เมนู

กายธาตุ รูปธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ ก็เป็นอย่างละหนึ่งเหมือนกัน
ด้วยอำนาจเป็นโสตประสาทเป็นต้น แต่โผฏปฐัพพธาตุย่อมถึงการนับว่าเป็น
ธรรม 3 อย่าง ด้วยอำนาจแห่งปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ.
จักขุวิญญาณธาตุย่อมถึงการนับว่าเป็นธรรม 2 อย่าง ด้วยอำนาจแห่ง
วิบากที่เป็นกุศลและอกุศล. โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณ-
ธาตุ กายวิญญาณธาตุ ก็ถึงการนับว่าเป็นธรรมอย่างละ 2 อย่างเหมือนกัน.
แต่มโนธาตุย่อมถึงการนับว่าเป็นธรรม 3 อย่าง คือ ด้วยสามารถเป็นอาวัชชนะ
ของปัญจทวาร 1 ด้วยสามารถเป็นสันปฏิจฉนะของกุศลวิบาก 1 ของอกุศลวิบาก
1 ธรรมธาตุย่อมถึงการนับว่าเป็นธรรม 20 คือ ด้วยสามารถแห่งอรูปขันธ์ 3
(เวทนา สัญญา สังขารขันธ์) ด้วยสามารถแห่งสุขุมรูป 16* และด้วยสามารถ
แห่งอสังขตธาตุ 1. มโนวิญญาณธาตุ ย่อมถึงการนับว่าเป็นธรรม 76 อย่าง
ด้วยสามารถแห่งวิญญาณที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากตะที่เหลือแล.
พึงทราบวินิจฉัยในธาตุนี้โดยการนับอย่างนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยปัจจัย


ข้อว่า โดยปัจจัย พึงทราบวินิจฉัยโดยความที่จักขุธาตุเป็นต้น
เป็นปัจจัยในจักขุวิญญาณเป็นต้น ก็ความที่จักขุธาตุเป็นต้นเหล่านั้น เป็นปัจจัย
นั้นจักแจ่มแจ้งในนิเทศวาร.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยเป็นธรรมควรเห็น


ข้อว่า โดยเป็นธรรมควรเห็น พึงทราบวินิจฉัยในธาตุนี้ โดยเป็น
ธรรมที่ควรเห็น เพราะสังขตธาตุทั้งหมดทีเดียว พึงเห็นโดยความเป็นของ
* สุขุมรูป 16 คือ อาโปธาตุ 1 หทัยรูป 1 อาหารรูป 1 ชีวิตรูป 1 ปริจเฉทรูป 1
ภาวรูป 2 วิญญัตติรูป 2 ลหุตารูป 3 ลักขณรูป 4

ว่างจากที่สุดเบื้องต้นและเบื้องปลาย โดยความเป็นของสูญจากความยั่งยืน
ความงาม ความสุข ความเป็นอัตตา และโดยความเป็นไปเนื่องด้วยปัจจัย.
ก็ว่าโดยความแปลกกันในอธิการแห่งธาตุนี้ จักขุธาตุ พึงเห็นเหมือน
พื้นกลอง รูปธาตุ พึงเห็นเหมือนไม้ตี จักขุวิญญาณธาตุ พึงเห็นเหมือน
เสียงกลอง. อนึ่ง จักขุธาตุ พึงเห็นเหมือนพื้นกระจก รูปธาตุ พึงเห็น
เหมือนหน้า จักขุวิญญาณธาตุ พึงเห็นเหมือนนิมิตของหน้า (เงาหน้า).
อีกอย่างหนึ่ง จักขุธาตุ พึงเห็นเหมือนลำอ้อยและเมล็ดงา รูปธาตุ พึงเห็น
เหมือนเครื่องหีบ จักขุวิญญาณธาตุ พึงเห็นเหมือนน้ำอ้อยและน้ำมันงา.
อนึ่ง จักขุธาตุ พึงเห็นเหมือนไม้สีไฟอันล่าง รูปธาตุ พึงเห็นเหมือนไม้
สีไฟอันบน จักขุวิญญาณธาตุ พึงเห็นเหมือนไฟ. ในโสตธาตุเป็นต้นก็นัยนี้
เหมือนกัน.
ส่วนมโนธาตุ ว่าโดยตามที่เกิดขึ้นพึงเห็นเหมือนการเที่ยวไปก่อน
(เกิดก่อน) และเที่ยวไปตาม (เกิดหลัง) ของธาตุมีจักขุวิญญาณเป็นต้น ว่า
โดยธรรมธาตุ เวทนาขันธ์ พึงเห็นเหมือนลูกศรและหลาว สัญญาและ
สังขารขันธ์ พึงเห็นเหมือนคนกระสับกระส่าย เพราะถูกลูกศรและหลาว คือ
เวทนาเสียบแทง. อีกอย่างหนึ่ง สัญญา ของพวกปุถุชน พึงเห็นเหมือน
กำมือเปล่าเพราะเกิดความหวังอันเป็นทุกข์ และเหมือนเนื้อป่าไม่ถือนิมิตตาม
ความเป็นจริง สังขารทั้งหลาย พึงเห็นเหมือนบุรุษโยนของใส่หลุมถ่านเพลิง
เพราะการส่งจิตไปปฏิสนธิ เป็นเหมือนพวกโจรถูกราชบุรุษติดตาม เพราะ
การติดตามของชาติทุกข์ และพึงเห็นเหมือนเมล็ดพืชต้นไม้มีพิษ เพราะเป็น
เหตุแห่งความสืบต่อของขันธ์ อันนำมาซึ่งความฉิบทายทั้งปวง. รูป พึงเห็น
เหมือนจักรกรด เพราะเป็นเครื่องหมายของอุปัทวะมีนานาชนิด.

