เมนู

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ


[162] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นไฉน ?
อริยมรรคมีองค์ 8 นี้เท่านั้น คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
[163] ในอริยมรรคมีองค์ 8 นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน ?
ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้
ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.
[164] สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ?
ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริ
ในการไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ.
[165] สัมมาวาจา เป็นไฉน ?
ความงดเว้นจากการพูดเท็จ ความเว้นจากการพูดส่อเสียด ความ
งดเว้นจากการพูดหยาบ ความงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สัมมาวาจา.
[166] สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน ?
ความงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ความงดเว้นจากการลักทรัพย์ ความ
งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ.
[167] สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน ?
บุคคลผู้อริสาวกในศาสนานี้ ละมิจฉาอาชีวะแล้วเลี้ยงชีวิตอยู่ด้วย
สัมมาอาชีวะ นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ.
[168] สัมมาวายามะ เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อป้องกันอกุศลบาปธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด ฯลฯ

เพื่อละอกุศลบาปธรรมที่เกิดแล้ว ฯลฯ เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด
ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อ
ความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ
ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ.
[169] สัมมาสติ เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ ผู้ประกอบด้วยความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติพิจารณา
เห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก ผู้ประกอบ
ด้วยความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่
ฯลฯ ผู้ประกอบด้วยความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นจิตในจิต
เนือง ๆ อยู่ ฯลฯ ผู้ประกอบด้วยความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณา
เห็นธรรมในธรรมเนือง ๆ อยู่ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก นี้เรียกว่า
สัมมาสติ.
[170] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วบรรลุ
ปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน
อันยังใจให้ผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นภายใน ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะคายปีติได้อีกด้วย จึง
เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุ
ตติยฌาน พึงเป็นฌานที่พระอริยทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มี
จิตเป็นอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขอยู่ บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข

เพราะละสุขละทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ
สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิทาอริยสัจ.
สุตตันตภาชนีย์ จบ

4. สัจจวิภังคนิเทศ1


วรรณนาสุตตันตภาชนีย์


ว่าด้วยอุเทศวาร


บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในสัจจวิภังค์ในลำดับแห่งธาตุวิภังค์ต่อไป
บทว่า จตฺตาริ (4) เป็นคำกำหนดจำนวน. บทว่า อริยสจฺจานิ (อริยสัจ)
เป็นคำแสดงไขธรรมที่กำหนดไว้. ก็พึงทราบวินิจฉัยในอุเทศวารมีคำว่า
ทุกฺขํ อริยสจฺจํ (ทุกขอริยสัจ) เป็นต้น.
วิภาคโต นิพฺพจน ลกฺขณาทิปฺปเภทโต
อตฺถตฺถุทฺธารโต เจว อนูนาธิกโต ตถา
กมโต อริยสจฺเจสุ ยํ ญาณํ ตสฺส กิจฺจโต
อนฺโตคธานํ ปเภทา อุปมาโต จตุกฺกโต
สุญฺญเตกวธาทีหิ สภาควิสภาคโต
วินิจฺฉโย เวทิตพฺโพ วิญฺญุนา สาสนกฺกเม

1 บาลีข้อ 144