เมนู

ฯลฯ โผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ธัมมตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้
เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมตัณหานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมตัณหานี้
รูปวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปวิตกนี้
เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิตกนี้ สัททวิตก ฯลฯ คันธวิตก ฯลฯ รสวิตก ฯลฯ
โผฎฐัพพวิตก ฯลฯ ธัมมวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็
เกิดที่ธัมมวิตกนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิตกนี้
รูปวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปวิจารนี้
เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิจารนี้ สัททวิจาร ฯลฯ คันธวิจาร ฯลฯ รสวิจาร ฯลฯ
โผฏฐัพพวิจาร ฯลฯ ธัมมวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด
ก็เกิดที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิจารนี้
สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.

ทุกขนิโรธอริยสัจ


[160] ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นไฉน ?
ได้แก่ความสำรอกและความดับโดยไม่เหลือ ความปล่อยวาง ความ
ส่งคืน ความพ้น ความไม่ติดอยู่ แห่งตัณหานั้นนั่นเทียว.
[161] ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อจะละ ละที่ไหน ? เมื่อดับ ดับที่ไหน ?
ปิยรูปสาตรูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ปิยรูปสาตรูปนี้
เมื่อดับก็ดับที่ปิยรูปสาตรูปนี้
ก็อะไร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ?

จักขุ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่จักขุนี้ เมื่อ
ดับก็ดับที่จักขุนี้ โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กายะ ฯลฯ มโน
เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่มโนนี้ เมื่อดับก็ดับที่
มโนนี้
รูป เป็นปิยสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูปนี้ เมื่อดับก็
ดับที่รูปนี้ สัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รสะ ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ธัมมารมณ์
เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ธัมมารมณ์ เมื่อดับก็ดับที่
ธัมมารมณ์นี้.
จักขุวิญญาณ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่
จักขุวิญญาณนี้ เมื่อดับก็ดับที่จักขุวิญาณนี้ โสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานวิญญาณ
ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ เป็นปิยรูปสาตรูป
ในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่มโนวิญญาณนี้ เมื่อดับก็ดับที่มโนวิญญาณนี้
จักขุสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละ
จักขุสัมผัสนี้ เมื่อดับก็ดับที่จักขุสัมผัสนี้ โสตสัมผัส ฯลฯ ฆานสัมผัส ฯลฯ
ชิวหาสัมผัส ฯลฯ กายสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
ตัณหานี้ เมื่อจะละที่มโนสัมผัสนี้ เมื่อดับก็ดับที่มโนสัมผัสนี้
จักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละ
ก็ละที่จักขุสัมผัสสชาเวทนานี้ เมื่อดับก็ดับที่จักขุสัมผัสสชาเวทนานี้ โสตสัมผัส
สชาเวทนา ฯลฯ ฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ
กายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่มโนสัมผัสสชาเวทนานี้ เมื่อดับก็ดับที่มโนสัมผัสชา-
เวทนานี้

รูปสัญญา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่
รูปสัญญานี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปสัญญานี้ สัททสัญญา ฯลฯ คันธสัญญา ฯลฯ
รสสัญญา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ ธัมมสัญญา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ธัมมสัญญานี้ เมื่อดับก็ดับที่ธัมมสัญญานี้.
รูปสัญเจตนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่
รูปสัญเจตนานี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปสัญเจตนานี้ สัททสัญเจตนา ฯลฯ คันธสัญ-
เจตนา ฯลฯ รสสัญเจตนา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ ธัมมสัญเจตนา
เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ธัมมสัญเจตนานี้ เมื่อดับ
ก็ดับที่ธัมมสัญเจตนานี้
รูปตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูป-
ตัณหานี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปตัณหานี้ สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา ฯลฯ
รสตัณหา ฯลฯ โผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ธัมมตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
ตัณหา เมื่อจะละก็ละที่ธัมมตัณหานี้ เมื่อดับก็ดับที่ธัมมตัณหานี้.
รูปวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูปวิตกนี้
เมื่อดับก็ดับที่รูปวิตกนี้ สัททวิตก ฯลฯ คันธวิตก ฯลฯ รสวิตก ฯลฯ
โผฏฐัพพวิตก ฯลฯ ธัมมวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละ
กะละที่ธัมมวิตกนี้ เมื่อดับก็ดับที่ธัมมวิตกนี้
รูปวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูปวิจาร
นี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปวิจารนี้ สัททวิจาร ฯลฯ คันธวิจาร ฯลฯ รสวิจาร ฯลฯ
โผฏฐัพพวิจาร ฯลฯ ธัมมวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละ
ก็ละที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อดับก็ดับที่ธัมมวิจารนี้
สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ


[162] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นไฉน ?
อริยมรรคมีองค์ 8 นี้เท่านั้น คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
[163] ในอริยมรรคมีองค์ 8 นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน ?
ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้
ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.
[164] สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ?
ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริ
ในการไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ.
[165] สัมมาวาจา เป็นไฉน ?
ความงดเว้นจากการพูดเท็จ ความเว้นจากการพูดส่อเสียด ความ
งดเว้นจากการพูดหยาบ ความงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สัมมาวาจา.
[166] สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน ?
ความงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ความงดเว้นจากการลักทรัพย์ ความ
งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ.
[167] สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน ?
บุคคลผู้อริสาวกในศาสนานี้ ละมิจฉาอาชีวะแล้วเลี้ยงชีวิตอยู่ด้วย
สัมมาอาชีวะ นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ.
[168] สัมมาวายามะ เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อป้องกันอกุศลบาปธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด ฯลฯ