แต่อสัขตธาตุ พึงเห็นโดยความเป็นอมตะ โดยความเป็นธรรม
สงบและโดยเป็นธรรมเกษตร เพราะเหตุไร ? เพราะความเป็นปฏิปักษ์ต่อความ
ฉิบหายทั้งมวล. มโนวิญญาณธาตุ พึงเห็นเหมือนลิงในป่าใหญ่เพราะแม้
ปล่อยอารมณ์ที่ตนจับไว้แล้วก็ยืดอารมณ์อื่นเป็นไปอีก เป็นเหมือนม้ากระจอก
เพราะฝึกได้ยาก เป็นเหมือนท่อนไม้ที่โยนไปในอากาศ เพราะจะตกไปใน
อารมณ์ที่มันชอบ และเป็นเหมือนนักเต้นรำบนเวทีเพราะประกอบด้วยกิเลส
มีประการต่าง ๆ โดยมีโลภะและโทสะเป็นต้น.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศวาร ต่อไป1 :-
คำว่า จกฺขญฺจ ปฏิจฺจ รูเป จ (อาศัยจักขุประสาทและรูปารมณ์)
อธิบายว่า เพราะอาศัยจักขุประสาทและรูปารมณ์ทั้ง 2 นี้ด้วย เพราะอาศัย
ธรรมอื่น คือ กิริยามโนธาตุและขันธ์ 3 (เวทนา สัญญา สังขารขันธ์) ที่
สัมปยุตด้วย เพราะจักขุ (ประสาท) เป็นนิสสยปัจจัย รูปเป็นอารัมมณปัจจัย
กิริยามโนธาตุ (อาวัชชนจิต) เป็นวิตตปัจจัย อรูปขันธ์ 3 (เวทนา สัญญา
สังขารขันธ์) เป็นสหชาตปัจจัยของจักขุวิญญาณธาตุ เพราะฉะนั้น จักขุวิญญาณ
ธาตุนี้ จึงชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย 4 เหล่านี้. แม้ในคำว่า อาศัย
โสตประสาทเป็นต้นนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า นิรุทฺธสมนนฺตรา2 ตัดบทเป็น นิรุทฺธาย สมนนฺตรา
แปลว่า ในลำดับแห่งการดับของจักขุวิญญาณธาตุ.
บทว่า ตชฺชา มโนธาตุ (มโนธาตุที่สมกัน) ได้แก่ มโนธาตุ 2
อย่าง โดยเป็นกุศลวิบาก และอกุศลวิบาก ซึ่งเกิดในอารมณ์นั้นทำหน้าที่รับ
อารมณ์.
1. บาลีข้อ 125 หน้า 808 2. บาลีข้อ 130 หน้า 110

