เมนู

ทุกะเป็นต้นมาแสดง จึงตรัสคำมีอาทิว่า อชฺฌตฺตํ วา พหิทฺธา วา (รูป
ภายใน หรือรูปภายนอก) ดังนี้ ต่อจากนั้น เมื่อจะทรงประมวลรูปนั้นแม้
ทั้งหมดที่ทรงกำหนดไว้ใน 11 ส่วนแสดงรวมเป็นอันเดียวกัน จึงตรัสคำว่า
ตเทกชฺฌํ (รูปนั้นรวมเป็นอันเดียวกัน) ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
ตเทกชฺฌํ แยกออกเป็น ตํ เอกชฺฌํ. บทว่า อภิสญฺญูหิตฺวา แปลว่า
ประมวลมา. บทว่า อภิสํขิปิตฺวา ได้แก่ ทำการย่อ คำนี้ ตรัสอธิบายไว้ว่า
ก็รูปมีประการยังกล่าวแล้วนั้นแม้ทั้งหมด บัณฑิตเรียกว่ารูปขันธ์ เพราะรวม
เป็นกองเดียวกันในภาวะอย่างเดียวกัน กล่าวคือความเป็นรูปที่ย่อยยับไปเป็น
ลักษณะ ดังนี้. ด้วยคำอธิบายนี้ ย่อมเป็นอันตรัสรูปแม้ทั้งหมดในลักษณะแห่ง
การย่อยยับไปนี้ว่า ชื่อว่า รูปขันธ์ เพราะความเข้าถึงความเป็นกอง ดังนี้
เพราะขึ้นชื่อว่า รูปขันธ์ อื่น นอกจากรูปหามีไม่. ก็รูป ฉันใด ธรรมมี
เวทนาเป็นต้น ก็ชื่อว่า เวทนาขันธ์เป็นต้นฉันนั้น เพราะความเข้าถึงความ
เป็นกองในลักษณะมีการเสวยอารมณ์เป็นลักษณะเป็นต้น เพราะขึ้นชื่อว่า
เวทนาขันธ์เป็นต้นอื่นนอกจากเวทนาเป็นต้น หามีไม่.

ว่าด้วยรูปเป็นอดีตเป็นต้น



บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงจำแนกรูปที่ทรงจัดเข้าใน
โอกาสหนึ่ง ๆ ให้เป็นส่วน ๆจึงตรัสคำมีอาทิว่า ตตฺถ กตมํ รูปํ อตีตํ
ในรูปขันธ์นั้น รูปอดีต เป็นไฉน ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตถ เป็นบทสัตตมีวิภัตติในมาติกาตาม
ที่ทรงจัดตั้งไว้ในโอกาส 11 อย่าง คำนี้ตรัสอธิบายว่า คำว่า รูปอดีต ที่ตรัส
ไว้ในมาติกาตามที่ทรงตั้งไว้โดยนัยมีอาทิว่า อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ ดังนี้
รูปนั้นเป็นไฉน. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในปุจฉาทั้งหมดโดยอุบายนี้.