เมนู

เป็นอนิยตะก็มี ธาตุ 16 เป็นสอุตตระ ธาตุ 2 เป็นสอุตตระก็มี เป็นอนุตตระ
ก็มี ธาตุ 16 เป็นอรณะ ธาตุ 2 เป็นสรณะก็มี เป็นอรณะก็มี ฉะนี้แล.
ปัญหาปุจฉกะ จบ
ธาตุวิภังค์ จบบริบูรณ์

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ1


ก็ในปัญหาปุจฉกะ บัณฑิตพึงทราบความที่ธาตุทั้ง 18 เป็น
เป็นต้น โดยทำนองแห่งนัยที่กล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ ส่วนในอารัมมณติกะ
ทั้งหลาย คำว่า ฉ ธาตุโย ปริตฺตารมฺมณา (ธาตุ 6 เป็นปริตตารัมมณะ)
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาความเป็นไปของวิญญาณ 5 มีจักขุวิญญาณ
เป็นต้น และมโนธาตุ ในอารมณ์ มีรูปารมณ์เป็นต้นโดยส่วนเดียว แต่
พึงทราบความที่ธรรมธาตุและมโนวิญญาณธาตุที่ตรัสว่า เทฺว ธาตุโย (ธาตุ
2) ดังนี้ เป็นปริตตารัมมณะเป็นต้น โดยนัยที่กล่าวไว้ในมนายตนะและ
ธรรมายตนะนั่นแหละ ในปัญหาปุจฉกะแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสธาตุที่
เป็นกามาพจร 16 เป็นไปในภูมิ 4 ปนกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ 2 อย่าง
ดังพรรณนามาฉะนี้ ธาตุวิภังค์นี้ พระผู้มีพระภาคเจาก็ทรงนำออกจำแนก
แสดงไว้ 3 ปริวรรค (คือโดยสุตตันตภาชนีย์ อภิธรรมภาชนีย์ และปัญหา
ปุจฉกะ) ด้วยประการฉะนี้แล.
วรรณนาปัญหาปุจฉกะ จบ
ธาตุวิภังคนิเทศที่ 3 จบ
เพียงเท่านี้
1 พระบาลีข้อ 132 หน้า 114

4. สัจจวิภังค์


สุตตันตภาชนีย์


[144]

อริยสัจ 4 คือ


1. ทุกขอริยสัจ
2. ทุกชสมุทัยอริยสัจ
3. ทุกขนิโรธอริยสัจ
4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.


ทุกขอริยสัจ


[145] ในอริยสัจ 4 นั้น ทุกขอริยสัจ เป็นไฉน ?
ชาติทุกข์ ชราทุกข์ มรณทุกข์ โลกปริเทวทุกขโทมนัสสอุปายาสทุกข์
อัปปีเยหิสัมปโยคทุกข์ ปีเยหิวิปปโยคทุกข์ ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ โดยย่อ
อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์.
[146] ในทุกขอริยสัจนั้น ชาติ เป็นไฉน ?
ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งถึง ความเกิดจำเพาะ ความ
ปรากฏแห่งขันธ์ ความได้เฉพาะอายตนะ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ
อันใด นี้เรียกว่าชาติ.
[147] ชรา เป็นไฉน ?
ความคร่ำคร่า ภาวะที่ครำคร่า ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอก
ความที่หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมสิ้นแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ใน
หมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ อันใด นี้เรียกว่าชรา.