ข้อว่า สพฺพธมฺเมสุ วาปน ปฐมสมนฺนาหาโร (หรือว่าความ
พิจารณาอารมณ์ที่แรกในธรรมทั้งปวง) ความว่า เมื่อธรรมทั้งปวงมีจักขุ-
วิญญาณเป็นต้นเหล่านี้จะเกิดขึ้น (มโนธาตุนี้) ก็พิจารณาอารมณ์ก่อน อีก
อย่างหนึ่ง พึงทราบเนื้อความในที่นี้อย่างนี้ว่า มโนธาตุนี้พิจารณาอารมณ์ที
แรกในธรรมทั้งปวงกล่าวคืออารมณ์ของจักขุวิญญาณธาตุเป็นต้น พึงทราบว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอา กิริยามโนธาตุ (อาวัชชนจิต ) ที่ทำกิจพิจารณา
อารมณ์ทางปัญจทวารด้วย บทว่า สพฺพธมฺเมสุ วาปน ปฐมสมนฺนาหาโร
นี้.
ปิอักษร ในข้อว่า มโนธาตุยาปิ อุปฺปชฺชิตวา นิรุทฺธสมนนฺตรา
นี้ มีอรรถว่า ประมวลมา เพราะฉะนั้น ในที่นี้ว่า มโนธาตุยาปิ มโน-
วิญญาณธาตุยาปิ
(เมื่อมโนธาตุก็ดี เมื่อมโนวิญญาณธาตุก็ดี) พึงทราบ
เนื้อความว่า เมื่อมโนธาตุที่เป็นวิบาก (สัมปฏิจฉนจิต) เกิดขึ้นดับไปแล้ว
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก (สันติรณจิต) อันใดเกิดขึ้นทำกิจพิจารณา
อารมณ์ต่อกันทันที เมื่อมโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบากนั้นเกิดขึ้นดับไปแล้ว
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา (โวฏฐัพพนจิต) อันใดเกิดขึ้นทำกิจตัดสินอารมณ์
ต่อจากนั้น เมื่อมโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยานั้นเกิดขึ้นดับไปแล้ว มโนวิญญาณ
ธาตุอันใดเกิดขึ้นทำกิจชวนะในลำดับติดต่อกัน มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ
เหล่านั้น แม้ทั้งหมด พึงทราบว่า ตรัสไว้ด้วยบทว่า มโนธาตุยาปิ นั้น
ดังนี้.
บทว่า มนญฺจ ปฏิจฺจ (อาศัยมโน) ได้แก่ ภวังคจิต. บทว่า
ธมฺเม จ (ธรรมารมณ์) ได้แก่ ธรรมารมณ์อันเป็นไปในภูนิ 4. คำว่า เกิด-

มโนวิญญาณ ได้แก่ วนจิตเกิดพร้อมกับพิจารณา ก็ในฐานะนี้ พระมหา-
เถระทั้งหลายถือเอาปัญหาที่พวกได้ยึดถือมาแล้ว ได้ยินว่า พระมหาธัมมรัก-
ขิตเถระได้จับมือพระทีฆภาณกอภัยเถระกล่าวว่า ในอาคตสถานชื่อว่า ปฏิจฺจ
(อาศัย) ดังนี้ ไม่ควรทำอาวัชชนะให้แยกกัน ควรทำอาวัชชนะให้อาศัยภวังค์
เท่านั้น เพราะในคำว่า มโน นี้ ได้แก่ ภวังค์พร้อมทั้งอาวัชชนะ. ในคำว่า
มโนวิญญาณ นี้ ก็ได้แก่มโนวิญญาณในชวนะ ดังนี้.
ก็ในอภิธรรมภาชนีย์นี้ตรัสธาตุที่เป็นกามาพจร 16 อย่างที่เป็นไปใน
ภูมิ 4 เจือกันไปทั้งโลกิยะและโลกุตระ 2 อย่าง ด้วยประการฉะนี้.
วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ

ปัญหาปุจฉกะ


[131]

ธาตุ 18 คือ


1. จักขุธาตุ
2. รูปธาตุ
3. จักขุวิญญาณ
4. โสตธาตุ
5. สัททธาตุ
6. โสตวิญญาณธาตุ
7. ฆานธาตุ
8. คันธธาตุ
9. ฆานวิญญาณธาตุ
10. ชิวหาธาตุ
11. รสธาตุ
12. ชิวหาวิญญาณธาตุ
13. กายธาตุ
14. โผฏฐัพพธาตุ
15. กายวิญญาณธาตุ
16. มโนธาตุ
17. ธรรมธาตุ
18. มโนวิญญาณธาตุ.