่งอริยสัจ 4
มีทุกข์เป็นต้น พระองค์ทรงจำแนกไว้สัจจะละ 4 ประการ เป็นของแท้
เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ที่กุลบุตรผู้จะตรัสรู้ทุกข์เป็นต้น พึงตรัสรู้
เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า* ทุกข์ มีอรรถว่าบีบคั้น มีอรรถว่าอันปัจจัยปรุงแต่ง
มีอรรถว่าให้เร่าร้อน มีอรรถว่าปรวนแปร อรรถ 4 แห่งทุกข์นี้ เป็นอรรถของ
ทุกข์ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น สมุทัย มีอรรถว่า
ประมวลมา มีอรรถว่าเป็นเหตุมอบให้ซึ่งผล มีอรรถว่าประกอบไว้ มีอรรถว่า
เป็นเครื่องกังวล ฯลฯ นิโรธ มีอรรถว่าสลัดออก มีอรรถว่าสงัด มีอรรถว่า
อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ มีอรรถว่าเป็นอมตะ ฯลฯ มรรค มีอรรถว่าการนำออก
มีอรรถว่าเป็นเหตุ มีอรรถว่าเป็นทัสสนะ (เห็น) มีอรรถว่าเป็นอธิบดี อรรถ 4
* ขุ. ป. เล่ม 31 545/449